เกาะติดการ "ประชุมสภาผู้แทนราษฎร" เพื่อพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ 2565 หรือ “งบแต่ละกระทรวง ปี 65” วงเงิน 3.1 ล้านล้านบาท ล่าสุด นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน โพสต์เฟซบุ๊ก ชี้แจงเพิ่มเติมในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับกระทรวงพลังงาน และประเด็นด้านนโยบายเศรษฐกิจและการเงินเพื่อรับมือวิกฤตโควิด-19 ใน 4 ประเด็นสำคัญ โดยใจความระบุว่า ....
ผมขอชี้แจงประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับกระทรวงพลังงานและประเด็นด้านนโยบายเศรษฐกิจและการเงินเพื่อรับมือวิกฤตโควิด-19 ในร่าง พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 วาระรับหลักการ ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวานนี้ (31 พ.ค. 64) ตามที่มีท่านสมาชิกสภาฯ ได้อภิปรายถึง เพื่อให้ข้อเท็จจริงที่จะช่วยให้เข้าใจตรงกันและไม่คลาดเคลื่อน ดังนี้ครับ
ประเด็นที่ 1 เรื่องตัวชี้วัดงบประมาณมาจากไหน และมีวิธีคิดคำนวณต้นทุนพลังงาน โดยเฉพาะต้นทุนเนื้อน้ำมัน และค่าการตลาดอย่างไร
ประเด็นที่ 2 รัฐวิสาหกิจที่มีความมั่นคงและมั่งคั่งได้ช่วยเหลือประชาชนในช่วงวิกฤตการระบาดของโควิด-19 บ้างหรือไม่
ประเด็นที่ 3 รัฐบาลมีส่วนช่วยเรื่องการลดค่าใช้จ่ายและภาระหนี้ที่สามารถลดได้ทันทีของประชาชนในช่วงการระบาดของโควิด-19 อย่างไร เช่น การลดส่วนต่างดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
ประเด็นที่ 4 รัฐบาลช่วยเหลือ SME ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 อย่างไรบ้าง
อยากให้ทุกท่านมองเห็นความตั้งใจของรัฐบาลในการสนับสนุน SME ก่อนหน้านี้รัฐบาลยังเคยมีนโยบายและมีมติ ครม. ออกมา ว่าตั้งเป้าให้ SME ของไทยเข้าถึงงบประมาณจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่อยู่ในรายการของกรมบัญชีกลางอย่างน้อย 30% ของงบประมาณ อย่างไรก็ตามทั้งหมดที่กล่าวมาไม่ใช่การทำงานของรัฐบาลฝ่ายเดียว แต่เป็นการทำงานร่วมกับภาคเอกชนผ่านคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อน SME ไทยให้เข้มแข็งและมีสภาพคล่องมากขึ้นท่ามกลางวิกฤตนี้ครับ
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง