เกาะติด "มาตรการเยียวยา" ผู้ประกันตนมาตรา 33 มาตรา 39 มาตรา 40 สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน โพสต์เฟซบุ๊คเพื่อเป็นการย้ำเตือนสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนทุกมาตราที่จะได้รับกรณีเสียชีวิต
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเกิดสิทธิ
กรณีที่ผู้ประกันตนเสียชีวิตที่ไม่ได้เกิดจากการทำงาน เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือน ก่อนเดือนเสียชีวิต
สิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกันตนที่จงใจทำให้ตนเองบาดเจ็บ ทุพพลภาพและตาย หรือยินยอมให้ผู้อื่นก่อให้เกิดขึ้น ประโยชน์ทดแทนกรณีตาย ได้แก่
กรณีขอรับค่าทำศพ
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีตาย (สปส. 2-01)
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้จัดการศพพร้อมตัวจริง
- หลักฐานจากฌาปนสถานหรือมัสยิดที่แสดงว่าเป็นผู้จัดการศพ
- สำเนาใบมรณบัตรพร้อมตัวจริง
- สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี (กรณีขอรับเงินทางธนาคาร) ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้จัดการศพ ดังนี้
- ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน)
- ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
- ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (จำกัด)
เงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต
มาตรา 33 และมาตรา 39
- จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 36 ถึง 119 เดือนจะได้เงินสงเคราะห์ 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย 4 เดือน
- จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 120 เดือนขึ้นไปจะได้เงินสงเคราะห์ 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย 12 เดือน
มาตรา 40
ทางเลือกที่ 1 และ 2 จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 60 เดือนก่อนเดือนที่เสียชีวิตจะได้รับเงินสงเคราะห์ 8,000 บาท
กรณีขอรับเงินสงเคราะห์
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีตาย (สปส. 2-01)
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของ ผู้มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์
- สำเนาทะเบียนสมรสของผู้ประกันตนและของบิดามารดาของผู้เสียชีวิต (ถ้ามี)
- สำเนาสูติบัตรของบุตร หรือ สำเนาทะเบียนบ้านของบุตรกรณีไม่มีสูติบัตร
- หนังสือระบุให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์กรณีตาย (ถ้ามี)
ที่มา : สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ,สำนักงานประกันสังคม