กลุ่ม EA ยันพร้อมลงทุนขยายผลิตพลังงานหมุนเวียน รอแผน PDP ชัดเจน

30 ก.ย. 2564 | 09:45 น.
อัปเดตล่าสุด :30 ก.ย. 2564 | 16:56 น.

กลุ่มพลังงานบริสุทธิ์ ระบุภาวะแวดล้อมเปลี่ยนปัญหาระดับโลก ย้ำพร้อมขยายลงทุนพลังงานหมุนเวียน รอแผน PDP ภาครัฐส่งเสริมชัดเจน

นายชาญยุทธ ฉายาวัฒนะ  รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด เป็นบริษัทในเครือบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จํากัด (มหาชน)  หรือ EA กล่าว Virtual Forum : GO GREEN..เมกะเทรนด์เพื่อโลกสีเขียว จัดโดยหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ  หัวข้อ GREEN MISSION : ปฏิบัติการไทย สู่สังคมโลว์คาร์บอน ลดโลกร้อน ว่าขณะนี้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อม ทั้งภาวะโลกร้อน  ภาวะอากาศการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว  ไฟป่า  P.M. 2.5  เป็นปัญหาเกิดขึ้นทั่วโลก ไม่ใช่ประเทศใดประเทศหนึ่ง  สำหรับประเทศไทยรัฐมีนโยบายชัดเจน ส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า  และส่งเสริมพลังงานหมุนเวียน เพื่อลดการปล่อยคาร์บอน และสร้างให้เกิดฝุ่น PM 2.5   

กลุ่ม EA ยันพร้อมลงทุนขยายผลิตพลังงานหมุนเวียน รอแผน PDP ชัดเจน   

ขณะที่กลุ่มบริษัทพลังงานบริสุทธิ์ หรือ  EA  มีการลงทุนสร้างระบบโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ทั้งไบโอดีเซล โซล่าฟาร์ม มาเป็นเวลากว่า 10 ปี   ซึ่งพร้อมขยายการลงทุนผลิตพลังงานหมุนเวียนเพิ่มเข้ามาในระบบ  โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการรอนโยบายส่งเสริมตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ หรือ PDP  นอกจากนี้กลุ่ม EA ยังเข้ามาลงทุนในยานยนต์ไฟฟ้า  อีบัส เรือไฟฟ้า  แบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้า  แบตเตอรี่สตอเรจผลิตพลังงานหมุนเวียน  รวมถึงสถานีชาร์จ ที่ช่วยให้ความมั่นใจให้คนที่ต้องการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า  ซึ่งเราเป็นส่วนหนึ่งในการลดการปล่อยคาร์บอน   ลดปัญหาโลกร้อนและฝุ่น P.M. 2.5

“ถ้ามองทั้งเชน เราพยายามเติมเต็มให้ครบ  โดยเริ่มจากไบโอดีเซล มาถึงพลังานหมุนเวียน  อย่างไรก็ตามเรากำลังรอแผน PDP ที่จะประกาศออกมา ว่ามาการส่งเสริมการลงทุนพลังงานหมุนเวียนอย่างไร”

นายชาญยุทธ  กล่าวต่อไปว่าส่วนข้อเสนอไปยังภาครัฐนั้น มองว่าพลังงานหมุนเวียน  อาทิ  พลังงานชีวมวล ไม่เสถียร จำเป็นต้องมี เอ็นเนอยี่ สตอเรจ  ซึ่งภาครัฐต้องเข้ามาส่งเสริม    ต้องวางแผนส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนควบคู่ไปกับการผลิตอาหารไปพร้อมกัน  ขณะเดียวกันการผลิตพลังงานหมุนเวียนขณะนี้ยังไม่สูง  โดยรวมพลังงานหมุนเวียนทั้งประเทศมีอยู่  10,000 เมกะวัตต์  นโยบายภาครัฐต้องมากำหนดภาพให้ชัดเจนว่า ในอนาคตนโยบายการซื้อขายคาร์บอนเครดิต  ถ้ามีแผนชัดเจน ภาพการลงทุนก็ชัดเจนขึ้น   เอกชนก็พร้อมลงทุนในพลังงานหมุนเวียน

 นอกจากนี้ เรื่องการสร้างซัพพลายเชนของพลังงานหมุนเวียนทั้งหมด   ตัวอย่างเช่น  โซล่าฟาร์ม ถ้ารัฐส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าพลังานแสงอาทิตย์จำนวนมาก  ซัพพลายแผงโซล่าอาจไม่เพียงพอ ต้องส่งเสริมผลิตแผงโซลาในประเทศ เพื่อลดการนำเข้า     หรือแม้กระทั่งการผลิตไฟฟ้าพลังงานลม ที่ต้องมองทั้งโครงการ  เพราะการผลิตไฟฟ้าพลังงานลม กว่าจะออกแบบ ติดตั้ง  และผลิตไฟฟ้า ต้องใช้เวลาประมาณ 2 ปี  เพราะฉะนั้นต้องการความชัดเจนของนโยบายการส่งเสริมภาครัฐ  อีกส่วนคือเรื่องเอ็นเนอยี่ สตอเรจ จำเป็นต้องมองเรื่องพาวเวอร์กริดมารองรับ ต้องดูเรื่องกฎระเบียบ พาวเวอร์ ทรานมิชชัน ซิสเต็มส์  สุดท้ายคือเรื่องการซื้อขายไฟ  ซึ่งติดข้อกำหนดบางประการ  ในอนาคตถ้านำเทคโนโลยีบล็อกเชน มาช่วยเรื่องการซื้อขายไฟฟ้า แบบ Peer to Peer ได้หรือไม่  โดยอนาคตโรงงานต้องการพลังงานหมุนเวียน เพื่อลดการปล่อยคาร์บอน สามารถซื้อจากผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนได้โดยตรง ผ่านบล็อกเชน