นายชารัด เมห์โรทรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่นจำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า “แม้ว่าผลกระทบจากการระบาดของโควิด -19 ยังคงมีอยู่ ทำให้ต้องเผชิญกับความท้าทายในการปรับตัวและเติบโต ด้วยการดำเนินงานที่ยืดหยุ่น เรายังคงมุ่งมั่นปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและยึดมั่นแนวทางการดำเนินงานที่ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลางและมอบข้อเสนอที่มุ่งเน้นคุณค่าที่สุด ในขณะที่เพิ่มขีดความสามารถด้านดิจิทัลให้กับลูกค้า เพื่อตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปแม้จะมีปัจจัยความไม่แน่นอน ในเส้นทางสู่การฟื้นตัวของเราในอนาคต แต่เรายังมุ่งเน้นขยายโครงข่ายการให้บริการของดีแทคอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจถึงคุณภาพในการให้บริการและสร้างประสบการณ์ใช้งานความเร็วสูงให้กับลูกค้า ในขณะที่ยังคงรักษาความต่อเนื่องในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล พร้อมทั้งมุ่งเน้นประสิทธิภาพการดำเนินงานเป็นเลิศด้วยนวัตกรรม และการเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต
ตลอดปีที่ผ่านมา บริษัทไม่เพียงนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ที่มีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของลูกค้าซึ่งได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ แต่ยังมีการปรับปรุงการใช้งานออนไลน์ ทั้งสำหรับกลุ่มลูกค้าบุคคลและลูกค้าองค์กร เพื่อช่วยให้ประสบการณ์ใช้งานของลูกค้ายุคใหม่ที่มีความต้องการใช้ข้อมูลจำนวนมากมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ดีแทคตอบสนองความต้องการลูกค้า ด้วยบริการที่เรียบง่ายซื่อสัตย์ และตรงไปตรงมา ในขณะเดียวกันก็รักษาคำมั่นสัญญาที่จะพัฒนาโครงข่ายอย่างต่อเนื่อง ในปี 2563 ดีแทคได้ใช้เทคโนโลยี Massive MIMO เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการใช้งาน 3 เท่า ขยายการให้บริการบนคลื่น 2300 MHz ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างดีแทคและทีโอที ให้ครอบคลุมสถานีฐานมากกว่า 20,000 สถานี และเริ่มเปิดให้บริการคลื่น 700 MHz ซึ่งเป็นคลื่นย่านความถี่ต่ำ ไปยังสถานีฐานกว่า 2,400 แห่งเพื่อขยายพื้นที่ครอบคลุมและพัฒนาประสบการณ์การใช้งานภายในอาคารให้ดียิ่งขึ้น และสร้างสรรค์นวัตกรรมแห่งอนาคต 5G โดยบริษัท ได้ร่วมมือกับพันธมิตรในอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อเปิดตัวการใช้งาน 5G ที่ครอบคลุมแนวคิดสมาร์ทซิตี้ การจัดการน้ำและการจัดการพลังงานอัจฉริยะ
ทั้งนี้ ณ สิ้นปี 2563 ดีแทคมีจำนวนผู้ใช้บริการทั้งหมดอยู่ที่ 18.9 ล้านราย เพิ่มขึ้น173,000 รายจากไตรมาสก่อน จากการฟื้นตัวอย่างช้าๆในกลุ่มลูกค้าชาวไทย โดยมีผู้ใช้บริการลดลง 1.8 ล้านคนในระหว่างปี เป็นผลจากนักท่องเที่ยวและแรงงานต่างด้าวที่หายไปหลังมาตรการปิดประเทศ ซึ่งนําไปสู่ผลกระทบทางเศรษฐกิจที่ยืดเยื้อท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น รายได้จากบริการไม่รวมค่า IC ลดลงร้อยละ 2.0 ในไตรมาส4/2563 จากไตรมาสที่แล้ว และร้อยละ 4.6 ในปี 2563 จากปีก่อน ในขณะที่รายได้จากบริการหลักลดลงร้อยละ 1.3 ในไตรมาส 4/2563 จากไตรมาสที่แล้ว และร้อยละ 2.2 ในปี 2563 จากปีก่อน EBITDA สำหรับปี 2563 มีมูลค่า 30.2 พันล้านบาท และยังคงทรงตัวเมื่อเทียบกับปี 2562 โดยกำไรสุทธิปี 2563 นั้นอยู่ที่ 5.1 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 5.8 เมื่อเทียบกับปีก่อน
นายนกุล เซห์กัล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มการเงิน บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็สคอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค กล่าวว่า “แม้จะมีผลกระทบทางเศรษฐกิจมหภาคต่อธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เราก็ประสบความสำเร็จในการเพิ่มขีดประสิทธิภาพการดำเนินงานด้วยต้นทุนการดําเนินงานและค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหาร (SG&A) ที่ควบคุมได้ดี ในขณะที่เร่งการลงทุนในช่วงครึ่งหลังของปี เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีขึ้นให้กับลูกค้าของเรา วินัยทางการเงินของเราส่งผลให้อัตรากำไรของ EBITDA เพิ่มขึ้นในปีงบการเงิน 2563 ในขณะที่การมุ่งเน้นทำตลาดไปที่กลุ่มลูกค้าชาวไทย ส่งผลให้เกิดการฟื้นตัวของลูกค้าใหม่ที่เพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี”
อย่างไรก็ตามแนวโน้มสำหรับปี 2564 ในส่วนของรายได้จากการให้บริการไม่รวมค่า IC ที่ลดลงในอัตราร้อยละที่เป็นเลขหลักเดียวในระดับต่ำ EBITDA ที่ลดลงในอัตราร้อยละที่เป็นเลขหลักเดียวในระดับต่ำ และค่าใช้จ่ายลงทุน 1.3 -1.5 หมื่นล้านบาท
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เยียวยารอบ 2 ‘ดีแทค’ จัดโปรเน็ตไม่อั้น 79 บาท เริ่ม 16 ม.ค. นี้
‘ดีแทค’ หนุนแรงงานข้ามชาติ พร้อมเพิ่มช่องทางติดตามสถานการณ์โควิด
ลงทะเบียนคนละครึ่งเฟส 2 “ดีแทค” ส่ง OTP ให้ผู้ใช้กว่า 5 แสนครั้งใน 9 นาที