เมืองขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนเต็มพื้นที่ ส่งผลให้จังหวัดใหญ่ ต่างเร่งลงทุนรถไฟฟ้ารางเบา วิ่ง ให้บริการเพื่อลดความแออัด ร่นระยะเวลาเดินทาง จากปริมาณจราจร ที่ทวีความรุนแรง ขณะเดียวกันยังสร้างความเจริญให้กับพื้นที่
นายธีรพันธ์ เตชะศิรินุกูล รองผู้ว่าการ (กลยุทธ์และแผน) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยในฐานะประธานจัดการประชุมเพื่อทดสอบความสนใจ (Market Sounding) ครั้งที่ 2 ของภาคเอกชน (กลุ่มนักลงทุนและผู้ประกอบการ) ในขั้นตอนการศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ และจัดเตรียมเอกสารประกวดราคา โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์) ซึ่งมีผู้แทนภาคเอกชน ทั้งในและต่างประเทศเข้าร่วมกว่า 100 คน ว่า สำหรับโครงการรถไฟฟ้ารางเบาจังหวัดนครราชสีมา มูลค่า 7,115.48 ล้านบาท จะนำผลจากการประชุมครั้งนี้ไปใช้พิจารณาประกอบการจัดทำแนวทางการให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการต่อไป ขณะเดียวกันเตรียมดำเนินการจ้างที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียดความเหมาะสมและจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ภายในเดือนกันยายน 2563 หลังจากนั้นจะเสนอต่อคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ภายในปีนี้ คาดว่าจะเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบภายในเดือนพฤษภาคม 2564 จะเริ่มเปิดคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุน ภายในปีกลาง 2564 หลังจากนั้นจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างภายในเดือน ส.ค.2565 คาดว่าจะเปิดให้บริการภายในปี 2568
ขณะเดียวกัน แทรมจังหวัดนครราชสีมา มูลค่าโครงการ 7,115.48 ล้านบาท แบ่งเป็นค่างานจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 1,180.21 ล้านบาท ค่างานก่อสร้างโยธา 2,254 ล้านบาท ค่างานระบบไฟฟ้า 2,260.36 ล้านบาท ค่างานจัดหาขบวนรถไฟฟ้า 995.54 ล้านบาท ค่าจ้างที่ปรึกษาบริหารและควบคุมงานก่อสร้าง. 176.59 ล้านบาท คาดว่าจะมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการจำนวน 24,266 ล้านบาท ระยะเวลา 30 ปี ซึ่งมีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) 13.11% เบื้องต้นรัฐลงทุนค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ส่วนเอกชนลงทุนค่าก่อสร้างงานโยธา, งานระบบรถไฟฟ้าและเครื่องกลค่าขบวนรถไฟฟ้า และค่าใช้จ่ายในการให้บริการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุง โดยเอกชนได้รับรายได้จากค่าโดยสารและกิจกรรมเชิงพาณิชย์ หากมีกำไรเกินกว่ากำหนดต้องส่งคืนให้รัฐตามข้อตกลงร่วมกัน ขณะที่การจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินของโครงการฯ จะใช้งบประมาณ 1,200 ล้านบาท มีการเวนคืนที่ดินประมาณ 17 แปลง ใช้พื้นที่จัดทำเป็นศูนย์ซ่อมบำรุง (เดปโป้) ประมาณ 25 ไร่ รวมทั้งจุดจอดแล้วจร
นายธีระพันธ์ กล่าวต่อว่า ด้านการประมาณรายได้นั้น จะเสนอการจัดเก็บค่าโดยสารในรูปแบบตามระยะทาง อัตราค่าบริการ 10+1 กิโลเมตร (กม.) หรือ ค่าโดยสารอยู่ที่ 11-20 บาทต่อคนต่อเที่ยว ทั้งนี้จะปรับลดให้เหลือสูงสุดไม่เกิน 20 บาทต่อคนต่อเที่ยว เพื่อให้เป็นราคาที่ใกล้เคียงกับระบบขนส่งในจังหวัดนครราช สีมา และดึงดูดให้ประชาชนมาใช้บริการ จะมีผู้โดยสารมาใช้บริการประมาณ 9,900 คนต่อวัน และเกือบ 30,000 คนต่อวันในปี 2597
ทั้งนี้โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา เป็นหนึ่งในโครงการที่ รฟม. ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ให้ดำเนินการในรูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP Netcost) โดยจะเริ่มก่อสร้างในเส้นทาง สายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์) เป็นลำดับแรก โครงการนี้ได้รับการออกแบบให้เป็นระบบรถรางไฟฟ้า (Tram) ระยะทางประมาณ 11.15 กิโลเมตร มีสถานีรับ-ส่งผู้โดยสาร 21 สถานี ได้แก่ สถานีมิตรภาพ 1 สถานีสามแยกปักธงชัย สถานีมิตรภาพ 2 สถานีองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ สถานีสวนภูมิรักษ์ สถานีหัวรถไฟ สถานีเทศบาลนคร สถานีศาลเจ้าวัดแจ้ง สถานีโพธิ์กลาง สถานีอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี สถานีแยกประปา สถานีโรงเรียนสุรนารีวิทยา สถานีราชภัฏฯสถานีราชมงคล สถานีบ้านเมตตา สถานีบ้านนารีสวัสดิ์ สถานีชุมพล สถานีศาลากลางจังหวัดนครราช สีมา สถานีไปรษณีย์จอมสุรางค์ สถานีวัดแจ้งใน และสถานีดับเพลิง
สำหรับความคืบหน้าโครงการแทรม จ.ภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ระยะทาง 42 กม. วงเงิน 3.5 หมื่นล้านบาท อยู่ระหว่างการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องอีกครั้งถึงแนวเส้นทางการเดินรถ คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายใน 1-2 เดือน จะนำเสนอต่อคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ภายในปีนี้ หลังจากนั้นจะจัดที่ปรึกษาออกแบบความเหมาะสมและจัดทำทีโออาร์ภายในต้นปี 2564 คาดว่าเปิดประมูลให้เอกชนร่วมลงทุนภายในปี 2564 และเปิดให้บริการภายในปี 2569
ขณะที่ความคืบหน้าโครง การแทรม จังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง (โรงพยาบาลนครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี) ระยะทาง 15.8 กม. วงเงิน 2.7 หมื่นล้านบาทนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องเช่นเดียวกันกับโครงการแทรมภูเก็ตและแทรมนครราชสีมา คาดว่าจะเสนอให้บอร์ด รฟม. พิจารณาได้ภายในปีนี้เช่นกัน และจะเสนอให้ ครม.พิจารณาไม่เกินกลางปี 2564 เช่นเดียวกับแทรมโคราช หลังจากนั้นจะเปิดประมูลภายในปี 2564 เริ่มดำเนินการก่อสร้างภายในปี 2565 และสามารถเปิดให้บริการได้ภายในปี 2571
“เรายอมรับว่าในส่วนของแทรมเชียงใหม่นั้น มีความยากในการก่อสร้างบริเวณการขุดเจาะอุโมงค์ใต้ดินเพื่อทำแนวเส้นทาง เนื่องจากมักจะพบปัญหาทางเทคนิคค่อนข้างเยอะ เช่น ต้องมีปล่องระบายอากาศในชั้นใต้ดิน ขณะที่การก่อสร้างแนวเส้นทางบนดินสามารถทำได้ง่ายกว่า” ทั้งนี้โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา เป็นหนึ่งในโครงการที่ รฟม. ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ให้ดำเนินการในรูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP Netcost) โดยจะเริ่มก่อสร้างในเส้นทาง สายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์) เป็นลำดับแรก โครงการนี้ได้รับการออกแบบให้เป็นระบบรถรางไฟฟ้า (Tram) ระยะทางประมาณ 11.15 กิโลเมตร มีสถานีรับ-ส่งผู้โดยสาร 21 สถานี ได้แก่ สถานีมิตรภาพ 1 สถานีสามแยกปักธงชัย สถานีมิตรภาพ 2 สถานีองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ สถานีสวนภูมิรักษ์ สถานีหัวรถไฟ สถานีเทศบาลนคร สถานีศาลเจ้าวัดแจ้ง สถานีโพธิ์กลาง สถานีอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี สถานีแยกประปา สถานีโรงเรียนสุรนารีวิทยา สถานีราชภัฏฯสถานีราชมงคล สถานีบ้านเมตตา สถานีบ้านนารีสวัสดิ์ สถานีชุมพล สถานีศาลากลางจังหวัดนครราช สีมา สถานีไปรษณีย์จอมสุรางค์ สถานีวัดแจ้งใน และสถานีดับเพลิง
สำหรับความคืบหน้าโครงการแทรม จ.ภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ระยะทาง 42 กม. วงเงิน 3.5 หมื่นล้านบาท อยู่ระหว่างการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องอีกครั้งถึงแนวเส้นทางการเดินรถ คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายใน 1-2 เดือน จะนำเสนอต่อคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ภายในปีนี้ หลังจากนั้นจะจัดที่ปรึกษาออกแบบความเหมาะสมและจัดทำทีโออาร์ภายในต้นปี 2564 คาดว่าเปิดประมูลให้เอกชนร่วมลงทุนภายในปี 2564 และเปิดให้บริการภายในปี 2569
ขณะที่ความคืบหน้าโครง การแทรม จังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง (โรงพยาบาลนครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี) ระยะทาง 15.8 กม. วงเงิน 2.7 หมื่นล้านบาทนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องเช่นเดียวกันกับโครงการแทรมภูเก็ตและแทรมนครราชสีมา คาดว่าจะเสนอให้บอร์ด รฟม. พิจารณาได้ภายในปีนี้เช่นกัน และจะเสนอให้ ครม.พิจารณาไม่เกินกลางปี 2564 เช่นเดียวกับแทรมโคราช หลังจากนั้นจะเปิดประมูลภายในปี 2564 เริ่มดำเนินการก่อสร้างภายในปี 2565 และสามารถเปิดให้บริการได้ภายในปี 2571
“เรายอมรับว่าในส่วนของแทรมเชียงใหม่นั้น มีความยากในการก่อสร้างบริเวณการขุดเจาะอุโมงค์ใต้ดินเพื่อทำแนวเส้นทาง เนื่องจากมักจะพบปัญหาทางเทคนิคค่อนข้างเยอะ เช่น ต้องมีปล่องระบายอากาศในชั้นใต้ดิน ขณะที่การก่อสร้างแนวเส้นทางบนดินสามารถทำได้ง่ายกว่า” ทั้งนี้โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา เป็นหนึ่งในโครงการที่ รฟม. ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ให้ดำเนินการในรูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP Netcost) โดยจะเริ่มก่อสร้างในเส้นทาง สายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์) เป็นลำดับแรก โครงการนี้ได้รับการออกแบบให้เป็นระบบรถรางไฟฟ้า (Tram) ระยะทางประมาณ 11.15 กิโลเมตร มีสถานีรับ-ส่งผู้โดยสาร 21 สถานี ได้แก่ สถานีมิตรภาพ 1 สถานีสามแยกปักธงชัย สถานีมิตรภาพ 2 สถานีองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ สถานีสวนภูมิรักษ์ สถานีหัวรถไฟ สถานีเทศบาลนคร สถานีศาลเจ้าวัดแจ้ง สถานีโพธิ์กลาง สถานีอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี สถานีแยกประปา สถานีโรงเรียนสุรนารีวิทยา สถานีราชภัฏฯสถานีราชมงคล สถานีบ้านเมตตา สถานีบ้านนารีสวัสดิ์ สถานีชุมพล สถานีศาลากลางจังหวัดนครราช สีมา สถานีไปรษณีย์จอมสุรางค์ สถานีวัดแจ้งใน และสถานีดับเพลิง
สำหรับความคืบหน้าโครงการแทรม จ.ภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ระยะทาง 42 กม. วงเงิน 3.5 หมื่นล้านบาท อยู่ระหว่างการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องอีกครั้งถึงแนวเส้นทางการเดินรถ คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายใน 1-2 เดือน จะนำเสนอต่อคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ภายในปีนี้ หลังจากนั้นจะจัดที่ปรึกษาออกแบบความเหมาะสมและจัดทำทีโออาร์ภายในต้นปี 2564 คาดว่าเปิดประมูลให้เอกชนร่วมลงทุนภายในปี 2564 และเปิดให้บริการภายในปี 2569
ขณะที่ความคืบหน้าโครง การแทรม จังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง (โรงพยาบาลนครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี) ระยะทาง 15.8 กม. วงเงิน 2.7 หมื่นล้านบาทนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องเช่นเดียวกันกับโครงการแทรมภูเก็ตและแทรมนครราชสีมา คาดว่าจะเสนอให้บอร์ด รฟม. พิจารณาได้ภายในปีนี้เช่นกัน และจะเสนอให้ ครม.พิจารณาไม่เกินกลางปี 2564 เช่นเดียวกับแทรมโคราช หลังจากนั้นจะเปิดประมูลภายในปี 2564 เริ่มดำเนินการก่อสร้างภายในปี 2565 และสามารถเปิดให้บริการได้ภายในปี 2571
“เรายอมรับว่าในส่วนของแทรมเชียงใหม่นั้น มีความยากในการก่อสร้างบริเวณการขุดเจาะอุโมงค์ใต้ดินเพื่อทำแนวเส้นทาง เนื่องจากมักจะพบปัญหาทางเทคนิคค่อนข้างเยอะ เช่น ต้องมีปล่องระบายอากาศในชั้นใต้ดิน ขณะที่การก่อสร้างแนวเส้นทางบนดินสามารถทำได้ง่ายกว่า”
หนังสื่อพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับหน้า 7 ฉบับ 3606
อ่าวข่าวที่เกี่ยวข้อง