"คณิศ" มั่นใจ 5G ดันอุตสาหกรรมอีอีซีรุดหน้า 5 ปี การลงทุนทะลุ 2.2 ล้านล้าน

18 ต.ค. 2564 | 08:56 น.
อัปเดตล่าสุด :18 ต.ค. 2564 | 16:02 น.

"คณิศ" มั่นใจ 5G ผลักดันการลงทุนในอีอีซีเพิ่มเป็น 2.2 ล้านล้านบาท เผย 5G ขับเคลื่อนอุคสาหกรรมในอีอีซีรุดหน้า ล่าสุด บีโอไอ พร้อมสนับสนุนการลงทุนระบบอัตโนมัติ ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มให้อีก 3 ปี

ขณะเดียวกัน ปรับแผนการลงทุนปี 2565-2569 จากเป้า 1.6-1.7 ล้านล้าน เป็น 2.2 ล้านล้าน พร้อมปักธงไตรมาสแรกปี 2565 ได้พันธมิตรร่วมเดินหน้าพัฒนาโครงการ EECd ส่วนการพัฒนาบุคลากรมั่นใจได้ 1 แสนคนภายใน 3 ปีแน่นอน 


ดร. คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ. หรือ เลขาฯ EEC) เปิดเผยในงานเสวนา "5G ดันศักยภาพไทยแข่งขันเวทีโลก" ของกรุงเทพธุรกิจ ว่า ขณะนี้พื้นที่อีอีซี มีโครงสร้างพื้นฐานและมีสัญญาณ 5G เต็ม 100% จากทั้งเอไอเอส และทรูซึ่งถือเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญที่ทำให้การลงทุนอุตสาหกรรมในอีอีซีรุดหน้าอย่างรวดเร็ว โดยช่วง 3 ปีแรกของการดำเนินงานเกิดการลงทุนรวมที่ได้รับอนุมัติแล้ว 1.6 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 94% จากเป้าหมายแผน 5 ปี (ปี 61-65) ของอีอีซีจำนวน 1.7 ล้านล้านบาท หลังจากดำเนินงานมา 3 ปี 8 เดือน สามารถบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้แล้ว จึงมีการตั้งเป้าขยายการลงทุนในพื้นที่อีอีซีในช่วง 5 ปีข้างหน้า (ปี 65-69) ไม่น้อยกว่า 2.2 ล้านล้านบาท เพื่อเติมเต็มประเทศจากที่ได้รับผลกระทบจากโควิด -19

"4G ช้า ทำให้เราสูญเสียโอกาสเยอะ แต่ตอนนี้จากดิจิทัลมันเป็น 5G ออโตเมชั่นกับสมาร์ทซิสเต็ม ที่เข้าอุตสาหกรรมอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการแพทย์ เชื่อเพลิง อุตสาหกรรมเกษตร ขนส่ง การบิน เคมีชีวภาพ อยานยนต์ อันนี้ช่วยได้หมด เพราะฉะนั้น 5G คือ การพัฒนาระบบออโตเมชั่นครั้งสำคัญของประเทศ" ดร.คณิศกล่าวและว่า จากระบบออโตเมชั่นทำให้เกิดฐานจ้อมูลเป็นดาต้าเซ็นเตอร์ ทำให้เกิดดิจิทัลแพลทฟอร์ม ซึ่งทำให้เกิดแอปพลิเคชั่น เกิดสังคมไร้เงินสด และการพัฒนาอีคอมเมิร์ซที่เต็มรูปแบบ ทำให้สตาร์ทอัพทำงานได้ง่ายขึ้น ทั้งหมดเกิดจากมี 5G เข้ามา

ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ได้มีการทำแผน 5G ในอีอีซี เสนอ คณะรัฐมนตรี ซึ่งประกอบด้วย 1.ด้านโครงสร้างพื้นฐานจากสัญญาณสู่ข้อมูลกลาง แยกเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านสัญญาณ ได้แก่ ท่อ เสา สาย สัญญาณ และโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลกลาง ซึ่งขณะนี้ อีอีซีมีสัญญาณ 5G 100% 2. ด้านการใช้ประโยชน์ก้าวเข้าสู่ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมซึ่งจะมีกาเรพิ่มผู้ใช้ 5G ในภาคการผลิตและบริการ การนำ 5G สร้างประโยชน์ให้ชุมชน และการสร้างธุริกจใหม่จาก 5G 3. ด้านการพัฒนาบุคลากร ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการร่วมกับพาร์ทเนอร์ อาทิ หัวเว่ย และอื่นๆ ซึ่งมั่นใจได้ว่า จะสามารถพัฒนาบุคลากรได้ไม่ต่ำกว่า 1 แสนตำแหน่งงานแน่นอน ยืนยันว่าสามารถสร้างบุคลากรได้เพียงพอและทันต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมในอีอีซี และ 4. การมีส่วนร่วมของประชาชน

ดร.คณิศ ได้ขยายความ การใช้ประโยชน์ของ 5G ที่ต้องเพิ่มผู้ใช้ในภาคการผลิต ผลักดันธุรกิจให้มาใช้ 5G ทำให้เกิดการเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมโรงแรม หน่วยราชการ และเอสเอ็มอี ส่วนการนำ 5G ลงชุมชน ขณะนี้ลงไปแล้วที่บ้านฉาง สิ้นปีน่าจะได้ 60 ต้น จากตอนนี้ได้ 5 ต้น และมีหัวเว่ย เข้าไปช่วยติดตั้งให้ที่พัทยา

ล่าสุด บีโอไอ ได้ออกมาตรการสนับสนุนการลงทุนระบบอัตโนมัติ และการยกระดับไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 เช่น การลงทุนที่มีระบบอัตโนมัติและการเชื่อมโยงต่อระหว่างอุปกรณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลและการปฏิบัติการที่ชาญฉลาด หรือการนำเทคโนโลยี ดิจิทัลมาใช้บริหารจัดการในกระบวนการผลิต โดยผู้ประกอบการสามารถยื่นคำช้อได้ที่บีโอไอ และเมื่อผ่านการพิจารณา จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มอีก 3 ปี 

ส่วน ดิจิทัลฮับ หรือ โครงการเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (EECd) กำลังจะเริ่มพิชและคัดเลือกบริษัทเข้ามา โดยไตรมาสแรกจะศึกษาความเป็นไปได้โครงการ และสรรหาผู้ร่วมพัฒนา ส่วนไตรมาส 2 ได้ผู้ร่วมพัฒนาโครงการฯ ร่วมประเมินความเป้นไอได้ และกำหนดรูปแบบความร่วมมือ ต่อจากนั้นไตรมาส 3 พร้อมพัฒนา จัดภูมิทัศน์พื้นที่โครงการ และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ไตรมาส 4 เริ่มพัฒนาระยะที่ 2 พัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ส่วนที่ 1 ดำเนินการด้านการตลาด ดึงดูดการลงทุน และไตรมาสแรกปี 2566 สำเร็จตามเป้าหมาย ทั้งโครงสร้างพื้นฐาน และมีนักลงทุนเข้าพื้นที่โครงการ 

ปัจจัยข้างนอกไม่ค่อยมีอะรไ เราสามารถแข่งขันได้ เรื่อง 5G เราก้าวไกลกว่าคนอื่นเยอะ ปัญหาอยู่ทที่กฎระเบียบ และความเข้าใจ เราต้องทำความเข้าใจและแก้ไขกฎระเบียบ ซึ่งตอนนี้มีการดำเนินการไปเยอะแล้ว