การพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ และขีปนาวุธ ของเกาหลีเหนือในยุคของ “คิม จอง อึน” ที่เชื่อกันกว่ามีพิสัยทําการครอบคลุมแผ่นดินใหญ่บางส่วนของสหรัฐ กลายมาเป็นข้อต่อรองสำคัญที่เกาหลีเหนือใช้เจรจากับสหรัฐ ในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ จนทำให้ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐที่เคยมีท่าทีแข็งกร้าว พร้อมขู่ว่าจะโปรย“ฝนแห่งเปลวเพลิงและความโกรธแค้น”ลงสู่กรุงเปียงยางของเกาหลีเหนือ ในช่วงแรกที่เขาเข้ามารับตำแหน่ง กลายเป็นประธานาธิบดีสหรัฐ คนแรกที่ได้มีโอกาสก้าวเข้าในเขตแดนของเกาหลีเหนือ
“คิม จอง อึน” โคม่า จีนส่งทีมแพทย์เช็กอาการ
นับตั้งแต่นายคิม จอง อึน ขึ้นเป็นผู้นําเมื่อ 2012 จนถึงปี 2018 เกาหลีเหนือได้ทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ไปแล้ว 4 ครั้ง(เดือนกุมภาพันธ 2013 เดือนมกราคม 2016 เดือนกันยายน 2016 และเดือนกันยายน 2017 มากกว่าในยุคนาย คิม จองอิล เป็นผู้นําระยะเวลา 18 ปี มีการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์เพียง 2 ครั้ง ทดสอบขีปนาวุธ 21 ครั้ง
นอกจากนี้ ยังเชื่อกันว่าในยุคคิม จอง อึน เกาหลีเหนือประสบความสําเร็จในการย่อส่วนนิวเคลียร์เพื่อติดตั้งบนหัวรบขีปนาวุธ และสามารถพัฒนาขีปนาวุธข้ามทวีป (ICBM) ซึ่งเชื่อว่าสามารถยิงได้ไกลถึงแผ่นดินสหรัฐ
การกระทําดังกล่าวเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทําให้ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับเกาหลีเหนือเย็นชาลง และจีนได้ปรับนโยบายในการแก้ไขปัญหาอาวุธนิวเคลียร์เกาหลีเหนือโดยการร่วมมือกับสหประชาชาติในการเพิ่มมาตรการคว่ำบาตรมากขึ้น
แม้ว่าในระยะแรกหลังนายคิม จอง อึน ขึ้นเป็นผู้นํา เกาหลีเหนือ ได้มีท่าทีต้องการเจรจาแก้ไขปัญหาอาวุธนิวเคลียร์ โดยเมื่อวันที่ 23-24 กุมภาพันธ์ 2012 เกาหลีเหนือและสหรัฐได้เจรจากันที่กรุงปักกิ่งของจีน
การหารือดังกล่าว สหรัฐยืนยันว่าไม่มีนโยบายที่จะเป็นศัตรูกับเกาหลีเหนือ และพร้อมจะปรับปรุงความสัมพันธกับเกาหลีเหนือบนพื้นฐานของความเคารพในอธิปไตยและความเท่าเทียมกัน นอกจากนี้สหรัฐยังยืนยันในพันธกรณีตามแถลงการณ์ร่วมวันที่ 19 กันยายน 2005
แต่สุดท้ายเกาหลีเหนือก็กลับมาดําเนินโครงการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์อีกครั้งในยุค นายคิม จอง อึน ส่วนหนึ่งมาจากทัศนะต่อภัยคุกคาม (Threat Percep- tion) ของผู้นํา เกาหลีเหนือ อันเนื่องมาจากสถานการณ์ระหว่างประเทศในขณะนั้น
กล่าวคือเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2011 เหตุการณ์ Arab Spring ซึ่งประชาชนในภูมิภาคตะวันออกกลางออกมาเรียกร้องเสรีภาพจากผู้นําอํา นาจนิยม ได้แพร่ขยายมาถึงลิเบีย ส่งผลให้ประชาชนออกมาชุมนุมต่อต้านพันเอกกัดดาฟี จนเหตุการณ์ลุกลาม เป็นสงครามกลางเมือง
ต่อมาเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2011 UNSC ได้ออกข้อมติที่1973/2011 ให้กําหนดเขตห้ามบิน เหนือลิเบีย สหรัฐ อังกฤษ และฝรั่งเศส จึงปฏิบัติการโจมตีลิเบียทางอากาศเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2011 ส่งผลให้พันเอกกัดดาฟีถูกกองกําลังฝ่ายตรงข้ามจับกุม และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2011
เหตุการณ์ในลิเบียส่งผลให้เกาหลีเหนือเห็นว่าการที่ลิเบีย ซึ่งยกเลิกโครงการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ไปแล้ว แต่ยังคงถูกกลุ่มประเทศตะวันตกใช้กําลังโจมตี เป็นการยืนยันว่าการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์เท่านั้นที่จะสามารถปกป้องเกาหลีเหนือได้
นอกจากนี้การทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ดังกล่าวอาจมีเป้าหมายเพื่อสร้างเกียรติภูมิของนายคิม จอง อึน ในฐานะผู้นํา เกาหลีเหนือคนใหม่ที่มีความชอบ-ธรรมทางการเมือง รวมทั้งแสดงให้ผู้นําคนใหม่ของจีนคือประธานาธิบดีสี จิ้นผิงและประธานาธิบดีโอบามา ซึ่งได้รับเลือกตั้งเข้ามาสมัยที่ 2 ได้รับรู้ถึงท่าทีแข็งกร้าวของเกาหลีเหนือ
แต่การกระทำดังกล่าวกลับสร้างความสัมพันธ์ที่เย็นชาลงระหว่างจีนกับเกาหลีเหนือ เห็นได้จากจํานวนการเยือนระหว่างกันของผู้นําจีนกับเกาหลีเหนือ โดยตั้งแต่นายสี จิ้นผิง ขึ้นเป็นผู้นําจีน เมื่อ 2012 ถึง 2018 เป็นระยะเวลา 7 ปี ไม่มีการพบปะกันระหว่างประธานาธิบดี สี จิ้นผิง กับประธานาธิบดีคิม จอง อึน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 7 ปีก่อนหน้านี้คือ 2005-2011 ที่อดีตประธานาธิบดีหูจิ่น เทา พบกับคิม จอง อิล อดีตผู้นํา เกาหลีเหนือถึง 5 ครั้ง
ขณะที่ความสัมพันธ์ของเกาหลีเหนือในยุค คิม จอง อึน กับสหรัฐ ในยุคประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ช่วงแรกสหรัฐมีท่าทีแข็งกร้าวต่อเกาหลีเหนือมากขึ้น โดยประกาศว่ายุคแห่งการอดทนทางยุทธศาสตร์ (Strategic Patience) ได้สิ้นสุดลงแล้ว และหากจีนไม่เร่งแก้ไขปัญหาเกาหลีเหนือ สหรัฐพร้อมที่จะกระทําการฝ่ายเดียว โดยสหรัฐ “มีทางเลือกทุกทางอยู่บนโต๊ะ” (All options are on the table)
นอกจากนี้ สหรัฐยังส่งกองเรือบรรทุกเครื่องบิน USS Carl Vin- son ไปยังคาบสมุทรเกาหลีเมื่อเดือนเมษายน 2017 ส่งผลให้เกิดความหวั่นเกรงว่าสหรัฐอาจเลือกที่จะใช้กําลังทหารแก้ไขปัญหานิวเคลียร์เกาหลีเหนือ
ท่าทีดังกล่าวของสหรัฐ เป็นผลมาจากการที่เกาหลีเหนือประสบความสําเร็จในการทดสอบขีปนาวุธข้ามทวีป รุ่น Hwasong-14 ซึ่งถือเป็นภัยคุกคามต่อสหรัฐอย่างยิ่ง เนื่องจากเชื่อกันว่าขีปนาวุธดังกล่าวมีพิสัยทําการครอบคลุมแผ่นดินใหญ่บางส่วนของสหรัฐ
ส่งผลให้ประธานาธิบดี ทรัมป์ กล่าวว่า หากเกาหลีเหนือโจมตีสหรัฐ สหรัฐจะโปรย “ฝนแห่งเปลวเพลิงและความโกรธแค้น” (Fire and Fury) ลงสู่กรุงเปียงยางของเกาหลีเหนือ รวมทั้งปรากฏกระแสข่าวว่าคณะเสนาธิการร่วมกองทัพสหรัฐกําลังร่างแผนการโจมตีเกาหลีเหนือแบบจํากัด
ส่วนเกาหลีเหนือได้ขู่ตอบโต้ว่าจะโจมตีเกาะในสหรัฐ ทำให้สถานการณ์บนคาบสมุทรเกาหลีทวีความตึงเครียดขึ้นอย่างมาก โดยเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2017 ประธานาธิบดีทรัมป์ได้กล่าวต่อที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติว่า สหรัฐจะทําลายเกาหลีเหนืออย่างสิ้นเชิง หากเกาหลีเหนือยังคงท้าทายสหรัฐด้วยอาวุธนิวเคลียร์ และกล่าวถึงนายคิม จอง อึนว่าเป็น “มนุษย์จรวด” (Rocket Man) ที่กําลังนํา พาตนเองและประเทศชาติไปสู่หายนะ
ขณะที่ประธานาธิบดีคิม จอง อึน แถลงตอบโต้เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2017 ว่าตนกําลังพิจารณาที่จะตอบโต้ประธานาธิบดี ทรัมป์ ซึ่งเป็น"คนเสียสติ" (Dotard) อย่างรุนแรงที่สุด ขณะที่นาย Ri Yong Ho รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของเกาหลีเหนือขู่ว่า เกาหลีเหนืออาจทดลองอาวุธนิวเคลียร์ครั้งต่อไปในมหาสมุทรแปซิฟิก โดยประธานาธิบดีคิม จอง อึน จะเป็นผู้พิจารณาในขั้นสุดท้าย
ส่วนจีนแม้จะเพิ่มการลงโทษเกาหลีเหนือมากขึ้น แต่จีนเองก็ยังไม่ละทิ้งแนวทางสร้างปฏิสัมพันธ์ ทั้งความพยายามฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน แต่ความพยายามฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับเกาหลีเหนือมักหยุดชะงักลงจากการที่เกาหลีเหนือยังคงทดลองอาวุธนิวเคลียร์และขีปนาวุธเป็นระยะ รวมทั้งไม่มีการเจรจาระดับสูง ตามที่จีนคาดหวัง
ต่อมาเมื่อเข้าสู่ปี 2018 บรรยากาศบนคาบสมุทรเกาหลีเริ่มผ่อยคลายความ ตึงเครียดลง เมื่อเกาหลีเหนือปฏิบัติการรุกด้วยเสน่ห์ โดยเริ่มจากการที่นายคิม จอง อึน กล่าวสุนทรพจน์เนื่องในวันปีใหม่ว่าพร้อมจะเจรจากับเกาหลีใต้
ตามด้วยการส่ง นายคิม ยอง นัม ประธานสภาประชาชนสูงสุด และนางสาวคิม ยอ จอง น้องสาวของนายคิม จอง อึน นําคณะนักกีฬาไปร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวที่เกาหลีใต้
อีกเรื่องที่สร้างความฮือฮาไปทั่วโลกในยุคนายคิม จอง อึน นั่นก็คือการประชุมสุดยอดเกาหลีเหนือ-สหรัฐ ที่สิงคโปร์ ในวันที่ 12 มิถุนายน 2018 โดยผลการประชุมออกมาในรูปของแถลง-การณ์ร่วม ซึ่งมีสาระสํา คัญคือสหรัฐตกลงที่จะรับประกันความมั่นคงให้เกาหลีเหนือ และเกาหลีเหนือยืนยันในพันธกรณีตามปฏิญญาปันมุนจอม โดยจะผลักดันให้มีการทําให้คาบสมุทรเกาหลีปลอดนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์
“แถลงการณ์ร่วม” “สหรัฐฯ-เกาหลีเหนือ” ครั้งประวัติศาสตร์
ประธานาธิบดีทรัมป์ ยังแถลงข่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นที่มีการหารือกับประธานาธิบดี คิม จอง อึน ระบุว่าการยกเลิกมาตรการคว่ำ บาตรต่อเกาหลีเหนือ จะเกิดขึ้นเมื่อมีความคืบหน้าของกระบวนการยุตินิวเคลียร์ และสหรัฐจะพิจารณาที่จะระงับการซ้อมรบร่วมกับ เกาหลีใต้ชั่วคราว รวมทั้งกล่าวถึงโอกาสที่จะถอนกองกําลังสหรัฐในเกาหลีใต้ออก
นอกจากนี้ยังกล่าวถึงโอกาสที่จะเชิญผู้นําเกาหลีเหนือเยือนสหรัฐในอนาคต รวมทั้ง กล่าวชื่นชมและขอบคุณประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ที่ให้ความช่วยเหลือจนทําให้การประชุมสุดยอดประสบความสําเร็จ และหวังว่าจีนกับสหรัฐจะยังคงความร่วมมือระหว่างกันต่อไป
การประชุมดังกล่าวทําให้ความตึงเครียดบนคาบสมุทรเกาหลี และเอเชียตะวันออกลดลงอย่างมาก ตรงกันข้ามกับสถานการณ์เมื่อ 2017 ที่เกาหลีเหนือและสหรัฐต่างข่มขู่จะใช้กําลังต่อกันจนทําให้หลายฝ่ายกังวลถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดสงครามนิวเคลียร์ขึ้น
นอกจากการประชุมสุดยอดเกาหลีเหนือ-สหรัฐ ที่สิงคโปร์ในวันที่ 12 มิถุนายน 2018 นายคิม จอง อึน ยังได้พบปะและประชุมกับ ประธานาธิบดีทรัมป์ อีก 2 ครั้งในเวลาต่อมา กล่าวคือ เมื่อเดือน ก.พ. 2019 ในการประชุมสุดยอดสหรัฐ-เกาหลีเหนือครั้งที่สองที่กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม
ล่มยก 2!! ไร้ข้อตกลง 'ทรัมป์' เค้นเกาหลีเหนือ ปลดอาวุธนิวเคลียร์ต้อง "ทั้งหมด"
ล่าสุดเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2019 ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้เดินทางเยือนเขตปลอดทหาร (Demilitarized Zone - DMZ) ระหว่างเกาหลีเหนือ-เกาหลีใต้ เพื่อพบปะกับนายคิม จอง อึน และประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ก็กลายเป็นประธานาธิบดีสหรัฐคนแรก ที่ได้มีโอกาสก้าวเข้าในเขตแดนของเกาหลีเหนือ หลังจากเขาได้พบกับ คิม จอง อึน
ขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของเกาหลีเหนือกับจีนในช่วงหลังก็ดีขึ้น เห็นได้จากการที่ประธานาธิบดี คิม จอง อึน เดินทางเยือนจีนและพบกับประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ทั้งก่อนและหลังการประชุมสุดยอดเกาหลีเหนือ-ใต้
รวมทั้งการที่นายคิม จอง อึน เดินทางด้วยเครื่องบินของจีนไปร่วมการประชุมสุดยอดที่สิงคโปร์ แสดงให้เห็นว่าเกาหลีเหนือพยายามฟื้นฟูความสัมพันธกับจีนเพื่อเพิ่มอํานาจต่อรอง ก่อนที่จะเข้าประชุมกับเกาหลีใต้และสหรัฐ
ขณะที่จีนแม้ไม่มีการยืนยันอย่างเป็นทางการ แต่มีความเป็นไปได้สูงว่าการฟื้นฟูความสัมพันธระหว่างจีนกับเกาหลีเหนือ เป็นปัจจัยสําคัญที่ทําให้เกาหลีเหนือยอมกลับเข้าสู่การเจรจาและผ่อนคลายท่าทีแข็งกร้าวลง
เรียบเรียงจาก จุลสารความมั่นคงศึกษา เรื่องความสัมพันธ์จีน-เกาหลีเหนือ: ประเด็นปัญหาอาวุธนิวเคลียร์