เมื่อเวลา 13.30 น. ที่ศูนย์ประสานงานพรรคอนาคตใหม่ (ฝั่งธนบุรี) "น.ส.พรรณิการ์ วานิช" อดีต ส.ส.บัญชีรายขื่อ พรรคอนาคตใหม่ จัดกิจกรรมอภิปรายไม่ไว้วางใจนอกสภา โดยการอภิปรายได้กล่าวถึงประเด็นกองทุนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติมาเลเซีย หรือ 1 MDB (1 Malaysia DeVelopment Berhad ) ที่ตั้งขึ้นเมื่อปี 2009 ซึ่งมี 10 ประเทศร่วมสอบสวนการฟอกเงินทุจริตกองทุนฯ ที่เริ่มจากการทุจริตในประเทศมาเลเซีย ซึ่งการอภิปรายตอนหนึ่งระบุว่า คดี 1MDB ของประเทศมาเลเซีย เป็นเรื่องอื้อฉาวทางการเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดย "นายนาจิบ ราซัค" อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ผู้ก่อตั้งกองทุนแห่งรัฐหรือ Sovereign Wealth Fund ขึ้น เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจระยะยาว
แต่กองทุนกลับประสบปัญหาขาดทุนต่อเนื่องจนมีหนี้สะสมกว่า 3.7 แสนล้านบาท ภายในระยะเวลา 6 ปี ก่อนกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ จะพบว่ามีเงินกว่า 1.4 แสนล้านบาท สูบเข้าสู่ผู้มีอิทธิพล และพบว่าเงินจำนวน 2 หมื่นล้านบาท เข้ากระเป๋าเจ้าหน้าที่รัฐหมายเลขหนึ่งของมาเลเซีย
การยักยอกเงินดังกล่าว มีเครือข่าวเกี่ยวกันทั่วโลก จนมี 10 ประเทศเดินหน้าสอบสวนเรื่องนี้ทันที ประกอบด้วยสหรัฐฯ, ออสเตรเลีย, ฮ่องกง, อินโดนิเซีย, ลักเซมเบิร์ก, ซีเซลล์, อังกฤษ, สวิตเซอร์แลนด์, สิงคโปร์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
ขณะที่บุคลที่เกี่ยวข้องหลายคนถูกออกหมายแดงโดยตำรวจสากล รวมถึงนายโลว์ เตี๊ยก โจ (หรือโจ โลว์) นักธุรกิจมาเลเซียจากปีนังเชื้อสายจีน ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นนักธุรกิจจอมวางแผนในการฟอกเงินครั้งนี้ และคนสนิทของเขา ทั้งจัสมิน ลู และตังเคฉี
น.ส.พรรณิการ์ อ้างพบหลักฐานว่ารัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กระทำการสืบเนื่องตั้งแต่ปี 2558-2563 โดยตำรวจไทยจับกุมนาบ ฆุสโต ผู้เปิดโปงข้อมูล โดยตั้งข้อหาพยายามกรรโชกทรัพย์ อ้างว่าได้รับการประสานงานจากบริษท เปโตร ซาอุดี ให้ติดตามจับกุม โดยอ้างว่านายฆุสโตเรียกเอาเงิน 83 ล้านบาทจากนายแพทริค มาฮอนี ผู้จัดการของบริษัท เปโตร ซาอุดีฯ แลกกับการไม่เปิดเผยข้อมูลการค้าของบริษัท ซึ่งความผิดปกติที่พบ คือตำรวจกองปราบฯ แถลงว่าได้มีตำรวจจากอังกฤษเข้าร่วมสอบสวนคดีนี้ โดยปรากฎชื่อของนายพอล ฟินิแกน อดีตสก็อตแลนด์ยาร์ด ที่บริษัท เปโตร ซาอุดีฯ จ้างมาดูแลคดีนี้ ผู้ที่สามารถเข้าออกเรือนจำเยี่ยมนายฆุสโตได้ตลอดเวลา โดยมีหลักฐานหลายประการ บ่งชี้ว่าทั้งนายฟินนิแกน และนายแพทริค มาฮอนี ร่วมมือกับตำรวจไทย ใช้วิธีต่างๆ เพื่อกดดันให้นายฆุสโต ยอมรับสารภาพความเท็จ ว่าเขากุเรื่อง 1MDB ขึ้นเพื่อใส่ร้ายนาจิบ นายกรัฐมนตรีมาเลเซียในขณะนั้น
ขณะที่ตำรวจกองปราบฯ ยืนยันว่าพร้อมให้ความร่วมมือกับนานาชาติสอบสวน นายฆุสโต แต่นางลารา ฆุสโต ภรรยายืนยันว่า FBI ถูกปฏิเสธในการขอเข้าสอบนายฆุสโตถึง 3 ครั้ง จนสุดท้ายต้องอาศัยให้ภรรยาเขียนจดหมายโต้ตอบกับนายฆุสโตแทนโดยใช้เวลาถึง 6 เดือนจะสามารถรวบรวมข้อมูลได้มากพอ โดย พล.ต.อ.ประวุฒิ ถาวรศิริ โฆษก สตช.ขณะนั้น ยืนยันว่าไม่มีใครสามารถเข้าเยี่ยมนายฆุสโตได้ในขณะที่ไม่มีเจ้าหน้าที่อยู่ด้วย แต่กลับมีหลักฐานหลายอย่างอาทิ หนังสือลงชื่อคนที่เข้าเยี่ยม ที่บ่งชี้ว่า พล.ต.อ.ประวุฒิ เป็นผู้อนุญาตให้นางลอรา เข้าเยี่ยมเขาตามลำพัง และยังปล่อยให้บริษัท เปโตร ซาอุดีฯ ควบคุมคนที่เข้าถึงนายฆุสโตตามใจชอบ นอกจากนี้นายฆุสโต ยังไม่ถูกโอนตัว ไปรับโทษที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์อย่างที่ควรจะเป็น ทั้งที่รัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ ร้องขออย่างเป็นทางการ มีการติดตามทวงถามหลายครั้ง และทั้ง 2 ประเทศมีสนธิสัญญาการโอนตัวนักโทษกันอยู่แล้ว
นอกจากนี้เมื่อนายฆุสโต พ้นโทษยังถูกเนรเทศ ห้ามเข้าประเทศไทยถึง 100 ปี ทั้งที่ผ่านมาหากเป็นชาวต่างชาติที่มีคดี หรือติดคุกในไทย อาจจะถูกเนรเทษ 5-10 ปี หรือแม้แต่คดียาเสพติด ก็อาจถูกเนรเทษ 50 ปี จึงเป็นที่น่าสงสัยว่าคำสั่งเนรเทศดังกล่าวโดยกระทรวงหมาดไทยนั้นเป็นการป้องกันไม่ให้นายฆุสโตกลับมาเปิดเผยความลับในประเทศไทยหรือไม่ ทั้งหมดนี้ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า รัฐบาลไทยมีส่วนช่วยในการปกปิดข้อมูลคดี 1MDB ขัดขวางกระบวนการยุติธรรมของต่างประเทศ และบิดผันกระบวนการยุติธรรมของไทยหรือไม่
กรณีต่อมาคือนายโลว เตี๊ยก โจว หรือ โจ โลว์ โดยรัฐบาลสิงคโปร์ ขอให้ตำรวจสากลออกหมายแดง ติดตามตัวโจ โลว์ คนสนิทของนายนาจิบ ตั้งแต่วันที่ 7 ต.ค.59 แต่จากการตรวจสอบพบว่านายโจ โลว์ มีการเดินทางเข้า-ออก ประเทศไทยถึง 5 ครั้งผ่านเครื่องบินส่วนตัวทั้งในสนามบินกรุงเทพ-ภูเก็ต จนกระทั่งออกจาประเทศไทยครั้งสุดท้ายในวันที่ 13 พ.ค.61 ซึ่งเป็นเวลาเพียง 3 วันหลังจากที่พรรคอัมโน่ ของนายนาจิบแพ้การเลือกตั้งครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ขณะที่นายตังเคฉี และนายจัสมิน ลู 2 คนสนิท ของนายโจ โลว์ ต่างใช้ไทยเป็นแหล่งกบดานทั้งการเดินทาง จองที่พัก อำนวยความสะดวกโดยได้รับความช่วยเหลือจากนักธุรกิจชาวไทย ที่รู้จักกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นอย่างดี เนื่องจากมีสัญญาเกี่ยวกับธุรกิจสัมปทานโครงการสารสนเทศของตำรวจมากกว่า 1 รายการ แม้ว่าตำรวจจะรู้ว่านักธุรกิจนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องแต่ก็ไม่ได้มีการพยายามจับกุม หรือสอบสวนเครือข่ายดังกล่าวแต่อย่างใด
นอกจากนี้ยังมีการลบข้อมูลการเดินทางเข้า-ออก ประเทศไทยของนายจัสมิน ลู ในฐานขอ้มูลของสำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมืองอีกด้วย ซึ่งพฤติการณืดังกล่าวอาศัยหน่วงานรัฐ มากกว่า 1 หน่วยงาน โดยมีทั้งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ, สำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง, กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงยุติธรรม และกระทรวงต่างประเทศ บุคคลที่มีอำนาจในการสั่งการจะเป็นใครไปไม่ได้