นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรืออีอีซี เปิดเผยถึงความคืบหน้าการส่งมอบรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ให้กับบริษัทรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อม 3 สนามบิน จำกัด หรือซีพี ที่ปัจจุบันได้ประกาศเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น “บริษัทเอเชีย เอราวัน จำกัด” เพื่อดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) บริษัทเอเชีย เอรา วัน จำกัด นั้น ตามสัญญากำหนดไว้ว่าเอกชนต้องเข้าไปดำเนินการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา แต่จากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ปริมารผู้โดยสารที่ใช้บริการลดลงอยู่ที่ 10,00-20,000 คนต่อวัน บางวันต่ำสุดอยู่ 9,000 คนต่อวัน จากเดิมตามสัญญาคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารใช้บริการอยู่ที่ 70,000-80,000 คนต่อวัน ซึ่งเป็นเหตุสุดวิสัยที่ไม่เคยคาดการณ์มาก่อน ทำให้รฟท.ได้รับการขาดทุนมาโดยตลอด เพราะไม่ได้มีการของบประมาณไว้ล่วงหน้า เบื้องต้นที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (บอร์ดอีอีซี) มีมติให้นโยบายรฟท.หาทางแก้ไขปัญหาเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อผู้โดยสารที่ใช้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ โดยเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา รฟท.และเอกชนคู่สัญญา ได้ลงนามสัญญาบันทึกข้อตกลงที่จะบริหารสัญญาร่วมทุนเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกับสถานการณณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ให้เอกชนเข้าดำเนินการบริหารรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ได้ก่อน เพื่อสามารถให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างต่อเนื่อง
สำหรับรายละเอียดการลงนามสัญญาในครั้งนี้ระบุว่า เอกชนต้องดำเนินการเข้ารับบริหารรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ในวันที่ 24 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา โดยเอกชนคู่สัญญาต้องรับผิดกชอบค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงทั้งหมดที่อาจเกิดขึ้นในการดำเนินการที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้การดำเนินการรถไฟระบบซ่อมบำรุงแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เป็นไปตามดัชนีชี้วัดKPI ที่รฟท.กำหนด ปัจจุบันเอกชนได้ลงทุนเพื่อดำเนินการก่อสร้างโครงการฯแล้ว วงเงิน 1,100 ล้านบาท ในการปรับปรุงระบบรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รวมทั้งการฝึกอบรมพนักงานต่อเนื่องเพื่อสามารถเข้าไปดำเนินการต่อได้ ขณะเดียวกันรฟท.จะเป็นผู้จัดเก็บค่าโดยสารและรายได้ทั้งหมดและยังไม่ได้โอนให้กับเอกชน แต่จะโอนรายได้ให้กับเอกชนต่อเมื่อเอกชนดำเนินการแก้ไขปัญหาแล้วเสร็จ ทั้งนี้ให้เอกชนนำค่าโดยสารดังกล่าวหักกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น หากมีกำไรให้โอนกลับมาที่รฟท. ดังนั้นรฟท.จึงไม่ต้องรับภาระขาดทุนวันที่ส่งมอบรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ อีกต่อไป
ขณะเดียวกันวันที่ลงนามสัญญาเอกชนได้ชำระเงิน 1,067 ล้านบาท คิดเป็น 10% ของค่าสิทธิแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ วงเงิน 10,067 ล้านบาท ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวมีระยะเวลา 3 เดือน ในการเจรจาหาทางออกร่วมกันโดยที่รัฐไม่เสียผลประโยชน์และให้ความเป็นธรรมแก่เอกชน โดยการดำเนินการในครั้งนี้จะต้องเสนอต่อคณะกรมการรฟท.และคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก รับทราบต่อไป
“เอกชนได้ดำเนินการตามข้อตกลงแล้วเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา ปัจจุบันรฟท.ได้ตรวจสอบการทำงานแล้วเป็นไปอย่างราบรื่นไม่พบปัญหาอุปสรรคใดๆในการดำเนินการให้กับประชาชน เนื่องจากกระบวนการถ่ายโอนดำเนินการมานานแล้ว โดยรฟท.ได้เข้าไปกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด เบื้องต้นเอกชนได้เสนอแนวทางการพัฒนารถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ วงเงิน 3,000 ล้านบาท เพื่อจัดหาขบวนรถไฟเพิ่มเติม และอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน”
นายคณิศ กล่าวต่อว่า สำหรับกรณีที่เอกชนขอผ่อนชำระค่างวดรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ 10 เดือน 1 งวดและมีการต่อรองชำระค่างวดเหลือ 6 เดือน 6 งวด นั้น ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป เบื้องต้นมอบหมายให้คณะกรรมการรฟท.พิจารณาผลกระทบจากการเจรจาต่อรองในเรื่องดังกล่าวก่อนเป็นอย่างไร หลังจากนั้นจะเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบต่อไป
ทั้งนี้ในส่วนการจ่ายโอนรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล เรล ลิงก์ นั้น ปัจจุบันรฟท.อยู่ระหว่างการตั้งทีมเจรจา โดยมีคณะกรรมการกำกับดูแลสัญญาดังกล่าว คาดว่าจะดำเนินการได้เร็วๆนี้ อีกทั้งการเปิดประเทศที่จะเกิดขึ้นนั้นจะช่วยลดแรงกดดันจากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ขณะเดียวกันในปี 2563 ที่ผ่านมาเอกชนได้ยื่นหนังสือถึงคณะกรรมการอีอีซี ขอเลื่อนชำระค่าสิทธิแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ วงเงิน 10,000 ล้านบาท ออกไปก่อน ภายในวันที่ครบระยะเวลาตามสัญญาร่วมลงทุน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ระบาดอย่างต่อเนื่อง จึงขอเลื่อนวันถ่ายโอนธุรกิจแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ออกไปอีก 3 เดือน