พลิกย้อนเหตุการณ์ไป เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ที่ผ่าน ไลน์แอพลิเคชั่นของสมาคม สมาคมผู้ประกอบการส่งออกทุเรียน มังคุด (DMA) มีมติ ประกาศหยุดรับซื้อทุเรียน-มังคุด ตั้งแต่ในวันที่ 18 สิงหาคม 2564 เป็นต้นไป จนกว่าสมาชิกสมาคมทุกล้ง จะปลอดภัยจากเชื้อ "โควิด-19" หรือจนกว่าสมาชิกทุกล้งจะได้รับการฉีดวัคซีนก่อนที่ทางจีนจะสั่งระงับการส่งออกทั้งหมด ซึ่งในการประกาศของสมาคม ไม่ใช่ครั้งแรก
“ฐานเศรษฐกิจ” แกะรอยการประกาศที่หยุดซื้อทุเรียนครั้งแรกเกิดขึ้นที่ผลไม้ภาคตะวันออก เมื่อวันที่ 8-15 เม.ย.นี้ ล่าสุดเกิดขึ้น เป็นที่ครั้งสอง ผู้สื่อข่าว จึงได้สัมภาษณ์ “ภาณุวัชร์ ไหมแก้ว” นายกสมาคมผู้ประกอบการส่งออกทุเรียน มังคุด อย่างตรงไปตรง ถึงเหตุผล เกิดอะไรขึ้น
นายภาณุวัชร์ กล่าวว่า สรุปผลการประชุมกับคณะกรรมการระดับจังหวัดชุมพร สถานะปัจจุบัน กล่าวคือ โรงคัดบรรจุ หรือ “ล้ง” ให้ดำเนินธุรกิจปกติ มีการซื้อขาย แล้วต้องแก้ไขปัญหาของล้งเองดูแลกันเอง ระวังกันเอง ปกป้องกันเอง ให้ซื้อภาคเกษตรเหมือนเดิม แต่ว่าหากติดเชื้อโควิด หรือพนักงานติดเชื้อ ติดโรคก็ต้องดูแลกักขังตัวเอง ดูแลในล้งไป คนป่วย ก็ให้สาธารณะสุขจังหวัดมารับไป
“ก่อนที่สมาคมจะประกาศศหยุดรับซื้อทุเรียน-มังคุด ตั้งแต่ในวันที่ 18 สิงหาคม 2564 เป็นต้นไปนั้น ในตอนนั้นมีการซื้อของในวันที่ 16 และ 17 สิงหาคม มีซื้อเท่าไรให้ใส่ตู้คอนเทรนเนอร์ให้หมด วันที่ 18 สิงหาคม ให้ทำความสะอาด วันที่ 19 ส.ค.ก็เปิดซื้อได้ หรือถ้าใครหยุดแล้วทำความสะอาดเร็วก็ซื้อได้เลย แต่ให้ทำความสะอาดฆ่าเชื้อทั้งหมด ดูแลเรื่องสุขอนามัย เน้นความสะอาดเป็นหลัก อย่าให้ติดเชื้อไปติดตู้คอนเทรนเนอร์ แต่ทั้งนี้ก็ให้ขึ้นอยู่กับเถ้าแก่ถ้าสั่งให้ซื้อก็ซื้อ แต่ถ้ามีใครติดเชื้อไป อาจจะโดนระงับ DOA ได้ ทางการจีนก็จะสั่งระงับใบอนุญาตส่งออก 14 วัน หรือ 2 เดือน หรือ 3 เดือน จะแจ้งกลับมาทันที
ส่วนเงื่อนไขที่สมาชิกจะได้รับการฉีดวัคซีน เป็นที่ทราบเป็นเรื่องยาก แต่ไม่ได้บีบ กดดันทางรัฐบาล และทางจังหวัด ซึ่งการที่สมาคมขอก็ไม่ได้ขอฟรี ปัจจุบันมีสมาชิกว่า 600 ล้ง มีบุคลากรกว่า 1 หมื่นคน สมาคมขอไป 2 หมื่นโดส ก็ไม่มีการตอบรับเลย ที่ผ่านมาสมาคมก็ช่วยเหลือโรงพยาบาลต่างๆที่เดือดร้อนได้เข้าไปช่วยทุกกรณี แต่ถึงเวลาสมาคมเดือดร้อน มีความจำเป็นไม่มีใครดูแลเลย
พอถึงเวลาสมาคมจะหยุดรับซื้อ ก็หาว่าสมาคมฮั๊วกันอะไรกัน แต่ไม่เคยนึกเลยว่า เคยคิดบ้างไหมว่าพวกผมเป็นมนุษย์ ชีวิตมีค่าเทียบเท่าทุกคน หยุดแบบนั้นผมจะหยุดทำไม ธุรกิจผมกำลังเดิน วันหนึ่งรายได้มากกว่า 5 แสนบาท แต่ที่เราเดินต่อไม่ได้ เราเป็นห่วงเรื่องสุขอนามัย และเรื่องสุขภาพของบุคลากร ผมบอกได้เลยว่าหลังสวน ชุมพร ตอนนี้ติดเชื้อโควิดเยอะมากแต่ไม่รู้ว่าอยู่ล้งไหนกันบ้าง ปะปนกันไปหมดแล้ว ถ้ามีมาตรการเชิงรุกจริง จังหวัดชุมพร แดงเข้มแล้ว
นายภาณุวัชร์ กล่าวว่า รู้สึกน้อยใจ เป็นเรื่องธรรมดา ที่ผ่านมาทางสมาคมทำงานช่วยเหลือสังคมมาโดยตลอด แต่พวกผมจะถูกด่าถูกต่อว่า เป็นแพะให้กับระบบราชการ นักการเมืองหรืออะไรก็แล้วแต่ หากกันได้ครั้งแรกที่สมาคมประกาศหยุดรับซื้อวันที่ 8-15 เม.ย.นี้ เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ผลไม้ภาคตะวันออก ไม่ใช่เรื่องตัดทุเรียนอ่อน แต่ต้นเหตุจริงมาจาก “GMP” ไม่เพียงพอ โดนระงับ”
“ในขณะนั้น สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 (สวพ.6) ก็อ้างว่า ไม่มี “GMP” ล้งขอไม่ได้ ทั้งทีไปขอซื้อทุเรียนจากพี่น้องเกษตรกรมาแล้ว 3 ตู้ ตู้ละ 3.9 ล้านบาทต่อวัน แล้วส่งออกไม่ได้ แล้วจะนำเงินที่ไหนไปซื้อต่อ ก็ขอให้ปลดล็อก "GMP" ก็ไม่ปลดล็อก ทำให้สมาคม ไปต่อไม่ได้ เราถึงต้องมีประกาศหยุดรับซื้อทุเรียน ภาคตะวันออก นี่คือเหตุผลที่แท้จริง แต่ถ้าในเรื่อง "ทุเรียนอ่อน" พวกผมใครจะไปประกาศหยุดรับซื้อ พวกผมไม่กล้าหรอก”
“วันนี้ราคาทุเรียน กก.ละ 100 บาท วันนี้ฝีมือใครไม่ใช่พวกผมหรือ หน่วยงานรัฐควรสร้างบุคลากรที่ดีขึ้นมาสนับสนุน ไม่ใช่มากีดกัน เป็นคนละเรื่องหรือไม่ เมื่อเปรียบเทียบลำไย วันนี้โดนระงับไปกี่ล้ง นี่คือเรื่องอะไร จะให้ทุเรียนเป็นเหมือนลำไย หรือ แล้วถ้าทุเรียนเป็นเหมือนลำไยวันไหน แล้วใครเดือดร้อน คนที่เดือดร้อนก็คือพี่น้องเกษตรกร แล้วคนที่พูด ภาพดูดีมาก วันนี้ผมมีสวนทุเรียนกว่า 500 ไร่ บางคนที่ประกอบอาชีพล้งมีกว่า 1,000 ไร่ แต่คนที่พูดไม่มีสักแปลง สักต้นเลย ได้แต่พูด”
นายภานุวัชร์ กล่าวว่า “ตอนที่ผมโดนจีนสั่งระงับผมไม่ได้บอกใครเลย ระงับเสร็จ ตกใจ ก็สั่งหยุดทันที ขนลูกน้องร้อยกว่าชีวิตไปตรวจโควิดให้หมด แล้วก็สั่งขนของทั้งหมดในล็อตนี้ไปจันทรบุรี แล้วถ้าวันนั้นไม่ได้เตรียมความพร้อม กลายเป็นว่าจะต้องถูกระงับไปถึง 14 วัน ในระหว่างก็แก้ปัญหาได้นำใบผลตรวจโควิดพนักงานทั้งหมดไปที่ด่าน แล้วแจ้งให้ทราบว่าลูกน้องไม่ติดโควิดเลย ก็แค่ระงับ 7 วัน จึงได้มาส่งออกปกติ นี่คือประสบการณ์จริง
“ผมจะหยุดรับซื้อไปเพื่ออะไร รายได้ของบริษัท มากกว่า 5 แสนบาทต่อวัน แต่ที่เราหยุด เพื่อป้องกันเพราะจีนท้วงติงมาเมื่อไร และหากเกิดขึ้นกับ “ทุเรียน” บ้าง จะทำอย่างไร วันนี้มีตลาดรองรับหรือไม่ ปัจจุบันก็มีตลาดที่ประเทศจีนเพียงอย่างเดียว แล้วถ้าเล่นแง่กับเรา ตูมเดียว จะไปไหน แล้วพี่น้องเกษตรกรที่โค่นปาล์มน้ำมัน ยางพารา สารพัดโค่นพืชชนิดอื่น หันมาปลูกทุเรียนกันหมดแล้ว ตั้งคำถามว่าจะให้โค่นทุเรียนอีกหรือ ทำไมไม่มีความคิดที่จะปกป้อง ให้อยู่รอดปลอดภัย ต้องให้ยั่งยืน มีใครคิดบ้าง"