โครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล แนวส่งน้ำยวม-เขื่อนภูมิพล ใช้งบกว่า 7 หมื่นล้าน ล่าสุดคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ(กก.วล.)ที่มีพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานมีมติเห็นชอบรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ) โครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพลเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2564 ที่ผ่านมานั้น
ทั้งนี้ในสาระของโครงการดังกล่าวเกิดจากปริมาณน้ำในแหล่งน้ำต้นทุนที่ลดลง ส่งผลให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ปัจจุบันการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาในปัจจุบันพึ่งพา 2 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์) เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำได้ฝนระดับหนึ่ง
ต่อจากกรณีดังกล่าวนั้น นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน เผยว่า หลังจากที่ จากนี้กรมชลประทานก็จะเริ่มดำเนินการตามขั้นตอนการเตรียมความพร้อมของโครงการเพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายน้ำแห่งชาติ(กนช.)เพื่อพิจารณาต่อไปคาดว่าจะสามารถทำรายละเอียดเสนอได้ประมาณปลายปี 2565
ทั้งนี้ขั้นตอนการดำเนินการประกอบด้วย การลงสำรวจพื้นที่โครงการเพื่อกำหนดขอบเขตการขอใช้พื้นที่ และทำเรื่องเสนอต่อกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.)เพื่อขอใช้พื้นที่ทั้งของกรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช(อช.) ตามขั้นตอนของกฎหมายที่เกี่ยวข้องเมื่อแล้วเสร็จขั้นตอนนี้จึงจะเสนอ กนช.เพื่อพิจารณาและเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติโครงการ
ด้านนายสุเทพ คงมาก นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย กล่าวว่า ขอบคุณรัฐบาลและดีใจที่โครงการนี้ผ่านกรรมการสิ่งแวดล้อมฯเพราะต่อสู้ในเรื่องการเพิ่มน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพลกันมานานเนื่องจากทุกภาคส่วนรู้ว่าน้ำคือสิ่งสำคัญและฝนไม่ได้ตกตามฤดูกาลหรือตกมากเหมือนเมื่อก่อนมีความแปรปรวนของสภาพอากาศ
"มีความคิดเห็นว่าเป็นโครงการสำคัญที่รัฐจะต้องดำเนินการอย่างจริงจังเพราะเกษตรกรไม่สามารถทำอะไรได้หากขาดน้ำ และไม่ใช่เฉพาะการเกษตร ทุกสาขาอาชีพก็ต้องการใช้น้ำ ซึ่งในส่วนของเครือข่ายชาวนาได้ร่วมงานกับมหาวิทยาลัยนเรศวรในการลงพื้นที่และร่วมในเวทีการรับฟังความเห็นของโครงการตั้งแต่เริ่มต้นโครงการแล้วก็เห็นด้วย แล้วในโครงการนี้จะมีการผันน้ำในช่วงฤดูฝนจะไม่กระทบต่อการใช้ลุ่มน้ำยวม
ขณะที่นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ อดีตกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรนํ้า พ.ศ. .... กล่าวว่า กรณีดังกล่าวนี้เป็นการผันน้ำข้ามลุ่มน้ำ แล้วยังขุดอุโมงค์ยาว 61 กิโลเมตร เคยมีที่ไหน แล้วมาบอกว่าทำแค่ 4 ปี ฝันกลางวันหรือไม่ อุโมงค์กว้าง 8 เมตร นึกภาพ รถยนต์ 2 คันวิ่งสวนกันได้ ปัจจุบันค่าวัสดุก่อสร้าง อิฐหิน เหล็ก ปรับราคาใหม่หมดแล้วเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าตัว จากงบประมาณเมือ 3 ปีที่แล้วคาดว่าจะใช้ใช้กว่า 7 หมื่นล้านจะเพียงพอหรือไม่
ส่วนค่าไฟฟ้าที่ใช้สูบน้ำปีละ 2,500 ล้านบาท น้ำที่ขึ้นไปต่อหน่วย ราคามากกว่า 1.20 บาท แล้วจะเอาน้ำมาใช้ทำนา คุ้มค่าหรือไม่ อีกทั้ง ในโครงการนี้จะให้ประเทศจีนไปก่อสร้าง แล้วแจ้งว่าจะใช้เวลาแค่ 4 ปี ฝันกลางวันหรือไม่
อนึ่ง ผู้ที่ได้รับผลกระทบ