ระดมขายออนไลน์“ลำไย-มังคุด”ส่งถึงบ้านหนีโควิด

28 ก.ค. 2564 | 08:33 น.
อัปเดตล่าสุด :28 ก.ค. 2564 | 15:54 น.

 เชียงใหม่เปิดตัว “Chiang Mai Premium” เว็ปไซต์แหล่งรวมผลผลิตเกษตรดี คุณภาพมาตรฐาน ประเดิมหนุนคนกินลำไยที่กำลังทะลัก ตลาด ด้านชุมพรจับมือเครือข่ายเกษตร ทำคิวอาร์โค้ดให้สั่งซื้อมังคุด ส่งถึงบ้าน ปลอดภัยในยุคโควิด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 26 ก.ค.2564 นายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดการรณรงค์การบริโภคลำไยคุณภาพและของดีจังหวัดเชียงใหม่ ปี 2564 โดยถ่ายทอดสัญญาณทางระบบออนไลน์ จากห้องประชุม 3 ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ มายังหอประชุมโรงแรมเชียงใหม่ออร์คิด มีนายเขมวรรณ ดวงจันทร์ เกษตรจังหวัดเชียงใหม่ หัวหน้าส่วนราชการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยจำกัดผู้ร่วมงานไม่เกิน 50 คน
  นายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่

ลำไยเป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ มุ่งพัฒนาผลผลิตเป็นลำไยคุณภาพ เกรดพรีเมี่ยม และมีมาตรฐานการผลิต การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good
Agricaltural Practices : GAP) ผลิตในระบบส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่ และมีแผนกระจายผลผลิตลำไย โดยร้อยละ 40 เป็นลำไยบริโภคสดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่เหลือร้อยละ 60 เป็นลำไยแปรรูป ซึ่งผลผลิตลำไยจะออกตลาดมากสุดในช่วงเดือนส.ค.-ก.ย.นี้
 

จังหวัดเชียงใหม่จึงบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตลำไยแปลงใหญ่ กลุ่ม Young Smart farmer ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เชียงใหม่ และหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วม กันจัดทำเว็บไซต์ chiangmaipre
mium.com เพื่อเป็นช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าเกษตรของจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีคุณภาพระดับพรีเมี่ยม มาตรฐานปลอดภัยระดับ GAP ในระบบตลาดออนไลน์ และเป็นการกระจายผลผลิตลำไยของเกษตรกร สู่ผู้บริโภคโดยตรง ภายใต้โครงการรณรงค์การบริโภคลำไยคุณภาพและของดี จังหวัดเชียงใหม่ ปี 2564
  ระดมขายออนไลน์“ลำไย-มังคุด”ส่งถึงบ้านหนีโควิด

ระดมขายออนไลน์“ลำไย-มังคุด”ส่งถึงบ้านหนีโควิด

โดยเริ่มกับสินค้าลำไยกับกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตลำไยแปลงใหญ่ของจังหวัดเชียงใหม่ ที่เข้ามาร่วมเป็นโครงการนำร่อง จำนวน 11 กลุ่มมีผลผลิตไม่น้อยกว่า จำนวน 3,000 ตัน หรือ จำนวน 300,000 กิโลกรัม มูลค่าสินค้าไม่น้อยกว่า 65 ล้านบาท ซึ่งหวังให้เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่สามารถช่วยเกษตรกร อย่างยั่งยืนต่อไป
 

เชียงใหม่มีพื้นที่ปลูกลำไยเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ จำนวน 452,503 ไร่ มีมากในอำเภอพร้าว เชียงดาว แม่วาง ฮอด ดอยเต่า สารภี หางดง สันป่าตอง และอำเภอจอมทอง ปี 2564 มีผลผลิตลำไยในฤดู จำนวน 260,000 ตัน คิดเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่า 4,000 – 5,000 ล้านบาท

 

มีแผนกระจายผลผลิต โดยร้อยละ 40 เป็นลำไยบริโภคสดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่เหลือร้อยละ 60 เป็นลำไยแปรรูป เช่น ลำไยอบแห้งทั้งเปลือก ลำไยอบแห้งเนื้อสีทอง ลำไยกระป๋อง และอื่น ๆ

โดยปกติเกษตรกรจะส่งผลผลิตลำไยจำหน่ายให้ล้งและผู้ประกอบการ แต่จากภาวะการระบาดเชื้อโควิด-19 ไม่สามารถซื้อขายผลผลิตได้ตามปกติ จึงต้องเร่งหาช่องทางตลาดใหม่ ๆ เพื่อกระจายผลผลิตไปนอกพื้นที่สู่มือผู้บริโภค
  ระดมขายออนไลน์“ลำไย-มังคุด”ส่งถึงบ้านหนีโควิด

ระดมขายออนไลน์“ลำไย-มังคุด”ส่งถึงบ้านหนีโควิด

ส่วนที่จังหวัดชุมพร ผลผลิตมังคุดเริ่มออกตลาดจำนวนมากเช่นกัน ปีนี้จังหวัดชุมพรร่วมกับหอการค้าชุมพร รณรงค์การขายมังคุดให้เกษตรกรชาวจังหวัดชุมพร โดยจัดทำคิวอาร์โค้ดเพื่อการสั่งซื้อผ่านทางระบบออนไลน์ โดยบรรจุกล่อง (จำนวน 13-19 ลูกต่อกิโลกรัม) ขนาด 5 กิโลกรัม ราคา 250 บาท และ 10 กิโลกรัม ในราคา 480 บาท ฟรีค่าส่ง ส่งตรงถึงมือผู้บริโภคเช่นกัน
 

ขณะที่พาณิชย์จังหวัดชุมพร จับมือเครือข่ายกลุ่มมังคุดชุมพร จัดจำหน่ายมังคุดคุณภาพ เบอร์ 3 (เบอร์ดำดอก) ราคา 20 บาท /กิโลกรัม ที่หน้าที่ว่าการอำเภอเมืองชุมพร ระหว่าง 12.00-17.00 น. ตั้งแต่ 27 ก.ค.2564 นี้

ระดมขายออนไลน์“ลำไย-มังคุด”ส่งถึงบ้านหนีโควิด

หน้า 2 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 41 ฉบับที่ 3,700 วันที่ 29-31 กรกฎาคม พ.ศ.256