ส่องความคืบหน้ารถไฟส่วนต่อขยายสายสีแดง ช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ ถึงไหนแล้ว

25 มิ.ย. 2564 | 10:51 น.

“คมนาคม” จับมือ มธ. เร่ง รฟท.เดินหน้าโครงการรถไฟส่วนต่อขยายสายสีแดง ช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ ลุยงานด้านโยธา-ระบบราง คาดเปิดให้บริการปี 68 เล็งจัดรถไฟดีเซลรางเดินรถเชื่อมต่อระหว่างสถานีรังสิต-เชียงรากน้อย เข้ามธ.

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการหารือแนวทางการพัฒนาพื้นที่ก่อสร้างสถานีรถไฟ โครงการรถไฟส่วนต่อขยายสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต - มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ว่า  เบื้องต้นที่ประชุมในครั้งนี้ทั้ง 2 ฝ่ายเห็นสมควรดำเนินการพัฒนาร่วมกัน ดังนี้  ได้สั่งการให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เร่งรัดการดำเนินโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ส่วนต่อขยายช่วงรังสิต - มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต โดยเร่งดำเนินการงานโยธาและระบบรางเป็นลำดับแรกก่อน คาดว่าจะสามารถปิดให้บริการได้ ภายในปี 2568

 

ส่องความคืบหน้ารถไฟส่วนต่อขยายสายสีแดง ช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ ถึงไหนแล้ว

 ทั้งนี้ในช่วงการก่อสร้างการก่อสร้าง รฟท.จะจัดรถไฟดีเซลรางเดินรถเชื่อมต่อระหว่างสถานีรังสิต-สถานีเชียงรากน้อย เพื่อรองรับการเดินทางไปมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ไปก่อน โดยคาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ในช่วงเดือนธันวาคม 2564  ขณะเดียวกันในส่วนของกรมทางหลวง (ทล.) ได้พิจารณาปรับปรุงโครงข่ายถนนบริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในเบื้องต้นแล้ว รวมทั้งมีแผนการพัฒนาในอนาคตด้วย

 

 

นายศักดิ์สยาม  กล่าวต่อว่า  ได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อพัฒนโครงข่ายการคมนาคมบริเวณพื้นที่รังสิต เพื่อพิจารณาผลักดันการดำเนินการไปสู่เป้าหมายดังกล่าว ต่อไปเพื่อให้การพัฒนาโครงข่ายถนนและการคมนาคมบริเวณพื้นที่รังสิต เป็นไปด้วยความสะดวก ปลอดภัย และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนในภาพรวม  รวมทั้งได้มอบหมายให้กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) พิจารณาความเป็นไปได้ที่จะปรับแนวเส้นทางการเดินรถเพื่อรองรับพื้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต เนื่องจากมีนักศึกษาและประชาชนจำนวนมากมาใช้บริการของมหาวิทยาลัยและโรงพยาบาล

 

 

ทั้งนี้ได้มอบหมายให้สนข.พิจารณายกร่างบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อผลักดันความร่วมมือระหว่างกันให้เกิดผลในทางปฏิบัติ รวมทั้งตกลงในหลักการที่จะร่วมกันพัฒนาบุคลาการด้านอุตสาหกรรมระบบราง โดยอาจขยายผลไปถึงการพัฒนาบุคลากรด้านการขนส่งอื่นๆ เช่น ด้านพาณิชยนาวี เป็นต้น โดยทั้งสองฝ่ายจะได้หารือในรายละเอียดถึงกรอบความร่วมมือในครั้งถัดไป   

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง