ดร.ณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” การคาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูหนาวของประเทศไทยช่วงประมาณปลายเดือนตุลาคม 2564 ถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์2565 ซึ่งฤดูหนาวของประเทศไทยปีนี้ คาดว่า บริเวณประเทศไทยตอนบน ฤดูหนาวปีนี้ คาดว่า จะเริ่มต้นในช่วงปลายเดือนตุลาคม 2564 ซึ่งจะช้ากว่าค่าเฉลี่ยปกติ 1 - 2 สัปดาห์และจะสิ้นสุดประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2565
อุณหภูมิต่่าสุดเฉลี่ยประเทศไทยตอนบน 20 – 21 องศาเซลเซียส ซึ่งจะสูงกว่าค่าปกติประมาณ 0.5 องศาเซลเซียส. (ค่าปกติ 19.9 องศาเซลเซียสซ.) และจะมีอากาศหนาวเย็นใกล้เคียงปีที่ผ่านมา (อุณหภูมิต่่าสุดเฉลี่ยปีที่ผ่านมา 20.2 องศาเซลเซียส) ส่าหรับอุณหภูมิต่่าที่สุด 6 - 7 องศาเซลเซียส ส่วนมากจะอยู่ตอนบนของทั้งภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนอุณหภูมิต่่าที่สุดกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 15 - 16 องศาเซลเซียส
ดร.ณัฐพล กล่าวว่า กรมอุตุฯ คาดการณ์ ในช่วงเดือนพฤศจิกายนและธันวาคมโดยเฉพาะทางด้านฝั่งตะวันออกตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป กับจะมีฝนตกหนักหลายพื้นที่และหนักมากบางแห่ง ซึ่งจะท่าให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก รวมทั้งน้ำล้นตลิ่งได้ในบางพื้นที่ส่าหรับคลื่นลม ในทะเลอ่าวไทยจะมีกำลังแรงเป็นระยะๆ บางช่วงมีคลื่นสูง 2 - 4 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร
“เดือนพฤศจิกายนและธันวาคม อาจจะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนตัวเข้ามาใกล้หรือเคลื่อนตัวผ่านบริเวณอ่าวไทยและภาคใต้ ซึ่งจะท่าให้บริเวณภาคใต้มีฝนตกชุกหนาแน่นเป็นบริเวณกว้าง รวมทั้งคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังแรง และอาจมีคลื่นพายุซัดฝั่ง ความสูงของคลื่น 3 – 4 เมตร”
ลักษณะอากาศทั่วไป ประเทศไทยตอนบน (ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออก) ในช่วงประมาณปลายเดือนตุลาคมถึงต้นเดือนธันวาคม บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีอากาศเย็นเกือบทั่วไปกับมีอากาศหนาวบางแห่งในบางวัน
ส่วนบริเวณภาคกลางและภาคตะวันออกจะมีอากาศเย็นในหลายพื้นที่ส่วนมากทาง ตอนบนของภาค โดยฝนจะลดลงเหลือร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ และอาจลมกระโชกแรงบางแห่งในบางวัน ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นระยะๆ โดยจะมีอ่อนถึงปานกลาง
ประกอบกับจะมีมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทย จากนั้นจนถึงถึงปลายเดือนมกราคม จะมีอากาศหนาวเย็นมากขึ้น โดยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีอากาศหนาวเย็นเกือบทั่วไป กับมีอากาศหนาวจัดบางแห่งในบางวันทางตอนบนของภาค ส่วนบริเวณยอดดอย ยอดภู รวมทั้งเทือกเขาจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด กับมีน้้าค้างแข็งเกิดขึ้นได้ในบางช่วง
ส่วนภาคกลางและภาคตะวันออกจะมีอากาศเย็นเกือบทั่วไป กับมีอากาศหนาวบางแห่งในบางช่วง เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนยังคงแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทย โดยจะมีกำลังแรงเป็นระยะๆ และต่อเนื่อง ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือยังคงพัดปกคลุมประเทศไทย และก้าลังแรงเป็นระยะๆ
ส่วนในระยะครึ่งแรกเดือนกุมภาพันธ์ ลักษณะอากาศอากาศจะแปรปรวน โดยอากาศจะเริ่มอุ่นขึ้น และจะมีอากาศร้อนหลายพื้นที่ในตอนกลางวัน กับมีหมอกหนาในหลายพื้นที่ แต่บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีอากาศหนาวเย็นในตอนเช้า ทั้งนี้เนื่องจาก บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนที่แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนจะมีกำลังอ่อนลง
“ภาคใต้” ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนตุลาคมถึงต้นเดือนมกราคม จะมีฝนตกชุกหนาแน่นเกือบทั่วไป โดยเฉพาะฝั่งตะวันออกตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป จะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักหลายพื้นที่และหนักมากในบางแห่ง ซึ่งจะก่อให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งในบางแห่ง
สำหรับคลื่นลมทะเลอ่าวไทยจะมีกำลังแรงเป็นระยะๆ ในบางช่วงจะมีคลื่นสูง 2 - 4 เมตร ส่วนทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร เนื่องจาก มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจะพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้โดยจะมีก้าลังแรงเป็นระยะๆ โดยเฉพาะในช่วงเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม ประกอบกับ ในบางช่วงจะมีร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้
นอกจากนี้ ในบางช่วงมักจะมีมีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงหรือพายุหมุนเขตร้อน เคลื่อนตัวเข้ามาใกล้หรือเคลื่อนผ่านภาคใต้จากนั้นจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ฝนจะลดลง เนื่องจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังอ่อนลง และจะเริ่มเปลี่ยนเป็นลมตะวันออกหรือลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมแทน ในเดือนกุมภาพันธ์
รายละเอียดตามภาคต่างๆ
ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงปลายเดือนตุลาคมถึงต้นเดือนธันวาคม จะมีอากาศเย็นเกือบทั่วไป กับมีอากาศหนาวบางแห่งในบางวันทางตอนบนของภาค และมีหมอกในตอนเช้า โดยจะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ และอาจมีลมกระโชกแรงบางแห่งในบางวัน
ส่าหรับช่วงกลางเดือนธันวาคมปลายเดือนมกราคม อากาศจะหนาวเย็นมากขึ้น โดยมีอากาศหนาวเย็นเกือบทั่วไป และมีอากาศหนาวจัดบางแห่งในบางวันทางตอนบนของภาค ส้าหรับบริเวณยอดดอย ยอดภูรวมทั้งเทือกเขาจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด และเกิดน้ำค้างแข็งขึ้นได้ในบางช่วง
ส่วนในช่วงครึ่งแรกเดือนกุมภาพันธ์ลักษณะอากาศจะแปรปรวน โดยอากาศจะเริ่มอุ่นขึ้น และจะมีอากาศร้อนหลายพื้นที่ในตอนกลางวัน กับมีหมอกหนาหลายพื้นที่แต่ยังคงมีอากาศหนาวเย็นในตอนเช้า
ภาคกลางและภาคตะวันออก
ในช่วงปลายเดือนตุลาคมถึงต้นเดือนธันวาคม จะมีอากาศเย็นบางแห่งในบางวันทางตอนบนของภาคกับมีหมอกในตอนเช้า โดยจะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 ของพื้นที่ และอาจลมกระโชกแรงบางแห่งในบางวัน
ส่าหรับช่วงกลางเดือนธันวาคมปลายเดือนมกราคม จะมีอากาศเย็นเกือบทั่วไป กับมีอากาศหนาวหลายพื้นที่ในบางช่วง โดยเฉพาะตอนบนของภาคและบริเวณเทือกเขา กับจะมีหมอกหนาหลายพื้นที่ในบางช่วง
ส่วนในช่วงครึ่งแรกเดือนกุมภาพันธ์ลักษณะอากาศจะแปรปรวน โดยอากาศจะเริ่มอุ่นขึ้น และจะมีอากาศร้อนหลายพื้นที่ในตอนกลางวัน กับมีหมอกหนาหลายพื้นที่ในบางช่วง แต่ส้าหรับทางตอนบนของภาคและบริเวณเทือกเขายังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้า
ภาคใต้ฝั่งตะวันออก (ฝั่งอ่าวไทย)
ช่วงปลายเดือนตุลาคมถึงต้นเดือนมกราคม จะมีฝนตกชุกหนาแน่นเกือบทั่วไป โดยเฉพาะตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป จะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักหลายพื้นที่และหนักมากในบางแห่ง ซึ่งจะก่อให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งได้ในบางแห่ง สำหรับคลื่นลมจะมีกำลังแรง จะมีคลื่นสูง 2 – 4 เมตรในบางช่วง
ตั้งแต่กลางเดือนมกราคมถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ฝนจะลดลง เว้นแต่ทางตอนล่างของภาค ยังคงมีฝนร้อยละ 30 – 40 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่งในบางวัน
ภาคใต้ฝั่งตะวันตก (ฝั่งทะเลอันดามัน)
ในช่วงปลายเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน จะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 – 60 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมในทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูง 1 – 2 เมตร
ตั้งแต่เดือนธันวาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง โดยมีฝนร้อยละ10 – 20 ของพื้นที่
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ช่วงปลายเดือนตุลาคมถึงต้นเดือนธันวาคม จะมีอากาศเย็นบางแห่งในบางวัน กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ20 ของพื้นที่
ส่าหรับช่วงกลางเดือนธันวาคมปลายเดือนมกราคม จะมีอากาศเย็นเป็นระยะๆ และมีอากาศหนาวในบางวัน กับจะมีหมอกหนาในบางช่วง
ส่วนในช่วงครึ่งแรกเดือนกุมภาพันธ์ลักษณะอากาศจะแปรปรวน อากาศจะอุ่นขึ้น โดยจะมีอากาศเย็นในบางวัน กับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน
ข้อควรระวัง
ด้าน สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) สังกัด กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม คาดการณ์ 31 สิ้นสุดฤดูฝน ปัจจุบัน น้ำ4 เขื่อนหลัก ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา น้ำยังไม่เพียงพอที่จะใช้ในฤดูแล้งปี 2565 ยังต้องการเพิ่มอีก 6,037 ล้านลูกบาศก์เมตร