วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 ศาลอาญานัดอ่านคำพิพากษา คดีที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตเลขาธิกาคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.) และแกนนำกปปส. รวม 39 คน จากการชุมนุมทางการเมืองเมื่อปี 2557 ซึ่งมีการกระทำความผิด 9 ข้อหาที่รวมถึงการร่วมกันขัดขวางการเลือกตั้ง
คดีนี้อัยการโจทก์ยื่นสำนวนฟ้องต่อศาลอาญาเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2561 ฟ้องนายสุเทพกับพวกจำเลยทั้งหมดในความผิด 9 ข้อหา ฐานร่วมกันเป็นกบฏ ก่อการร้าย ยุยงให้หยุดงานฯ กระทำให้ปรากฏด้วยวาจาหรือวิธีการอื่นใดฯ ทำให้เกิดความปั่นป่วนกระด้างกระเดื่องในราชอาณาจักรฯ อั้งยี่ ซ่องโจร มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ทำให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมืองฯ บุกรุกในเวลากลางคืนฯ และร่วมกันขัดขวางการเลือกตั้งฯสำหรับจำเลยคดีนี้มีทั้งสิ้น 39 คน ประกอบด้วย
1. นายสุเทพ เทือกสุบรรณ
2. นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย
3. นายชุมพล จุลใส
4. นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์
5. นายอิสสระ สมชัย
6. นายวิทยา แก้วภราดัย
7. นายถาวร เสนเนียม
8. นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ
9. นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์
10. นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
11. พลเอกปรีชา เอี่ยมสุพรรณ
12. นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์
13. นายยศศักดิ์ โกไศยกานนท์
14.นายถนอม อ่อนเกตุพล
15. นายสมศักดิ์ โกศัยสุข
16. นายสุวิทย์ ทองประเสริฐ หรือ พุทธะอิสระ
17. นายสาธิต เซกัล
18. นางสาวรังสิมา รอดรัศมี
19. พลอากาศโทวัชระ ฤทธาคนี
20.พลเรือเอกชัย สุวรรณ ภาพ
21. นายแก้วสรร อติโพธิ
22. นายไพบูลย์ นิติตะวัน
23. นายถวิล เปลี่ยนศรี
24. เรือตรีแซมดิน เลิศบุศย์
25. นายมั่นแม้น กะการดี
26. นายคมสัน ทองศิริ
27. พลเอกปฐมพงษ์ เกษรศุกร์
28. นายพิภพ ธงไชย
29. นายสาวิทย์ แก้วหวาน
30.นายสุริยะใส กตะศิลา
31. นายสุริยันต์ ทองหนูเอียด
32.นายสุภวัฒน์ สุปิยะพาณิชย์
33.นายสำราญ รอดเพชร
34.นายอมร อมรรัตนานนท์
35. นายพิเชฐ พัฒนโชติ
36. นายสมบูรณ์ ทองบุราณ
37.นายกิตติชัย ใสสะอาด
38.นางทยา ทีปสุวรรณ
39 นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
ประเด็นที่น่าสนใจ คือ มีจำเลยส่วนหนึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ส.ส.อยู่ในพรรคประชาธิปัตย์และพรรคพลังประชารัฐ ที่สำคัญ มีผู้ที่เป็นรัฐมนตรีด้วย 3 คน คือ นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นายถาวร เสนเนียม รมช.คมนาคม และส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ จึงต้องติดตามว่าคำตัดสินของศาล จะมีผลต่อการชี้ชะตาคุณสมบัติการดำรงตำแหน่งดังกล่าวหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีตำแหน่งรัฐมนตรี ที่อาจนำไปสู่การปรับครม.
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่า แม้คดีนี้เป็นการตัดสินของศาลอาญา แต่เนื่องจากโจทย์ได้ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้งของจำเลยด้วย จึงถือว่าสำคัญมาก โดยแนวทางคำตัดสินคดีนี้ มี 3 ทาง คือ 1.จำคุกและเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้ง 2.รอโทษจำคุก แต่สั่งเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้ง 3.ศาลสั่งยกฟ้อง
หากศาลสั่งจำคุกและเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้ง หรือถ้าสั่งรอลงอาญา แต่ให้เพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้ง จะทำให้จำเลยต้องพ้นจากตำแหน่งทันที เพราะหมดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญ โดยไม่ต้องรอให้คดีถึงที่สุด ประเด็นนี้มีบรรทัดฐานจากคำวินิจฉัยของศาลฯ ในคดีของนายเทพไท เสนพงศ์ อดีตส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งถูกศาลอาญาตัดสินจำคุกและเพิกถอนสิทธิ์การเลือกตั้ง จากกรณีการทุจริตกรเลือกตั้งนายกอบจ.นครศรีธรรมราช
ส่วนผู้ที่มีตำแหน่งรัฐมนตรี ถ้าศาลอาญาตัดสินว่ามีความผิด ก็ต้องพ้นจากตำแแหน่งทันที เพราะขาดคุณสมบัติความเป็นรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 160 (7) ที่บัญญัติว่าไม่เป็นผู้ต้องคำพิพากษาให้จำคุก แม้คดีนั้นจะยังไม่ถึงที่สุด หรือมีการรอการลงโทษ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง: