ค่ายใหญ่แบรนด์ดังพร้อมใจขนสต๊อกที่อยู่อาศัยพร้อมอยู่ ออกระบาย งัดแคมเปญ ควักกระเป๋าสร้างความมั่นใจ ลูกค้าจ่ายค่างวดแทนนานสูงสุด 3 ปี และจะเป็นกิจกรรมต่อเนื่องตลอดทั้งปี ที่ทุกค่ายต้องโดดลงมาเล่น เพื่อให้ก้าวข้ามผ่านวิกฤติจนกว่าเศรษฐกิจจะเดินได้ต่อ สอดรับกับการประเมินสถานการณ์ที่ว่า ตลาดจะพลิกฟื้นมาเป็นปกติในอีก 3-5 ปีข้างหน้า ในทางกลับกัน คอนโดมิเนียมเปิดตัวใหม่ไตรมาสแรกในเขตกรุงเทพมหานคร เติมซัพพลายในตลาดกว่า 7,000 หน่วย แม้ลดลง 30% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาก็ตาม แต่สำหรับวิกฤติเช่นนี้ ถือว่าเสี่ยงกับสถานการณ์ที่ไม่แน่ชัดว่าจะจบลงเมื่อใด ท่ามกลางสต๊อกเก่าที่ยังคาราคาซัง ส่วนไตรมาส 2 อาจมีโครงการเปิดตัวเบาบาง
อย่างไรก็ตาม หลายค่ายจำเป็นต้องกัดฟันเดินหน้าต่อ จากค่าใช้จ่ายที่ลงทุนไปไม่สามารถกลับลำไม่ทัน, ดอกเบี้ยธนาคารเริ่มสตาร์ต, การเปิดจองล่วงหน้าก่อนที่จะเปิดตัวโครงการ กรณีนี้หากยอดขายไปไม่ไหว อาจถึงขั้นยุติ และคืนเงินลูกค้า ในขณะที่ หลายค่ายยอมเจ็บตัว แม้ได้รับอนุมัติสินเชื่อโครงการ แต่เมื่อเทียบกับการฝืนผลิตจำนวนหน่วยออกมาถล่มตลาด น่าจะได้ไม่คุ้มเสีย ทางออกยอมปล่อยให้เป็นที่ดินว่างเปล่า ดอกเบี้ยเดิน ยังเจ็บตัวน้อยกว่า พร้อมเมื่อไหร่จึงลงทุนต่อหรือปรับเป็นโครงการแนวอื่นที่ตลาดต้องการ ตอบสนองพฤติกรรมใหม่ หรือ “New Normal”
สอดคล้องกับ นายวงศกรณ์ ประสิทธิ์วิภาต กรรมการผู้จัดการ บริษัทพร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) ยอมรับกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า โครงการที่มีแผนขึ้นโครงการล้วนต้องติดต่อกับธนาคาร หรือหาแหล่งทุนมาก่อน หากต้องชะลอออกไป ต้องมีภาระเรื่องดอกเบี้ยแต่มองว่าระยะยาว หากเทียบกับการขึ้นโครงการไปจะเจ็บมากกว่าโดยเฉพาะคอนโดมิเนียม ที่บริษัท เลือกที่จะหยุดพัฒนาและเชื่อว่าการพลิกฟื้นเศรษฐกิจต้องใช้เวลาเป็นปี
ไม่ต่างกับ นางสาวเกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เสนาดีเวลลอปเม้นท์ คาดการณ์ว่าต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 2 ปี กับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากจุดต่ำสุดแอ่งกระทะ (หลักทางเศรษฐศาสตร์) ใช้เวลานานกว่าจะกลับไปสู่จุดก่อนเกิดวิกฤติ ขณะวิกฤติต้มยำกุ้งปี 2540 ภาคการเงินล้มละลาย นาน 5 ปีถึงฟื้น ถือว่าหนักกว่าสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นแต่การแก้ไขยากกว่า เพราะเป็นวิกฤติทางสุขภาพ นอกเหนือการควบคุม
“โรคเกี่ยวกับสุขภาพ ผลกระทบใหญ่มองอย่างต่ำ 18 เดือนที่ต้องอยู่กับภาวะแบบนี้ จนกว่าจะมีวัคซีนป้องกัน ส่วนภาวะเศรษฐกิจลากยาวไม่ต่ำกว่า 2 ปีก่อนฟื้นตัว”
ขณะเดียวกัน นายชยพล หรรรุ่งโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อัลติจูด ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด สะท้อนว่าภายในระยะ 2-3 ปี หากซัพพลายใหม่เข้ามาเติมในตลาดอย่างสมดุล ตลาดคงกลับมาฟื้นตัวดีขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มลูกค้าชนชั้นกลาง ผู้ประกอบการ, กลุ่มเอสเอ็มอี ที่รัฐนำร่องอัดฉีดช่วยเหลือแล้ว โดยเม็ดเงินที่ถูกนำมาหมุนเวียน กอบกู้ต่อยอดธุรกิจนั้น จะกลายเป็นกำลังซื้อสนับสนุนในตลาดที่อยู่อาศัย หลังวิกฤติผ่านพ้นได้
“ช่วยปรับสมดุลสต๊อกของดีเวลอปเปอร์บางราย จากการทยอยนำออกมาขาย พบก่อนหน้าบางส่วนใจแข็ง ไม่ยอมลดราคานาน 1-3 ปี พอสถานการณ์กดดัน มีโควิดเข้ามา ก็ยอมตัดราคาลงมา น่าจะทำให้สต๊อกของตลาดถูกระบายออกไปได้มาก”
นายอภิชาติ จูตระกูล ประธานอำนวยการ บมจ.แสนสิริ ระบุต้องยอมรับว่าตลาดอสังหาฯไทย ยึดโยงกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ ผู้ประกอบการต้องอดทนอีกระยะกับวิกฤติโควิดและต้องปรับตัวให้แรงและเร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดสต๊อกในมือ เพื่อรักษาสภาพคล่องทางการเงิน ขณะการยกระดับที่อยู่อาศัยให้ดีขึ้นในมิติต่างๆ เพื่อตอบสนอง New Normal เป็นสิ่งที่บริษัทกำลังให้ความสำคัญ
“โรคเกี่ยวกับสุขภาพ ผลกระทบใหญ่มองอย่างต่ำ 18 เดือนที่ต้องอยู่กับภาวะแบบนี้ จนกว่าจะมีวัคซีนป้องกัน ส่วนภาวะเศรษฐกิจลากยาวไม่ต่ำกว่า 2 ปีก่อนฟื้นตัว”
ขณะเดียวกัน นายชยพล หรรรุ่งโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อัลติจูด ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด สะท้อนว่าภายในระยะ 2-3 ปี หากซัพพลายใหม่เข้ามาเติมในตลาดอย่างสมดุล ตลาดคงกลับมาฟื้นตัวดีขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มลูกค้าชนชั้นกลาง ผู้ประกอบการ, กลุ่มเอสเอ็มอี ที่รัฐนำร่องอัดฉีดช่วยเหลือแล้ว โดยเม็ดเงินที่ถูกนำมาหมุนเวียน กอบกู้ต่อยอดธุรกิจนั้น จะกลายเป็นกำลังซื้อสนับสนุนในตลาดที่อยู่อาศัย หลังวิกฤติผ่านพ้นได้
“ช่วยปรับสมดุลสต๊อกของดีเวลอปเปอร์บางราย จากการทยอยนำออกมาขาย พบก่อนหน้าบางส่วนใจแข็ง ไม่ยอมลดราคานาน 1-3 ปี พอสถานการณ์กดดัน มีโควิดเข้ามา ก็ยอมตัดราคาลงมา น่าจะทำให้สต๊อกของตลาดถูกระบายออกไปได้มาก”
นายอภิชาติ จูตระกูล ประธานอำนวยการ บมจ.แสนสิริ ระบุต้องยอมรับว่าตลาดอสังหาฯไทย ยึดโยงกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ ผู้ประกอบการต้องอดทนอีกระยะกับวิกฤติโควิดและต้องปรับตัวให้แรงและเร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดสต๊อกในมือ เพื่อรักษาสภาพคล่องทางการเงิน ขณะการยกระดับที่อยู่อาศัยให้ดีขึ้นในมิติต่างๆ เพื่อตอบสนอง New Normal เป็นสิ่งที่บริษัทกำลังให้ความสำคัญ
สำหรับผลวิจัยตลาด คอนโดมิเนียมในกรุงเทพฯ นางนลินรัตน์ เจริญสุพงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เน็กซัส พรอพเพอร์ตี้ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ระบุว่า ช่วงโควิด-19 หลายดีเวลอปเปอร์มีการปรับตัวอย่างหนัก เพื่อป้องกันตัวจากผลกระทบของสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ตลาดคอนโดมิเนียมในกรุงเทพฯไตรมาส 1 ของปีนี้ยังคงมียอดขายอย่างต่อเนื่อง โดยพบว่าไตรมาส 1/2563 มีการเปิดตัวโครงการใหม่เพียง 23 โครงการ จำนวน 7,100 หน่วย ลดลงจากปีที่ผ่านมาถึง 30% แต่ดีเวลอปเปอร์ต้องตัดสินใจเปิดตัวโครงการ เนื่องจากเป็นแผนที่วางไว้ตั้งแต่ปีที่แล้ว
ทั้งนี้พบว่าใน 23 โครงการที่เปิดตัวใหม่นี้ 77% เป็นคอนโดมิเนียมในกลุ่ม Mid-Market และ City Condo มีเพียง 23% เท่านั้นที่เป็นคอนโด มิเนียมในเซ็กเมนต์ระดับไฮเอนด์ขึ้นไปสำหรับยอดขายในไตรมาสแรกพบว่าโครงการใหม่ที่เปิดราคาขายต่ำกว่าราคาตลาดยังคงสามารถทำยอดขายได้ดี และในไตรมาส 2/2563 คาดว่าจะยังไม่เห็นการเปิดตัวโครงการใหม่หรือถ้าเปิดก็คงจะน้อยมากจากสถานการณ์นี้คาดว่า ทั้งปีจะมีการเปิดตัวคอนโดมิเนียมไม่เกิน 30,000 หน่วย
หน้า 19-20 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,752 วันที่ 7 - 9 พฤษภาคม 2563