ตอบแบบสอบถาม "ศบค." มาตรการไหน อยากให้ "คลายล็อกดาวน์"

10 พ.ค. 2563 | 10:46 น.
อัปเดตล่าสุด :12 พ.ค. 2563 | 08:10 น.

ศบค.จัดทำแบบสอบถาม11คำถาม ความพึงพอใจในการใช้ พรก.ฉุกเฉิน พร้อมมีช่องให้เลือก อยากให้ "คลายล็อกดาวน์" มาตรการไหน

จากกรณีที่ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือ ศบค. เตรียม "คลายล็อกดาวน์" หรือ ผ่อนปรนในการเปิดกิจการ/กิจกรรมระยะที่ 2 โดยคาดว่าจะมีการออกประกาศในวันที่ 17 พ.ค.นี้ 

 

แต่ระหว่างวันที่ 8-12 พ.ค. เป็นการรับฟังความคิดเห็นหลังประกาศผ่อนปรนมาตรการ เมื่อวันที่ 3 พ.ค. ทำให้ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 ได้จัดทำ "แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้ พรก.ฉุกเฉินฯ และมาตรการที่เกี่ยวข้อง" ซึ่งให้ประชาชนสแกนคิวอาร์โค้ด เพื่อกรอกเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการ "คลายล็อกดาวน์" ในระยะต่อไป

 

โดยคำถามมีทั้งหมด 11 ชุดคำถาม ซึ่งเริ่มจากการสอบถาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน/บาท  และที่อยู่/ภูมิลำเนา (ปัจจุบัน) 

จากนั้นจะเริ่มถามว่า 1."ท่านมีความพึงพอใจต่อการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในระดับใด" โดยมีให้เลือก 1-5 น้อยที่สุด ถึง มากที่สุด

 

2. ท่านคิดว่าข้อใดต่อไปนี้เป็นประโยชน์ที่ได้รับจากการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จากที่ผ่านมา (3 ตัวเลือก) โดยมีตัวเลือกได้แก่  ลดการแพร่ระบาด ลดอุบัติเหตุบนท้องถนน ลดอาชญากรรม ลดปัญหาเมาแล้วขับ ธรรมชาติได้รับการฟื้นฟู ส่งเสริมสถาบันครอบครัว ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน

 

ตอบแบบสอบถาม \"ศบค.\" มาตรการไหน อยากให้ \"คลายล็อกดาวน์\"


3. ในช่วงภาวะวิกฤติโรคโควิด-19 มีการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ส่งผลกระทบต่อท่านในเรื่องใดบ้าง ให้เลือก 3 ตัวเลือก ได้แก่ การทำงาน  การเดินทาง ภาวะทางการเงิน สิทธิเสรีภาพ ความอบอุ่นในครอบครัว ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การศึกษา อาหาร สุขภาพ กิจกรรมทางศาสนา  Other

 

4. มาตรการใดที่ท่านเห็นว่าส่งผลต่อประสิทธิภาพในการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มากที่สุด (3 ตัวเลือก) ได้แก่ ห้ามเข้าพื้นที่เสี่ยงต่อการติดต่อโรค ห้ามเดินทางเข้า – ออก ประเทศ การตั้งจุดตรวจ จุดสกัด ห้ามออกนอกเคหสถานในเวลาที่กำหนด ปิดสถานที่ท่องเที่ยว สนามกีฬา ปิดสถานบริการ อาทิ ร้านนวดแผนไทย สถานบันเทิง ห้ามเดินทางข้ามเขตจังหวัด มาตรการกักตัว 14 วัน ห้ามชุมนุม หรือมั่วสุม หรือจัดกิจกรรมที่มีคนมารวมตัวกันเป็นจำนวนมาก

 

5. มาตรการใดที่ท่านต้องการให้รัฐบาลผ่อนปรนมากที่สุด (3 ตัวเลือก) ได้แก่ ห้ามเข้าพื้นที่เสี่ยงต่อการติดต่อโรค ห้ามเดินทางเข้า – ออก ประเทศ การตั้งจุดตรวจ จุดสกัด ห้ามออกนอกเคหสถานในเวลาที่กำหนด ห้ามเดินทางข้ามเขตจังหวัด มาตรการกักตัว 14 วัน ห้ามชุมนุม หรือมั่วสุม หรือจัดกิจกรรมที่มีคนมารวมตัวกันเป็นจำนวนมาก

 

6. ท่านคิดว่ารัฐบาลควรผ่อนปรนระยะเวลาเคอร์ฟิว เป็นเวลาใด  โดยมีตัวเลือกดังนี้ เวลา 22.00 – 04.00 น. เวลา 23.00 – 04.00 น. เวลา 24.00 – 04.00 น. และ ยกเลิกเคอร์ฟิว

 

7. ท่านคิดว่ากิจการใดยังมีความเสี่ยงสูงในการเป็นแหล่งแพร่ระบาด (3 ตัวเลือก) ได้แก่ ผับ บาร์ คาราโอเกะ สถานบริการ อาบอบนวด นวดแผนไทย สปา ศูนย์ประชุม ศูนย์แสดงสินค้า โรงภาพยนตร์ โรงละคร ห้องจัดเลี้ยงขนาดใหญ่ สถาบันการศึกษา โรงเรียนกวดวิชา ร้านเกมส์ ร้านอินเทอร์เน็ต สนามกีฬา สนามมวย โรงสอนมวย สนามกีฬาในห้องแอร์ Other

 

8. ท่านคิดว่าเมื่อจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่สามารถควบคุมได้ตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข ไม่เพิ่มขึ้นในระยะเวลากี่วัน จึงควรประกาศยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ  มีตัวเลือกดังนี้ 7 วัน 14 วัน 21 วัน 28 วัน

 

ตอบแบบสอบถาม \"ศบค.\" มาตรการไหน อยากให้ \"คลายล็อกดาวน์\"

 

9. ท่านคิดว่ารัฐบาลควรมีมาตรการใดเพิ่มเติมในระยะสั้น (3 ตัวเลือก) ได้แก่  ทบทวนและจ่ายเงินเยียวยาให้กับกลุ่มประชากรที่ยังไม่ได้ค่าชดเชย ขยายมาตรการลดค่าน้ำ-ค่าไฟ รื้อฟื้นการขนส่งมวลชนฟรี งดเว้นดอกเบี้ยเงินกู้ระยะสั้น ลดค่าธรรมเนียมการศึกษา ให้ใช้อินเทอร์เน็ตฟรี ตรวจโควิดฟรี 

 

10. ท่านคิดว่ารัฐบาลควรมีมาตรการใดเพิ่มเติมในระยะยาว (3 ตัวเลือก) ได้แก่ ส่งเสริมการฝึกอาชีพให้เหมาะสมกับตลาดแรงงาน มีระบบในการติดตามสุขภาพประชาชนอย่างทั่วถึง และเข้าถึงง่าย วัคซีนฟรีปล่อยสินเชื่อให้ผู้ประกอบการรายย่อย ส่งเสริมธุรกิจการท่องเที่ยว ส่งเสริมความเข้มแข็งเครือข่ายภาคประชาชน /อสม.  และ 11. ข้อเสนอแนะอื่น ๆ 

ตอบแบบสอบถาม \"ศบค.\" มาตรการไหน อยากให้ \"คลายล็อกดาวน์\"

 

โดย นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศบค. ระบุว่า ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมได้ว่า ต้องการให้เปิดตรงไหนอย่างไร โดยการเข้าไปกรอกแบบสอบถาม ของศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง ด้วยการกรอกข้อมูลดังกล่าว ซึ่งศบค.จะนำไปพิจารณาต่อไป

 

ตอบแบบสอบถาม \"ศบค.\" มาตรการไหน อยากให้ \"คลายล็อกดาวน์\"

แสกน QR code นี้

ลิงค์ แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้ พรก.ฉุกเฉินฯ และมาตรการที่เกี่ยวข้อง