รมว.อุตสาหกรรมเผย กนอ. ว่าจ้างสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยศึกษาพื้นที่ถมทะเล 3 พันไร่ท่าเรือแหลมฉบัง ชี้หากเป็นประโยชน์ต่อประเทศ และเศรษฐกิจก็น่าจะต้องเดินหน้า แต่หากไม่คุ้มค่าการลงทุนก็ต้องถอย
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยถึงประเด็นความคืบหน้าของการขอพื้นที่เพื่อรองรับการลงทุนของกลุ่มเอ็กซอน โมบิล คอร์ปอเรชั่น โครงการปิโตรเคมีส่วนขยายในพื้นที่บริเวณท่าเรือแหลมฉบัง ประมาณ 1 แสนไร่ มูลค่า 3.3 แสนล้านบาทนั้น ขณะนี้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ได้มีการดำเนินการว่าจ้างสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ปิโตรเลียม ซึ่งมีความชำนาญทางด้านดังกล่าว ให้ศึกษาถึงความเป็นไปได้ของโครงการ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม และผลตอบแทนว่าจะคุ้มทุนหรือไม่ หากผลการศึกษาออกมาเป็นไปในทิศทางที่ดี ทำแล้วมีประโยชน์ต่อประเทศชาติ และเศรษฐกิจจึงค่อยเดินหน้าต่อ
“กระแสเรื่องการต่อต้านการถมทะเล ในความคิดเห็นส่วนตัวมองว่าเหรียญย่อมมี 2 ด้านเสมอ หากผลการศีกษาออกมาว่าการดำเนินการทุกอย่างทำเพื่อประเทศชาติ และทำให้เศรษฐกิจไทยเดินหน้าต่อไปได้ มีความคุ้มค่ากับการลงทุนก็น่าจะต้องเดินหน้าต่อ แต่หากผลการศึกษาระบุว่ามีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากเกินไป ไม่คุ้มทุน ไม่เกิดประโยชน์ก็ยกเลิก โดยทุกอย่างต้องขอรอผลการศึกษา ซึ่งทุกอย่างเราทำตามกฎหมาย”
สำหรับการถมทะเลนั้น ประเทศไทยเองก็เคยทำมาก่อน เช่นเดียวกับประเทศสิงคโปร์ และฮ่องกง โดยมองว่าเทคโนโลยีเองก็ก้าวหน้าไปมากในยุคปัจจุบัน ซึ่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมคงจะมีแน่นอน แต่ประเด็นก็คือจะมีการควบคุมอย่างไรให้กระทบน้อยที่สุด แต่สิ่งที่จะตามมาก็คือผลต่อเศรษฐกิจจากการจ้งงาน ยกตัวอย่างเช่น การลงทุนสร้างโรงงาน 3 แสนล้านบาท จะต้องมีการใช้หิน ปูน ทราย และอุปกรณ์ต่างๆ อีกท้งยังทำให้เกิดการจ้างงานกว่า 1 หมื่นราย เพราะฉะนั้น จะต้องมีการพิจารณาในภาพรวม เพื่อประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศ
“เงื่อนไขต่างๆ ในการถมทะเล ทางเอ็กซอนฯเองก็ต้องจ่าย เพาะเราไม่ได้ถมให้ฟรี และไม่ใช่เฉพาะแค่เอ็กซอนฯเท่านั้น หากบริษัทอื่นที่จะเข้ามาลงทุนเราก็เปิดกว้าง โดยเอ็กซอนฯต้องการพื้นที่ 1.5 พันไร่ เรามองว่าน่าจะถมให้ได้พื้นที่ 3 พันไร่ เพื่ออุตสาหกรรมประเภทอื่นที่ใช้เทคโนโลยีสูง ถ้าถมแล้วเป็นประโยชน์กับเศรษฐกิจก็น่าจะต้องดำเนินการ โดยทุกประเทศต่างก็ต้องการให้นักลงทุนเข้ามาลงทุน โดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่ ซึ่งรับบบาลก็จะต้องพิจารณาดูว่าสิ่งที่บรัทเหล่านั้นนำเสนอมามีความเหมาะสมอย่างไร หรือมีกฎหมายรองรับหรือไม่ โดยพื้นที่ที่เอ็กซอนฯต้องการขยาย ก็เพราะเป็นการทำอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากโรงกลั่น หากไม่สร้างใกล้กันก็จะไม่เกิดประโยชน์”
นางสาวสมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการ กนอ. กล่าวว่า การถมทะเลมีหลายรูปแบบ ได้แก่ 1.กนอ.ดำเนินการเอง ,2.ลงทุนร่วมกับเอกชน และ3.เอกชนดำเนินการ โดยจะต้องดูว่ารูปแบบไหนที่เป็นประโยชน์ต่อรัฐที่สุด ซึ่งเดิมทีประเทศมีการถมทะลในการดำเนินโครงการท่าเรือมาบตาพุดเฟส 1 และ 2 ที่ กนอ. เป็นผู้ดำเนินการถมทะเล เพราะตามกฎหมายระบุว่าผู้ที่จะดำเนินการได้จะต้องเป็นรัฐบบาลเท่านั้น