คณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 5 พ.ย. 67 มีมติล่าสุด เห็นชอบการแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีชุดใหม่ จำนวน 13 ราย ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ โดยมีผู้ที่ได้รับแต่งตั้งที่มีประวัติโดดเด่นหลายราย
วัย 69 ปี อดีตปลัดกระทรวงกลาโหมและอดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จบการศึกษาจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 14 และโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่น 25 เคยศึกษาต่อด้านการทหารทั้งในออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกา ก่อนจะจบปริญญาโทด้านการจัดการจากมหาวิทยาลัยเว็บสเตอร์
ตลอดช่วงรับราชการทหาร พลเอกนิพัทธ์มีบทบาทสำคัญหลายครั้ง โดยเฉพาะในช่วงเหตุการณ์กบฏเมษาฮาวาย และการเป็นแกนนำเจรจาสันติภาพชายแดนใต้เมื่อปี 2556 หลังเกษียณได้ร่วมงานกับ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ในฐานะที่ปรึกษาผู้ว่าฯ กทม. ก่อนจะมารับตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน
เกิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2513 จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้รับปริญญาเอกสาขาบริหารจัดการอุดมศึกษานานาชาติ จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน สหรัฐอเมริกา
เริ่มเข้าสู่การเมืองในปี 2544 โดยลงสมัคร ส.ส.สังกัดพรรคไทยรักไทย และเคยดำรงตำแหน่งรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และโฆษกประจำกระทรวงพาณิชย์ ปัจจุบันเป็นกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย
หัวหน้าศูนย์ป้องกันการทุจริตเลือกตั้ง พรรคเพื่อไทย เป็นเพื่อนร่วมรุ่นกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ตั้งแต่สมัยเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 10 และโรงเรียนนายร้อยตำรวจรุ่นที่ 26 จบการศึกษาระดับปริญญาโทสาขาการบริหารและพัฒนาสังคมจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ในปี 2542 ได้ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนนทบุรี ต่อมาในปี 2544 เป็นผู้บังคับการกองตำรวจทางหลวงและผู้บังคับการกองปราบปราม โดยมีผลงานสำคัญคือการนำทีมจับกุม 'เสธ.แดง' พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล ที่โรงแรมดิ เอมเมอรัล
ในปี 2545 ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง และในปี 2546 ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญคือการออก 'หวยบนดิน' หรือสลากแบบเลขท้าย 2 ตัวและ 3 ตัว
สำหรับมติครม.แต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทั้งหมด 13 รายมีรายชื่อดังนี้
ทั้งนี้ การแต่งตั้งจะมีผลตั้งแต่วันที่นายกรัฐมนตรีลงนามในประกาศแต่งตั้ง ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบแล้ว
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ระบุอำนาจหน้าที่ในฐานะผู้ช่วยรัฐมนตรีว่า
ผู้ช่วยรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายให้ไปประจำหรือปฏิบัติหน้าที่ในกระทรวงใดมีอำนาจหน้าที่ในมิติด้านต่างๆ ดังนี้
(1) มิติด้านการเมือง ประสานงานระหว่างนายกรัฐมนตรีและสำนักนายกรัฐมนตรีกับรัฐมนตรี สำนักงานรัฐมนตรี และกระทรวง ในเรื่องที่นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีมอบหมาย
(2) มิติด้านประชาชน เป็นผู้แทนของรัฐมนตรีในการรับฟังข้อเสนอแนะพิจารณาเรื่องร้องเรียน หรือร้องทุกข์เกี่ยวกับนโยบาย หรือกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวง
(3) มิติด้านกระทรวง เป็นผู้แทนของรัฐมนตรีในการเจรจา ร่วมเจรจาหรือหารือในเรื่องที่ไม่ก่อให้เกิดพันธะทางกฎหมายผูกมัดรัฐมนตรี กระทรวงหรือทางราชการและสามารถเข้ารับฟัง เข้าประชุมแทน หรือเข้าประชุมร่วมกับรัฐมนตรีในการประชุมต่างๆ ของฝ่ายบริหารได้ โดยได้รับอนุญาตจากประธานในที่ประชุมหรือที่ประชุมนั้น แล้วแต่กรณี โดยไม่นับเป็นองค์ประชุม และอาจเสนอความเห็นต่อที่ประชุมได้หากได้รับอนุญาตจากประธานในที่ประชุมหรือที่ประชุม โดยไม่มีสิทธิออกเสียงลงมติ
(4) มิติด้านต่างประเทศ เข้าประชุมแทนหรือเข้าประชุมร่วมกับรัฐมนตรีในการประชุมกับต่างประเทศหรือระหว่างประเทศ โดยคำนึงถึงหลักปฏิบัติระหว่างประเทศและพิธีการทูต
(5) มิติด้านข้าราชการ ประสานงานกับข้าราชการประจำและข้าราชการการเมืองในกระทรวง เพื่อให้ภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีหรือคณะกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีเป็นไปด้วยความเรียบร้อย แต่จะใช้อำนาจบังคับบัญชาหรือสั่งการใดๆ มิได้
(6) มิติด้านสังคม ปฏิบัติหน้าที่แทนรัฐมนตรีในงานพิธีการของทางราชการหรือเอกชน หรืองานสังคมที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการหรือขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของไทย เพื่อประโยชน์แก่ทางราชการ
(7) มิติด้านอื่น ๆ ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีมอบหมาย โดยไม่ขัดต่อกฎหมาย