วันนี้(29มิ.ย.64) สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน จะมีการเสนอที่ประชุมครม.วันนี้ มาตรการเยียวยาโควิด ให้กับลูกจ้าง(ผู้ประกันตน) สูงสุด 9,500 บาท และ นายจ้าง(สถานประกอบการ) ในระบบประกันสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากประกาศ ศบค.ฉบับที่ 25
ซึ่งจะเป็นการเยียวยาเฉพาะในพื้นที่ 6 จังหวัด พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด หรือ พื้นที่สีแดงเข้ม ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร
โดยมาตรการดังกล่าว สำนักงานประกันสังคมเสนอ เพื่ออนุมัติการจ่ายเงินเยียวยาให้กับนายจ้างและลูกจ้าง ในระยะเวลา 1 เดือน วงเงินรวมทั้งหมด 7,500 ล้านบาท แบ่งเป็น เงินจากกองทุนประกันสังคม 3,500 ล้านบาท และ 2.เงินจากพ.ร.ก.กู้เงิน อีก 4,000 ล้านบาท
ซึ่งข้อเสนอสำนักงานประกันสังคม ที่เสนอเข้าครม.จะมี 2 ส่วน คือ ในระบบประกันสังคม และนอกระบบประกันสังคม ดังนี้
ในระบบประกันสังคม
ลูกจ้าง(ผู้ประกันตน)
ดังนั้นผู้ประกันตนในส่วนนี้จะได้รับเงินเยียวยาชดเชยสูงสุดรวม 9,500 บาท
นายจ้าง(ผู้ประกอบการ)
ดังนั้นผู้ประกอบการหรือนายจ้างในส่วนนี้จะได้รับเงินเยียวยารวม 6 แสนบาท หากมีลูกจ้างพนักงานในระบบประกันสังคม 200 คน
นอกระบบประกันสังคม
นายจ้าง(สถานประกอบการ)
ลูกจ้าง
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แถลงเมื่อวันที่ 28 มิ.ย. ที่ผ่านมายืนยันว่า รัฐบาลดูแลประชาชนทุกกลุ่มที่ได้รับผลกระทบในขณะนี้ และจะดำเนินการทุกอย่างอย่างเป็นระบบ รอบคอบรัดกุม เพื่อ ไม่ให้เกิดปัญหาในอนาคต ทั้งนี้มาตรการ ดูแลผลกระทบดังกล่าว จะนำเข้าหารือที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่ 29 มิ.ย. 64
นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวว่า วันนี้ได้มีการหารือกันในส่วนภาครัฐ กระทรวงที่เกี่ยวข้อง บุคลากรทางการแพทย์เพื่อรับฟังความคิดเห็นทุกภาคส่วนก่อนออกมาตรการต่างๆ โดยเฉพาะผู้ได้รับผลกระทบในคัตเตอร์แรงงานและ 6 จังหวัด ตามที่ได้ประกาศออกไป ซึ่งในระยะต่อไปก็จะมีการดำเนินการให้ทั่วถึง ไปยังกิจกรรมอื่นๆ ด้วยเหมือนเช่นที่ผ่านมา รวมทั้งจะมีการพิจารณามาตรการใหม่ๆ ออกมาด้วย ส่วนโครงการคนละครึ่งก็ยังดำเนินการ เป็นไปตามกำหนดที่วางไว้
ด้านนายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แถลงภายหลังการประชุมคณะที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจเพื่อหารือถึงมาตรการเยียวยาประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) เมื่อวันที่ 28 มิ.ย.ว่า ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 25) ที่มีผลบังคับใช้ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ครอบคลุม 6 จังหวัด และ 4 จังหวัดชายแดนใต้ มีธุรกิจที่ได้รับผลกระทบคือ ธุรกิจการก่อสร้าง ที่มีการปิดไซต์งาน และร้านอาหารที่ให้เปิดบริการเฉพาะซื้อกลับไปทานเท่านั้น (Take Away)
ดังนั้น มาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบในระบบประกันสังคมได้ จ่ายชดเชยสิทธิประโยชน์ว่างงานเหตุสุดวิสัยแก่ลูกจ้าง ร้อยละ 50 ของฐานเงินเดือน สุงสุดไม่เกิน 7,500 บาท รวมทั้งภาครัฐยังสมทบเงินเพิ่มเติมทางให้แก่ลูกจ้างในระบบประกันสังคม 2,000 บาทต่อราย กรณีลูกจ้างถูกลดเงินเดือนหรือบางธุรกิจไม่จ่ายเงินเดือน ขณะเดียวกัน นายจ้าง ผู้ประกอบการ ในระบบประกันสังคม จะได้รับเงินช่วยเหลือ 3,000 บาท ต่อจำนวนลูกจ้างในบริษัท สูงสุดไม่เกิน 200 คน เป็นระยะเวลา 1 เดือน
ทั้งนี้ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ยังขอความร่วมมือนายจ้างและลูกจ้างที่อยู่นอกระบบประกันสังคม ลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชัน “ถุงเงิน” เพื่อที่จะได้รับความช่วยเหลือ ให้นายจ้างได้รับเงินช่วยเหลือ 3,000 และลูกจ้างที่มีสัญชาติไทยได้รับเงินช่วยเหลือ 2,000 บาท
สำหรับเงินเยียวยาเหตุสุดวิสัยนั้น ตามกฎหมายประกันสังคมลูกจ้างจะต้องจ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 6 เดือนจึงจะได้รับเงินชดเชยร้อยละ 50 ของฐานเงินเดือน ทำให้ลูกจ้างนอกระบบประกันสังคมจะไม่ได้รับเงินเยียวยาดังกล่าว
สำหรับผู้ประกอบการที่ไม่สามารถขึ้นทะเบียนประกันสังคมได้เนื่องจากไม่มีลูกจ้าง สามารถลงทะเบียนในแอปพลิเคชันถุงเงินผ่านทางโครงการคนละครึ่ง โดยเป็นมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการร้านอาหาร โดยจะได้รับเงินจำนวน 3,000 บาท
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้หารือร่วมกับ สมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างและสมาคมร้านอาหาร ในการจัดอาหารให้แรงงานก่อสร้างในแคมป์ต่าง ๆ และยังมีมาตรการช่วยหลือ SMEs ในระยะถัดไป ซึ่งจะนำเข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไป พร้อมยืนยันไม่เลื่อนโครงการ “คนละครึ่ง” เพื่อเป็นการกระตุ้นการบริโภคในพื้นที่ต่าง ๆ โดยมีการวางกรอบงบประมาณไว้ 4,000 ล้านบาท และประกันสังคม 3,500 ล้านบาท
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :