นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แถลงวันนี้ (30ธ.ค.63) ว่า ตามที่มีผลการการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อผลงานของรัฐบาล ประจําปี พ.ศ. 2563 ท่ามกลางการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง การถดถอยของ เศรษฐกิจ และเหตุการณ์อื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของประชาชนอย่างต่อเนื่อง จํานวนทั้งสิ้น 4,121 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 21 – 25 ธันวาคม 2563 ประชาชนร้อยละ 62.11% พอใจภาพรวมผลงานและการทํางานของรัฐบาล
ส่วนกระทรวงที่ประชาชนพอใจกับผลงานและการทำงานมากที่สุดได้แก่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 65.62% ซึ่งเป็นการสำรวจความเห็นโดยศูนย์นวัตกรรมดิจิทัล วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัย ราชภัฏสวนสุนันทา หรือ RIDC โพลและประขาชนยังโหวตให้ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ เป็นรัฐมนตรีที่มีผลงานดีเด่นท็อปเทนของประเทศนั้น ถือเป็นการให้ความสำคัญกับภาคเกษตรกรรมและเป็นการให้กำลังใจต่อกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน ขอแสดงความขอบคุณพี่น้องประชาชน และรัฐบาลที่ให้การสนับสนุน และยืนยันว่าพร้อมทุ่มเททำงานหนักร่วมกับทุกภาคีภาคส่วนเพื่ออนาคตที่ดีขึ้นของเกษตรกรไทยและประเทศชาติ
โดยในปี 2564 จะขับเคลื่อนการทำงานด้วย 5 ยุทธศาสตร์ และ 15 แนวทางนโยบายหลักได้แก่
1. ยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิตเป็นยุทธศาสตร์หลักเพื่อปฏิรูปภาคเกษตรทั้งในรูปแบบ ตลาดออนไลน์ (แพลตฟอร์มรายสินค้าเพื่อรองรับ New Normal) ตลาดออฟไลน์ Modern Trade รถโมบาย ตลาดสด คาราวานสินค้า เกษตรพันธสัญญา และเคาน์เตอร์เทรด จัดกิจกรรมจับคู่ธุรกิจผู้ซื้อกับผู้ขาย เพื่อสร้างเครือข่ายธุรกิจ
2. ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีเกษตร4.0 เพื่อการบริหารราชการแผ่นดินการบริการประชาชนและการพัฒนาภาคเกษตรกรรมโดยการใช้เทคโนโลยีตลอดห่วงโซ่อุปทานและมูลค่า(Supply-Value Chain)ตั้งแต่การผลิต การแปรรูปจนถึงการตลาด
3. ยุทธศาสตร์ “3 s”(Safety-Security-Sustainability-เกษตรปลอดภัย เกษตรมั่นคงและเกษตรยั่งยืน)
4. ยุทธศาสตร์การบริหารเชิงรุกแบบบูรณาการกับทุกภาคส่วนโดยเฉพาะโมเดล”เกษตร-พาณิชย์ทันสมัย”
5. ยุทธศาสตร์เกษตรกรรมยั่งยืนตามแนวทางศาสตร์พระราชา
โดยมีแนวทางนโยบาย 15 ด้าน
1. นโยบาย”ตลาดนำการผลิต”เป็นนโยบายหลักโดยเพิ่มช่องทางตลาดให้หลากหลาย ทั้งในรูปแบบ ตลาดออนไลน์ (แพลตฟอร์มรายสินค้าเพื่อรองรับ New Normal) ตลาดออฟไลน์ โมเดิร์นเทรด(Modern Trade) รถโมบาย ตลาดสด ตลาดชุมชน คาราวานสินค้า เกษตรพันธะสัญญา และเคาน์เตอร์เทรด จัดกิจกรรมจับคู่ธุรกิจผู้ซื้อกับผู้ขาย เพื่อสร้างเครือข่ายธุรกิจ โดยร่วมมืออย่างเข้มข้นกับกระทรวงพาณิชย์ภายใต้โมเดล”เกษตร-พาณิชย์ทันสมัย”
2. การสร้างความเข้มแข็งให้แก่สถาบันเกษตรกรและเศรษฐกิจฐานรากโดยส่งเสริมให้เกษตรกรมีการแลกเปลี่ยนความรู้ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน สามารถเชื่อมโยง เครือข่ายเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทําให้มีอํานาจต่อรอง ในการซื้อขายผลผลิต ส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์เกษตรชุมชน เชื่อมโยงกับตลาดชุมชน/ตลาดเกษตรกร ตลาดสีเขียว(Green Market)และการท่องเที่ยวเชิงเกษตร สร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนภายในชุมชน รวมทั้งพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ สามารถ ช่วยเหลือสมาชิกเกษตรกร เอื้อให้เกิดการพัฒนาในพื้นที่ ทั้งสังคม ชุมชน วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติใหเ้ข้มแข็งและยั่งยืน
3. การส่งเสริมสถาบันเกษตรกร ผู้ประกอบการ และ Start up เป็นหน่วยธุรกิจ ให้บริการทางการเกษตร (Agricultural Service Providers: ASP) เพื่อยกระดับสู่การ ให้บริการทางการเกษตร เช่น เทคโนโลยีในการดูแลรักษา รถจักรกลในการเตรียมดินและ การเก็บเกี่ยว สําหรับให้บริการแก่พี่น้องเกษตรกรแบบครบวงจร
4. การส่งเสริมเกษตรพันธสัญญา (Contract Farming) เพื่อสร้างความไว้วางใจและ ความร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพการผลิตอย่างยั่งยืน ระหว่างเกษตรกรกับ ผู้ประกอบการ และร่วมกันยกระดับคุณภาพผลผลิต และแก้ปัญหาผลผลิตล้นตลาด
5. การพัฒนาศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC) เป็นแหล่งรวบรวมองค์ความรู้ ด้านเทคโนโลยีทางการเกษตร สนับสนุนและส่งเสริมเทคโนโลยีเกษตร การประดิษฐ์ นวัตกรรม รวมทั้งเครื่องจักรกลเกษตรที่เหมาะสมกับพื้นที่ของแต่ละจังหวัด โดยเชื่อมโยง การทํางานกับ ศพก. เพื่อยกระดับสู่การทําเกษตรสมัยใหม่ และเกษตรแบบแม่นยํา (Precision Agriculture)
6. การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ด้านการเกษตร เพื่อตอบสนองต่อโซ่อุปทาน ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะการค้าสินค้าเกษตรออนไลน์ที่ขยายตัวต่อเนื่อง เพื่อรักษา คุณภาพสินค้าเกษตรให้มีความสดใหม่ และถึงมือผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว รวมถึงพัฒนาระบบ เชื่อมโยงทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่ออํานวยความสะดวกในการส่งออกและนําเข้าสินค้าเกษตร
7. การบริหารจัดการน้ําอย่างเป็นระบบ มีการกระจายน้ําอย่างเหมาะสมและทั่วถึง รวมทั้งพัฒนาแหล่งน้ําในไร่นาของเกษตรกรและชุมชน เพื่อให้เกษตรกรมีน้ําเพียงพอ สําหรับใช้ในการอุปโภคบริโภคและทําการเกษตร ตลอดจนป้องกันและบรรเทาปัญหา อุทกภัย
8. การบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม เพื่อให้เกษตรกรสามารถใช้ประโยชน์ จากที่ดินได้ตรงตามศักยภาพของที่ดิน และสอดคล้องกับความต้องการของตลาดมากที่สุด โดยกําหนดเขตความเหมาะสมในการทําการเกษตรในแต่ละพื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพ ในการผลิตสูงสุดผ่านข้อมูล Agri-Map
9. การส่งเสริมศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) เพื่อบ่มเพาะ เกษตรกรให้เป็น Smart Farmer ผ่านการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต การบริหารจัดการ และการตลาดแก่เกษตรกร รวมทั้งให้บริการทางวิชาการ และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในพื้นที่ โดยมีเกษตรกรต้นแบบเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ และเป็นกลไกในการบูรณาการการทํางานของ หน่วยงานต่าง ๆ ในการแก้ปัญหาและพัฒนาการเกษตรในระดับพื้นที่
10. การประกันภัยพืชผลให้ความคุ้มครองความเสียหายหรือความสูญเสียต่อพชืผล ที่เอาประกันภัย ซึ่งเกิดจากภัยต่าง ๆ เช่น น้ําท่วม ภัยแล้ง ลมพายุ ลูกเห็บตก เป็นต้น ซึ่งจะช่วยสร้างเสถียรภาพทางรายได้และความมั่นคงในอาชีพให้แก่เกษตรกร รวมถึง การให้ความช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรที่ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างทันท่วงที
11. การส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน เพื่อเป็นภูมิคุ้มกัน และสร้างความมั่นคงแก่ เกษตรกร ได้แก่ เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรผสมผสาน เกษตรอินทรีย์ เกษตรธรรมชาติ และวนเกษตร ด้วยการลด ละ เลิก การใช้สารเคมี ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรรับรู้เกี่ยวกับ การใช้สารเคมีอย่างถูกต้อง และมีการพัฒนาอาหารของไทยให้เป็นรูปแบบอาหารที่ ปลอดภัยและมีกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อตอบสนองต่อความต้องการ สินค้าเกษตรปลอดภัยใน 5ร อันได้แก่ โรงเรียน โรงแรม โรงพยาบาล เรือนจํา และ ร้านอาหาร
12. การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ที่มี เอกลักษณ์เฉพาะถิ่น สร้างแบรนด์ให้กับสินค้าเกษตรอัตลักษณ์ ส่งเสริมการแปรรูปสินค้า จากความหลากหลายทางชีวภาพ เช่น สมุนไพร แมลงเศรษฐกิจ ส่งเสริมสินค้าเกษตรที่มี ศักยภาพทางด้านการตลาดในอนาคต ทั้งสินค้าอาหารอนาคต (Future Food) และสินค้า เกษตรที่ตอบสนองผู้บริโภคเฉพาะกลุ่ม (Functional Food) รวมทั้งสินค้าเกษตรเพื่อพลังงานและอุตสาหกรรมแห่งอนาคต
13. การวิจัยและพัฒนา เพื่อตอบสนองการพัฒนาภาคเกษตรของประเทศไทย บนพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อนํามาประยุกต์ใช้ให้เกิด ประโยชน์สูงสุดต่อเกษตรกรและผู้บริโภค
14. การพัฒนาฐานข้อมูล Big Data ในการใช้ประโยชน์และเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนกับหน่วยงานต่าง ๆเพื่อการบริหารและช่วยให้เกษตรกรมีข้อมูลที่ดีและเพียงพอต่อการตัดสินใจที่ถูกต้องและเหมาะสมเพื่อการผลิตและการจำหน่ายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์
15. การประกันรายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมันและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์