"สลายชุมนุมเกินกว่าเหตุ" กรรมการสิทธิ์ ออกแถลงการณ์จี้รัฐเยียวยา

17 ต.ค. 2563 | 09:31 น.

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ออกแถลงการณ์ 5 ข้อ ชี้สลายการชุมนุมม็อบคณะราษฎรเกินกว่าเหตุ จี้เยียวยาผู้ที่ได้รับความเสียหาย

วันที่ 17 ตุลาคม 2563 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ออกแถลงการณ์ถึงกรณีสลายการชุมนุมของ "กลุ่มคณะราษฎร 2563" เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2563 ที่แยกปทุมวัน เนื้อหาระบุว่า

 

แถลงการณ์คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)

 

เรื่องเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2563 ตามที่รัฐบาลได้อาศัยอํานาจตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ กรุงเทพมหานครและข้อกําหนดตามประกาศดังกล่าว เข้าสลายการชุมนุมของกลุ่มคณะราษฎร ซึ่งประกอบด้วยนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชน เมื่อช่วงค่ําของวันที่ 16 ตุลาคม 2553 บริเวณสี่แยก ปทุมวัน กรุงเทพฯ นั้น

 

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) มีความกังวลและห่วงใยเป็นอย่างยิ่งต่อสถานการณ์ การชุมนุมทางการเมืองและการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ซึ่งมีความอ่อนไหวและอาจนําไปสู่ ความขัดแย้งรุนแรงในสังคมไทย แม้ว่าการชุมนุมของกลุ่มคณะราษฎรเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2563 เป็นการชุมนุม ที่ต้องห้ามตามข้อกําหนดของประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินฯ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นิสิต 7 มหาวิทยาลัย จี้ยกเลิก ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินฯ

6องค์กรสื่อ ออกแถลงการณ์ 3 ข้อ แนะยึดสันติวิธี - อย่าใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินริดรอนเสรีภาพ

คณะราษฎร ดาวกระจาย 3 สถานีรถไฟฟ้า กทม. อีก 16 จุดในต่างจังหวัด

ศาลยกคำร้องตำรวจขอฝากขัง 8 ผู้ชุมนุมแยกปทุมวัน

  ม็อบจ่อ ปิดอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ  

 

อย่างไรก็ตาม กสม. เห็นว่าการชุมนุมดังกล่าว ยังไม่ปรากฏลักษณะที่แสดงให้เห็นถึงการใช้ความรุนแรงจนเป็นเหตุถึงขั้นที่รัฐบาลต้องตัดสินใจ ใช้มาตรการในการสลายการชุมนุม จึงเห็นว่าเป็นการกระทําที่เกินสมควรแก่เหตุ ทั้งนี้ การบังคับใช้กฎหมาย จําเป็นต้องคํานึงถึงสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานบางประการที่ไม่สามารถละเมิดได้ (non-derogable) ของผู้ชุมนุม โดยเฉพาะการปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชน

กสม. จึงขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายพิจารณา ดังนี้

 

1. รัฐบาลและเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ควรใช้มาตรการที่รุนแรงในการสลายการชุมนุมโดยสงบซึ่งได้รับ การรับรองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและ สิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights - ICCPR) ที่ประเทศไทยเป็นภาคี รวมทั้งใช้แนวทางสันติวิธีในการเจรจาแก้ไขปัญหา

 

2. รัฐบาลไม่พึงใช้ความรุนแรงต่อผู้ชุมนุมโดยเฉพาะเด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมชุมนุม และ ต้องคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของเด็กในการแสดงความคิดเห็น ตลอดจนไม่กระทําการใดที่จะมีผลกระทบ ต่อสวัสดิภาพ พัฒนาการ และความปลอดภัยทางร่างกายและจิตใจของเด็ก ซึ่งเป็นหลักการที่ได้รับ การรับรองไว้ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child - CRC)

 

3. รัฐบาลและฝ่ายนิติบัญญัติควรใช้กระบวนการของรัฐสภาในการแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างจริงจัง และให้หลักประกันว่าข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมทุกกลุ่มจะได้รับการพิจารณาเพื่อนําไปสู่การยุติข้อพิพาทโดยเร็ว

4. รัฐบาลควรเยียวยาความเสียหายที่เกิดจากปฏิบัติการการสลายการชุมนุม ทั้งผู้ชุมนุมและ เจ้าหน้าที่ที่ได้รับบาดเจ็บจากการถูกสั่งให้ปฏิบัติการ รวมทั้งดูแลให้ผู้เข้าร่วมการชุมนุมที่ถูกควบคุมตัว จากการชุมนุมโดยสงบได้เข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานในกระบวนการยุติธรรม

 

5. การใช้สิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก ทุกฝ่ายควรเคารพ สิทธิมนุษยชนของบุคคลอื่น หลีกเลี่ยงการใช้ถ้อยคําหรือการสื่อสารด้วยวิธีการใด ๆ ที่สร้างความขัดแย้ง ความเกลียดชัง ปลุกเร้าให้เกิดความรุนแรง และดูหมิ่นเหยียดหยามศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น

 

ทั้งนี้ กสม. ขอให้ทุกฝ่ายได้ใช้ความอดทนอดกลั้นและร่วมกันแสวงหาทางออกอย่างสันติเพื่อให้ ประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤตการณ์ครั้งนี้ไปได้ด้วยดี
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

17 ตุลาคม 2563

\"สลายชุมนุมเกินกว่าเหตุ\" กรรมการสิทธิ์ ออกแถลงการณ์จี้รัฐเยียวยา

\"สลายชุมนุมเกินกว่าเหตุ\" กรรมการสิทธิ์ ออกแถลงการณ์จี้รัฐเยียวยา