นายวิรัช ปิยพรไพบูลย์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมสับปะรดไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” สถานการณ์สับปะรดผลผลิตไม่มีเลย จากปกติในช่วงนี้ปริมาณที่ออก 7,000-8,000 ตัน แต่ตอนนี้เหลือแค่ 2,000 ตัน ไม่มีสินค้าที่จะผลิตส่งออก ส่วนราคาประมาณ 5-6 บาท/กิโลกรัม วันนี้ราคาที่ซื้อ 14-15 บาท/กิโลกรัม จะไม่ไหวก็ไม่ได้เพราะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาแล้วเป็นวิกฤติที่เกิดจากภัยธรรมชาติ จากราคานี้ตลาดก็ไม่สู้ราคา เป็นวิกฤติที่ไม่เคยรุนแรงเท่านี้มาก่อนเลย ประกับมาเจอไวรัสโควิด-19 หรือไวรัสโคโรนาอีก เรียกว่า "ผีซ้ำด้ามพลอย" “ทุกวันนี้ทำอะไรไม่ได้ต้องประคองกันไป ลดกำลังการผลิตลง และคนงานก็จ้างน้อยลง แต่ว่าโรงานไม่แน่ใจว่าจะสู้ได้อีกนานแค่ไหน เพราะต่างประเทศไม่รับราคานี้”
นายวิรัช กล่าวว่า “ประจวบคีรีขันธ์” จัดว่าเป็นเมืองหลวงของสับปะรดเลยก็ว่าได้ เพราะมีพื้นที่ปลูกสับปะรดมากที่สุดในไทย และยังเป็นพืชเศรษฐกิจส่งออกมากที่สุดในประเทศ ประสบภัยแล้งมา 3 เดือนแล้ว โดยเฉพาะ อ.ปราณบุรี อ.สามร้อยยอด อ.บางสะพานน้อย และ อ.กุย ควรจะประกาศเป็นเขตภัยแล้งได้แล้ว”
สอดคล้องนายอานนท์ โลดทนงค์ รองประธานสภาเกษตรกรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ คนที่ 1 ดูแลรับผิดชอบเรื่องสับปะรดโรงงาน กล่าวว่า ราคาสูงแต่ไม่มีผลผลิตคาดวาจะเสียหายจากภัยแล้งมากกว่า 50% เพราะภัยแล้ง อย่างปีหน้าคาดการณ์ผลผลิตคาดว่าจะไม่ถึงล้านตัน ราคานี้สูงสุดในรอบ 5 ปีก็ว่าได้ แต่ไม่มีของ ราคาขึ้นไปก็ไม่มีประโยชน์
“สับปะรดพืชไร่ที่มีการเก็บเกี่ยวตลอดปี แต่จะมีช่วงไม่มีผลผลิตประมาณ 2 เดือน ก็คือ กรกฎาคมถึงสิงหาคม แต่ปีนี้เสียหายต้นไม่โตเท่าที่ควรเผลอยืนต้นตายด้วย หลายคนเห็นแค่ราคาก็คิดกันไปไกลว่าเกษตรกรรวยแน่ แต่ไม่ใช่อย่างที่คิด อย่างราคาที่มาได้เพราะโรงงานตอนเปิดการผลิตราคาเริ่มต้น 8-9 บาท/กิโลกรัมแล้ว เรียกกว่า แย่งซื้อกันเลยทีเดียว