วันนี้ (14มิ.ย.64) เป็นวันแรกของการ “เปิดเทอม 2564” หรือ เปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ของโรงเรียนในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวะ และสถาบันการศึกษา ที่อยู่ภายใต้กำกับของกระทรวงศึกษาธิการ
หลังจากกระทรวงศึกษาธิการ ได้เลื่อนเปิดเทอมมาแล้ว 2 ครั้ง จากเดิมกำหนดวันที่ 17 พ.ค.2564 เลื่อนมาเป็นวันที่ 1 มิ.ย.2564 และเลื่อนมาเป็นวันที่ 14 มิ.ย.
แต่เนื่องจากสถานการณ์ระบาดของโควิด 19 ทำให้การเปิดภาคเรียนในวันที่ 14 มิ.ย.ยังเปิดได้ไม่เต็มระแบบและยังครบทุกพื้นที่ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการและศบค. มีรูปแบบการเรียนการสอนให้โรงเรียนได้นำไปใช้ตามความเหมาะสมกับบริบทในพื้นที่ เพื่อความปลอดภัย โดยมีรายละเอียดดังนี้
พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด หรือ 'พื้นที่สีแดงเข้ม' 4 จังหวัด คือ
มาตรการ
พื้นที่ควบคุมสูงสุด หรือ 'พื้นที่สีแดง' มี 17 จังหวัด ได้แก่
มาตรการ
พื้นที่ควบคุม หรือ 'พื้นที่สีส้ม'จำนวน 56 จังหวัด
น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวว่า หากมีสถานศึกษาใดในพื้นที่ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุด หรือ 'พื้นที่สีแดง' และพื้นที่ควบคุม หรือ 'พื้นที่สีส้ม' ประสงค์จะดำเนินการเปิดภาคเรียนที่ 1/2564 ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.2564 เป็นต้นไป ให้โรงเรียนหรือสถานศึกษาแห่งนั้น ดำเนินการประเมินความพร้อมตามระบบ Thai Stop COVID Plus ของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ที่มี 44 ข้อ โดยต้องผ่านทุกข้อ
และต้องเสนอขอความเห็นชอบต่อคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด เพื่ออนุญาตให้โรงเรียนหรือสถานศึกษาแห่งนั้นสามารถจัดการเรียนการสอนได้ก่อนวันที่ 14 มิ.ย.
ส่วนโรงเรียนในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด หรือ 'พื้นที่สีแดงเข้ม' 4 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ, นนทบุรี, ปทุมธานี และสมุทรปราการ หากต้องการเปิดสอนก่อน สามารถจัดการเรียนได้ในรูปแบบการสอนออนไลน์ และออนแอร์เท่านั้น
ทั้งนี้ถึงแม้โรงเรียนจะเปิดไม่พร้อมกัน แต่ต้องปิดเทอมพร้อมกันในวันที่ 15 ต.ค. 2564 เพื่อไม่กระทบกับปฏิทินการสอบต่างๆ
รมว.ศธ. กล่าวต่อว่า ศธ.ได้ถอดบทเรียนการจัดการศึกษาในการรับมือสถานการณ์การแพร่ระบาดระลอกที่ผ่านมามีการทบทวนและต่อยอดรูปแบบการจัดการเรียนการสอนในช่วง'เปิดเรียน'มีทั้ง 5 รูปแบบ เพื่อให้มีความเหมาะสมต่อการรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดระลอกใหม่นี้ และได้มอบหมายให้สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการวางระบบติดตามประเมินผล
และรายงานผลการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ 'โควิด 19' โดยจะต้องไม่เป็นภาระกับสถานศึกษา และการที่โรงเรียนจะใช้รูปแบบใดในการจัดการเรียนการสอนต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดก่อน
สำหรับการสอนเป็น 5 รูปแบบ เพื่อให้มีความเหมาะสมต่อการรับมือกับการแพร่ระบาดระลอกใหม่นี้ คือ
อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.2564 มีโรงเรียนในหลายพื้นที่เริ่มทยอยเปิดเรียนไปแล้ว โดยได้ขอให้ทางเขตพื้นที่ได้บริหารจัดการศึกษาให้เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ และในวันที่ 14 มิ.ย.2564 นี้เปิดภาคเรียนที่ 1/2564 อย่างเป็นทางการแล้ว ดังนั้น โรงเรียนจะต้องเตรียมความพร้อมจัดการเรียนการสอนใน 5 รูปแบบ ให้เกิดความยืดหยุ่นตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่
นายอัมพร พินะสา เลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่าจากการสำรวจโรงเรียนที่พร้อมเปิดภาคเรียน จำนวน 28,698 แห่ง (ไม่รวมการศึกษาพิเศษ) โดยเป็นโรงเรียนที่เปิดภาคเรียนและจัดการเรียนการสอนที่โรงเรียน (On Site) แล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.2564 จำนวน 12,571 แห่ง, 'เปิดภาคเรียน' ในวันที่ 14 มิ.ย.2564 จำนวน 15,951 แห่ง และ 'เปิดเรียน' ในช่วงวันที่ 2-13 มิ.ย.2564 อีก 171 แห่ง ซึ่งเป็นไปตามสถานการณ์และบริบทของแต่ละแห่ง
สถานศึกษาส่วนใหญ่จะเรียนด้วยวิธีผสมผสานทั้ง 5 รูปแบบการสอน (On Site – On Air – On Hand – On Demand – Online) ไม่มีวิธีใดวิธีหนึ่งโดยเฉพาะ แม้แต่โรงเรียนที่เปิดแบบ On Site เพราะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของครูและนักเรียนเป็นสำคัญ ไม่ได้เอาโรงเรียนหรือครูเป็นฐาน หรือครูกำหนดให้ เพราะที่ผ่านมามีปัญหานักเรียนไม่มีอุปกรณ์ แต่ครั้งนี้มีการสำรวจตามความพร้อมของนักเรียน และเป็นไปตามความสมัครใจของนักเรียนในการเรียนตามช่องทางต่าง ๆ
โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จะรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เช่น จำนวนครูสอนออนไลน์จากบ้านไปยังเด็ก หรือเด็กที่เรียนออนไลน์จากบ้าน เพื่อประสานกับ กสทช.ช่วยเหลือดูแลค่าอินเทอร์เน็ตให้กับครูและนักเรียนต่อไป อีกทั้งขณะนี้ สพฐ.ได้แจ้ง กสทช. ขอรับการสนับสนุนให้มีการเรียนผ่าน On Air เพิ่มเติมทางช่อง TPBS, ททบ.5 และช่อง 9 MCOT แล้ว ซึ่งจะมีรายการของ สพฐ. ตั้งแต่เดือนมิ.ย.นี้เป็นต้นไป
ส่วนโรงเรียนประจำ ได้ประสานกับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้เข้าไปช่วยดูแลด้านสุขอนามัยของนักเรียนในการเตรียมการ 'เปิดเรียน' เพื่อคัดกรองและแนะนำการปฏิบัติตัวภายในโรงเรียน พร้อมทั้งให้คำแนะนำกับครูอนามัยในโรงเรียนประจำ โดยเฉพาะกลุ่มโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ และโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ ที่มีนักเรียนเดินทางมาจากหลากหลายพื้นที่ จะต้องดูแลเป็นพิเศษ โดยหากเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง ต้องจัดเป็นกลุ่มและประเมินสถานการณ์ 14 วัน หลังจากนั้นค่อยเข้าสู่ระบบการเรียนปกติ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :