ด่วนที่สุด “มท.1” สั่งรับมือ “พายุไลออนร็อก”

08 ต.ค. 2564 | 20:00 น.
อัปเดตล่าสุด :09 ต.ค. 2564 | 06:38 น.

“มท.1” สั่งการ ด่วนที่สุด ถึง ผู้ว่าราชการจังหวัด ทุกจังหวัด รับมือ “พายุไลออนร็อก” แจ้งเตือนให้ประชาชนพื้นที่เสี่ยงภัย ระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก พร้อมอพยพหนีน้ำท่วม

พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่การกระทรวงมหาดไทย ในฐานะผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติด่วนที่สุด ถึง เรียน ผู้ว่าราชการจังหวัด/ผู้อำนวยการจังหวัด ทุกจังหวัด เรื่อง การเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์และผลกระทบจากพายุ "ไลออนร๊อก"   

 

จากการติดตามสภาพอากาศร่วมกับกรมอุตุนิยมวิทยาพบว่า  เมื่อเวลา 12.00 น. ของวันที่ 8 ตุลาคม 2564 พายุโซนร้อน "ไลออนร็อก" บริเวณทะเลนใต้ตอนบน มีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 50  กิโลเมตร ทางตะวันออกของเกาะไหหลำ ประเทศจีน มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

 

และคาคว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนในช่วงวันที่ 10-11 ตุลาคม 2564 ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันตามัน ภาคโต้ และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง

 

ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยตอนบน มีกำลังแรงขึ้น จึงให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด ถือปฏิบัติตามแนวทางตามหนังสือที่อ้างถึง ตลอดจนข้อสั่งการในที่ประชุม

 

กองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ เมื่อวันที่ 14  กันยายน 2564 a โดยเคร่งครัด พร้อมทั้งดำเนินการตามแนวทาง ตังนี้

1.ให้คณะทำงานติดตามสถานการณ์ของจังหวัด ติดตามปริมาณฝนที่ตกในพื้นที่ โตยเฉพาะในพื้นที่ที่เคยประสบอุทกภัย น้ำท่วมชัง และดินโคลนถล่ม จากกรณีฝนตกหนัก หรือมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากกรณีฝนตกหนักต่อเนื่องในพื้นที่ เช่น พื้นที่ในเขตเศรษฐกิจของจังหวัด พื้นที่ท้ายเขื่อน อ่างเก็บน้ำฝ่าย ที่มีปริมาณน้ำมาก และพื้นที่เชิงเขา

 

พร้อมทั้งจัดทำข้อมูลแผนที่เส้นทางน้ำที่อาจส่งผลกระทบพื้นที่ชุมชนเขตเศรษฐกิจ ให้ครอบคลุม เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการสนับสนุนการตัดสินใจของผู้อำนวยการในแต่ละระดับให้สามารถจ้งเตือนประชาชน ตลอดจนบูรณาการจัดกำลังเจ้าหน้าที่เข้าป้องกันการเกิดน้ำท่วม และเข้าให้ความช่วยเหลือประชาชนได้ตรงจุดอย่างมีประสิทธิภาพ

 

2. กำชับกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในแต่ละระตับ ปรับแผนเผชิญเหตุอุทกภัยให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่ที่ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย ให้แบ่งมอบพื้นที่ภารกิจ หน่วยงานรับผิดขอบในการดูแลความเป็นอยู่ของประชาชนให้ชัดเจน พร้อมทั้งแจ้งแนวทางการปฏิบัติและช่องทางในการติดต่อสื่อสารเพื่อขอรับความช่วยเหลือจากภาครัฐได้ในทุกช่องทางอย่างต่อเนื่อง

 

หากกำลังเจ้าหน้าที่ เครื่องจักรกล สาธารณภัย อาทิ เครื่องสูบน้ำ เรือยนต์กู้ภัย เรือท้องแบน รถสูบส่งน้ำระยะไกลรถปฏิบัติการบรรเทาอุทกภัย ฯลฯ ไม่เพียงพอ ให้ประสานการปฏิบัติกับหน่วยทหาร และศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต เพื่อสนับสนุนการให้ความช่วยเหลือประชาชนให้พร้อมตลอด 24  ชั่วโมง

 

4. หากสถานการณ์มีแนวโน้มรุนแรงในพื้นที่ ให้ผู้อำนวยการสั่งการอพยพประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยไปยังพื้นที่ปลอดภัย หรือศูนย์พักพิงที่จัดเตรียมไว้โดยทันที โดยให้ฝ่ายปกครอง กำนัน ผู้ใหญ่บ้านผู้บริหาร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 

เครื่อข่ายอาสาสมัคร ประชาชนจิตอาสา เข้าตูแลให้ความช่วยเหลือประชาชนอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้ การปฏิบัติการให้ดำเนินการควบคูไปกับมาตรการของกระหรวงสาธารณสุขในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Cavid - 19)

 

5. สำหรับจังหวัดที่มีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ตลอดจนพื้นที่ติดรายฝั่งทะเสให้มอบหมายหน่วยงาน ที่มีหน้าที่กำกับดูแล เช่น บริเวณน้ำตก ถ้ำ กำหนดมาตรการในการแจ้งเตือนการปิดกั้น หรือห้ามบุคคลใดเข้าพื้นที่ สำหรับพื้นที่ติดทะเล ขายหาดต่าง ๆ ให้ประสานการปฏิบัติกับหน่วยงานของ กรมเจ้าท่า กองทัพเรือ ตำรวจน้ำในพื้นที่

 

เพื่อดำเนินการตามมาตรการที่กำหนดในการนำเรือเข้าที่กำบังและห้ามการเดินเรือช่วงที่มีคลื่นลมแรงโดยเคร่งครัต หากพบว่ามีเรือขนาดเล็กอยู่ในพื้นที่นอกชายฝั่งที่อาจจะเป็นอันตรายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการนำเรือตังกล่าวกลับเข้าฝั่ง

 

เพื่อให้เกิดความปลอดภัย ตลอดจนกำชับสถานประกอบการ โรงแรมในพื้นที่ชายทะเลสื่อสารให้นักท่องเที่ยวระมัดระวังและห้ามลงเล่นน้ำในช่วงที่มีคลื่นลมแรงโดยเด็ดขาด

 

6. ให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดที่ได้รับผลกระทบสรุปสถานการณ์ และรายงานให้กระทรวงมหาดไทยทราบ ผ่านกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลางอย่างต่อเนื่องทุกวัน จนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ หรือจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงจึงเรียนมาเพื่อดำเนินการต่อไป

 

สั่งการด่วนที่สุด รับมือ "พายุไลออนร็อก"

สั่งการด่วนที่สุด รับมือ "พายุไลออนร็อก"