กรณีคณะรัฐมนตรีมีมติตัดงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติแห่งชาติ จํานวน 2,400 ล้านบาท นําไปตั้งเป็นงบสํารองฉุกเฉินแก้ไขปัญหา ช่วยเหลือเยียวยา และบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ตามร่างพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ...
นายเดชาภิวัฒน์ ณ สงขลา ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เปิดเผยว่า กรณีการโอนเงินจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ จำนวน 2,400 ล้านบาท ตามมติ ครม. นั้น กระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้จัดสรรโอนมาให้เหมือนกับทุกหน่วยงาน ระบุว่า ไม่กระทบต่อการรักษาพยาบาลของกองทุนประกันสุขภาพแห่งชาติ เพราะกองทุนหลักประกันสุขภาพมีเงินอยู่ 2 ส่วน โดยในปี 2563 ได้จัดสรร วงเงิน 190,000 ล้านบาท 1. จัดสรรสำหรับรองรับการรักษาพยาบาลให้กับผู้ถือบัตรทอง 140,000 ล้านบาท จึงไม่กระทบต่อการรักษาพยาบาลของผู้ถือบัตรอย่างแน่นอน
อีกส่วนหนึ่ง จัดสรรสำหรับเงินเดือนเจ้าหน้าที่กองทุนฯหรือบุคคลากร วงเงิน 50,000 ล้านบาท เมื่อ ครม.เห็นชอบ บรรจุข้าราชการ "กระทรวงสาธารณสุข" 4 หมื่นอัตราใหม่ จึงโอนวงเงินดังกล่าว 2,400 ล้านบาท มารองรับการจ่ายเงินเดือน สำหรับบรรจุบุคคลากร เป็นข้าราชการอัตราใหม่า เพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้วงการแพทย์ ประเด็นนี้ กระทรวงสาธารณสุขจะเป็นผู้ชี้แจงรายละเอียดเพิ่มเติม
สอดคล้องกับข้อมูลที่“ฐานเศรษฐกิจ”ตรวจสอบข้อเท็จจริงพบว่า กรณีนี้เป็นผลสืบเนื่องจากมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2563 ที่เห็นชอบหลักเกณฑ์และแนวทางการ โอนงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ.
ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และแนวทางการโอนงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 รายการที่นํางบประมาณรายจ่ายไปจัดทําร่างพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. .... ข้อ 3 หน่วยงาน ของรัฐสภา หน่วยงานของศาล องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ องค์กรอัยการ องค์การมหาชน และหน่วยงานของรัฐที่กฎหมายกําหนดให้ได้รับงบประมาณเป็นเงินอุดหนุนและทุนหมุนเวียน ที่พิจารณาเห็นว่ารายการที่ได้รับงบประมาณ ไม่สามารถดําเนินการได้ตามวัตถุประสงค์ของการตั้งงบประมาณ หรือมีรายได้/เงินรายได้สะสมคงเหลือเพียงพอต่อการดําเนินภารกิจ
ในประเด็นนี้กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ถือมีสถานะเป็นกองทุนที่ไม่เป็นนิติบุคคล ภายใต้สํานักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของรัฐมนตรี จึงเข้าข่ายที่จะต้องพิจารณาโอนงบประมาณตามมติครม.
ต่อมาในวันที่15 เมษายน 2563 ที่ประชุมครม.ได้อนุมัติการเพิ่มอัตราข้าราชการใหม่ ตั้งใหม่ และมาตรการเพิ่มสิทธิประโยชน์อื่นสําหรับบุคลากรกระทรวงสาธารณสุขรองรับภาวะฉุกเฉินในสถานการณ์ ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 ตามหลักการที่สํานักงาน ก.พ. เสนอจํานวน 40,897 อัตรา
อย่างไรก็ตามก่อนที่จะมีการเสนอเรื่องนี้ให้ที่ประชุมครม.พิจารณา กระทรวงสาธารณสุขได้นำเสนอเรื่องให้คณะกรรมการกําหนดเป้าหมายและนโยบายกําลังคนภาครัฐ (คปร.) ครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2563 พิจารณาการขอเพิ่มอัตราข้าราชการใหม่และมาตรการเพิ่มสิทธิประโยชน์อื่นสําหรับบุคลากร กระทรวงสาธารณสุข จํานวน 40,897 อัตราแบ่งเป็น เพื่อรองรับภาวะฉุกเฉินในสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19
การประชุมในครั้งนั้นนายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงในที่ประชุมคปร.ว่า เงิน งบประมาณที่เคยใช้สําหรับจ้างบุคลากรจากพนักงานกระทรวงสาธารณสุข ลูกจ้างชั่วคราว หรือพนักงานราชการ เป็นเงินเหมาจ่ายรายหัวที่ได้รับจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
เมื่อกระทรวงสาธารณสุขได้รับอนุมัติอัตราข้าราชการเพิ่มขึ้น การจัดสรรเงินจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้กระทรวงสาธารณสุข ก็จะปรับลดจํานวนเงินลง เพราะจะต้องนําอัตราเงินเดือนของข้าราชการที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการมาหักออกก่อน
ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 แม้ว่าจะกําหนดให้ ค่าใช้จ่ายในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นค่าใช้จ่ายที่รวมเงินเดือนและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ของบุคลากร ที่ใช้ในการดําเนินการให้บริการ แต่ตามกฎหมายพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจําตําแหน่ง ของข้าราชการ พ.ศ. 2534 กำหนดว่าเงินที่กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้รับ เฉพาะเงินส่วนที่ไม่รวมเงินเดือนและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรของหน่วยบริการของรัฐ ที่ได้รับจากเงินงบประมาณโดยตรง
เมื่อกระทรวงสาธารณสุขจะบรรจุข้าราชการเพิ่มจึงต้องนําอัตราเงินเดือนของข้าราชการที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการมาหักออกจากเงินที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพจ่ายเงินเดือนและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ของบุคลากร ที่ใช้ในการดําเนินการให้บริการในลักษณะเหมาจ่ายให้กับกระทรวงสาธารณสุขออกก่อน เพื่อเป็นการควบคุมค่าใช้จ่ายที่มีผลต่อการปรับลดกรอบอัตรากําลังพนักงานกระทรวงสาธารณสุขหรือลูกจ้างชั่วคราวด้วย
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้บุคลากรของกระทรวงสาธารณสุขที่เปลี่ยนสภาพได้รับการบรรจุเป็น ข้าราชการโดยเร็ว และไม่เป็นภาระงบประมาณแผ่นดินในปัจจุบันมากนัก กระทรวงสาธารณสุขได้ยืนยันว่ายินดี สนับสนุนให้โอนเงินงบประมาณเหลือจ่ายและเงินรายได้ของกระทรวงสาธารณสุขคืนกระทรวงการคลัง เพื่อใช้สําหรับบรรจุ บุคลากร
ดังนั้นการโอนงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มารวมไว้ที่งบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือ จําเป็นเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาและบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์การโควิด-19 จึงเป็นเป็นงบประมาณตามข้อเสนอของปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่เป็นเงินเหมาจ่ายรายหัว (สปสช.) ในการจ้างบุคลากรจาก พนักงานกระทรวงสาธารณสุข ลูกจ้างชั่วคราว หรือพนักงานราชการหรือบุคลากรทางการแพทย์ มาบรรจุเป็นข้าราชการใหม่ ตามมติครม.เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2563 ไม่เกี่ยวกับงบประมาณค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยในโครงการบัตรทอง
อย่างไรก็ดีในปีงบประมาณ 2563 สํานักงานหลักประกันสุขภาพได้รับการจัดสรรงบประมาณ รายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบกลาง รายการเงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็นฯ เพื่อเป็น ค่าใช้จ่ายโครงการค่าบริการสาธารณสุขสําหรับโรคติดเชื้อโควิด-19 ภายใต้กองทุน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ ไว้จํานวน 3,260.125 ล้านบาท
หากงบประมาณของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไม่เพียงพอต่อการดําเนินงานใน เปีงบประมาณ 2563 สามารถขอรับการจัดสรรงบกลาง รายการเงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็นเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาและบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มเติมได้