โพลเผย  ปชช.หวั่นม็อบปลดแอกบานปลาย จี้นายกฯฟังปัญหาด้วยตนเอง

23 ส.ค. 2563 | 00:55 น.
อัปเดตล่าสุด :24 ส.ค. 2563 | 02:59 น.

นิด้าโพล เผยผลสำรวจร้อยละ 61 "ค่อนข้างกังวลถึงกังวลมาก" การชุมนุมของกลุ่มประชาชนปลดแอกจะบานปลายรุนแรง  หวั่นมือที่ 3 แทรกแซง เกิดการปลุกระดม  จี้นายกฯรับฟังปัญหาด้วยตัวเอง

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ม็อบกลุ่มประชาชนปลดแอก” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 18 – 20 สิงหาคม 2563 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,312 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการชุมนุม เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และวันที่ 16 สิงหาคม ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

 

จากการสำรวจเมื่อถามประชาชนถึงความกังวลว่าจะเกิดการบานปลายกลายเป็นความแตกแยกและความรุนแรงในสังคมจากการชุมนุม ของกลุ่มประชาชนปลดแอก พบว่า ร้อยละ 26.37 ระบุว่า กังวลมาก เพราะ เกรงว่าจะเกิดความรุนแรงขึ้นและอาจจะมีมือที่ 3 เข้ามาแทรกแซงเหมือนที่ผ่านมา และอยากให้เลื่อนการชุมนุมออกไปก่อนจนกว่าการแพร่ระบาดโควิด – 19 จะหมดไป 100% ร้อยละ 34.76 ระบุว่า ค่อนข้างกังวล เพราะ เกรงว่าจะมีการปลุกระดมให้เกิดความรุนแรงระหว่างกลุ่มคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย อาจจะทำให้ผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องถูกลูกหลง ได้รับบาดเจ็บ

 

ร้อยละ 14.18 ระบุว่า ไม่ค่อยกังวล เพราะ เป็นสิทธิเสรีภาพในการแสดงข้อเรียกร้องให้รัฐบาลรับทราบถึงเหตุผลในการชุมนุมเท่านั้น และรัฐบาลสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ร้อยละ 24.16 ระบุว่า ไม่กังวลเลย เพราะ เป็นเหตุการณ์ปกติของการเมืองไทยที่มีมาตั้งเเต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นสิทธิในการแสดงเหตุผลของกลุ่มประชาชนปลดแอก และเป็นการชุมนุมอย่างสงบ และร้อยละ 0.53 ระบุว่า เฉย ๆ/ ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

 

ข่าวเกี่ยวข้อง

อดีตบิ๊กข่าวกรอง’ เตือนพวกเห่อฝรั่ง  ตะวันตกกำลังล่มสลาย

โพลเผยผลสำรวจปชช.ร้อยละ 62 เรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 

"กรณ์" ค้านซื้อ"เรือดำน้ำ"แนะรัฐใช้งบก้อนใหญ่เร่งแก้ปัญหา"ปากท้อง" ก่อน

แก้รธน. 2 ปีเสร็จ พรรคร่วมรัฐบาลยื่นญัตติ 26 ส.ค.นี้

 

 

โพลเผย  ปชช.หวั่นม็อบปลดแอกบานปลาย จี้นายกฯฟังปัญหาด้วยตนเอง

 

 

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงสิ่งที่นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ควรดำเนินการกับการชุมนุม พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 45.27 ระบุว่า ควรรับฟังปัญหาจากกลุ่มผู้ชุมนุมด้วยตนเอง รองลงมา ร้อยละ 24.16 ระบุว่า ควรยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ทันที ร้อยละ 11.43 ระบุว่า ควรประกาศแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 เพื่อเปิดทางให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญแล้วยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่

 

 

ร้อยละ 11.36 ระบุว่า ควรใช้กลไกรัฐสภาในการฟังปัญหาจากกลุ่มผู้ชุมนุม ร้อยละ 9.07 ระบุว่า ควรประกาศแก้ไขรัฐธรรมนูญ รายมาตรา แล้วยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ ร้อยละ 8.54 ระบุว่า ควรใช้กลไกราชการเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม ร้อยละ 6.17 ระบุว่า ควรอยู่เฉย ๆ ไม่ต้องทำอะไร ร้อยละ 4.50 ระบุว่า ควรใช้กฎหมายดำเนินการกับผู้กระทำผิด และร้อยละ 0.99 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่ทราบ/ไม่สนใจ