กลุ่มเซรามิกส.อ.ท.มึน มาตรการระงับการให้สิทธิ GSP ของสหรัฐอเมริกา หลัง 25 เม.ย63 จะทำให้ ผลิตภัณฑ์เซรามิก มีผลกระทบเป็นมูลค่า 4,185 ล้านบาทต่อปี
นายอำนาจ ยะโสธร เลขาธิการกลุ่มอุตสาหกรรมเซรามิก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.)เปิดเผย"ฐานเศรษฐกิจ"ว่าการที่ สหรัฐอเมริกาประกาศจะระงับการให้สิทธิภายใต้ โครงการสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการ ทั่วไป (Generalized System of Preferences - GSP) แก่ไทย มีผลบังคับใช้ 25 เมษายน 2563 นั้น ทำให้ผลิตภัณฑ์เซรามิกมีผลกระทบเป็นมูลค่า 4,185 ล้านบาทต่อปี และมีผลกระทบกับมูลค่าการส่งออก เซรามิกของไทยเฉลี่ยสูงกว่า 20% ของมูลค่าส่งออกไปยังทั่วโลก โดยผลิตภัณฑ์เซรามิกที่มี ผลกระทบมากสุดคือเครื่องสุขภัณฑ์เซรามิกส่งออกไปยังสหรัฐฯมูลค่า 1,949.42 ล้านบาท หรือ 32% ของมูลค่าส่งออกของไทยไปยังทั่วโลก, เครื่องใช้ บนโต๊ะอาหารเซรามิกส่งออกไปยังสหรัฐฯมูลค่า1,182.82 ล้านบาท หรือ 23% ของมูลค่าส่งออกของไทยไปยังทั่วโลก และรูปปั้นขนาดเล็กและของเซรามิกประดับอื่นๆส่งออกไปยังสหรัฐฯ มูลค่า 129 ล้านบาท หรือ 24% ของมูลค่าส่งออก ของไทยไปยังทั่วโลก
อำนาจ ยะโสธร
ปัจจุบันอุตสาหกรรมเซรามิกประสบปัญหาหลายด้านอยู่แล้ว เช่น อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเป็นอย่างมาก ทำให้สินค้าเซรามิกที่นำเข้าจากต่างประเทศมีราคาถูกลงและสินค้าของไทยที่ นำไปจำหน่ายยังต่างประเทศประสบปัญหามากขึ้น, วัตถุดิบในประเทศมีคุณภาพลดลง แต่มีราคาสูงขึ้น, ขาดแคลนวัตถุดิบที่มีคุณภาพเหมาะสมสำหรับการผลิตเซรามิก, ต้ นทุนการผลิต อื่นๆ สูงขึ้น เป็นต้น ซึ่งผลกระทบดังกล่าว จะทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันลดลงและเมื่อทางสหรัฐอเมริกาจะระงับการให้สิทธิภายใต้ โครงการสิ ทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (GSP) ยิ่งเป็นการซ้ำเติมต่ออุตสาหกรรมเซรามิก จึงขอให้ภาครัฐช่วยแก้ไขปัญหาโดยในส่วนของ ประเทศไทย ขอให้ ภาครัฐออกมาตรการใช้ ผลิตภัณฑ์เซรามิกที่ผลิตในประเทศ,ส่งเสริมการใช้สินค้าไทย(Made in Thailand), มีมาตรการป้องกันสินค้าเซรามิกด้อยคุณภาพจากต่างประเทศที่เข้ามาจำหน่ายในประเทศ เป็นต้น
ส่วนการส่งออก ขอให้ภาครัฐแก้ไขปัญหาสิทธิ GSP ของสหรัฐอเมริกา, ช่วยควบคุมค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพโดยไม่แกว่งค่ามากนัก (บวก,ลบ0.50 บาท/USD) แต่ถ้าเป็นไปได้ ก็ขอให้ค่าเงินบาทอยู่ในช่วง 31-33 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐฯ, เร่งเจรจา FTA เพื่อเปิดตลาดกับประเทศเป้าหมาย