ความคืบหน้า “โครงการประกันรายได้ข้าว” ยังมีต่อเนื่อง ล่าสุด วันที่ 5 พ.ย.2564 ได้อนุมัติราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงและการชดเชยส่วนต่างราคาตามโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2564/65 รอบที่ 1 งวดที่ 2 , 3 และ 4 โดยมีมติจ่ายเงินส่วนต่างให้กับเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2564/65 ที่ระบุวันที่คาดว่าจะเก็บเกี่ยวตั้งแต่วันที่ 15-21 ต.ค.2564 , 22-28 ต.ค.2564 และ 29 ต.ค.-4 พ.ย.2564 จำนวน 5 ชนิด ได้แก่ ข้าวเปลือกหอมมะลิ ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ข้าวเปลือกเจ้า และข้าวเปลือกเหนียว นั้น
นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว เปิดเผยว่า สำหรับราคาเฉลี่ยและยอดการจ่ายส่วนต่าง ตามโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2564/65 รอบที่ 1 หรือ "ประกันรายได้ข้าว งวดที่ 2 , 3 และ 4 ทีเดียว 3 งวด
งวดที่ 2
โดยเกษตรกรจะได้รับเงินส่วนต่างสำหรับงวดที่ 2 สูงสุด ดังนี้ ข้าวเปลือกหอมมะลิ 57,826.16 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ 59,506.56 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี 25,476.75 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 57,560.7 บาท และข้าวเปลือกเหนียว 69,580.64 บาท
งวดที่ 3
โดยเกษตรกรจะได้รับเงินส่วนต่างสำหรับงวดที่ 3 สูงสุด ดังนี้ ข้าวเปลือกหอมมะลิ 57,910.44 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ 59,506.56 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี 26,111 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 59,079.3 บาท และข้าวเปลือกเหนียว 70,319.68 บาท
งวดที่ 4
โดยเกษตรกรจะได้รับเงินส่วนต่างสำหรับงวดที่ 4 สูงสุด ดังนี้ ข้าวเปลือกหอมมะลิ 58,988.58 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ 59,506.56 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี 28,094 บาท ข้าวเปลือกเจ้า 62,697.3 บาท และข้าวเปลือกเหนียว 71,465.44 บาท
ทั้งนี้ การจ่ายเงินส่วนต่างในโครงการประกันรายได้ในปีที่ 3 ยังคงหลักการเช่นเดิม โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จะโอนเงินเข้าไปยังบัญชีของเกษตรกรภายใน 3 วันทำการหลังจากที่ได้มีการประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงเช่นเดียวกับปี 1 และปี 2 โดยการโอนเงินส่วนต่างงวดที่ 2 , 3 และ 4 น่าจะโอนได้ในวันที่ 10 พ.ย.2564
สำหรับโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ได้ประกันราคาข้าวเปลือก 5 ชนิด ได้แก่ ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 15,000 บาท ไม่เกิน 14 ตัน ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 14,000 บาท ไม่เกิน 16 ตัน ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 10,000 บาท ไม่เกิน 30 ตัน ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 11,000 บาท ไม่เกิน 25 ตัน ข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 12,000 บาท ไม่เกิน 16 ตัน
สำหรับการโอนเงินส่วนต่างงวดแรกตามโครงการประกันรายได้ข้าว ปี 2564/65 ธ.ก.ส. จะดำเนินการได้ภายหลังจาก ครม. ได้รับทราบผลการหารือเกี่ยวกับอัตราต้นทุนเงินของ ธ.ก.ส. ระหว่างกระทรวงพาณิชย์ สำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง และ ธ.ก.ส. ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 ซึ่งกรมการค้าภายในได้จัดให้มีการหารือเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2564
โดยการจ่ายเงินชดเชยประกันรายได้ในปีที่ 3 ก็คงหลักการเช่นเดิม โดย ธ.ก.ส. จะโอนเงินเข้าไปยังบัญชีของเกษตรกรภายใน 3 วันทำการหลังจากที่ได้มีการประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงเช่นเดียวกับปี 1 และปี 2
เกษตรกรที่สมัครใช้บริการ BAAC Connect จะได้รับข้อความแจ้งเตือนผ่าน LINE Official BAAC Family เมื่อเงินเข้าบัญชีเรียบร้อยแล้ว หรือสามารถ เช็คเงินเกษตรกร ตรวจสอบเช็คเงินช่วยเหลือชาวนา “เงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 500” ผ่านเว็บไซต์โดยมีขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้
เข้าไปที่เว็บไซต์ https://chongkho.inbaac.com/ หรือ (คลิก)
"เอกสารแนบ" งวด 2 "ประกันรายได้ข้าว"
"ประกันรายได้ข้าว" งวด 3
"ประกันรายได้ข้าว" งวด 4
ด้าน นายกิตติศักดิ์ จันทร์ไพศรี ชาวนาข้าวเหนียวจังหวัดเชียงใหม่ และ อุปนายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย กล่าวว่าตอนนี้ราคาข้าวเปลือกเหนียวสดเชียงใหม่อยู่ที่ 5 บาท 80 บาทต่อกิโลชาวนาขาดทุนย่อยยับมาตรการของรัฐบาลประกันรายได้ผมมาคำนวณดูแล้วขายข้าวสดตันละ 5,800 ชาวนา ทํานา ได้ไร่ละ 700-800 กิโลกรัมต่อไร่ข้าวสดถ้าถามมากชาวนาเกี่ยวข้าวขายข้าวสด ได้ประมาณประมาณไม่ถึง 5,000 บาท ที่นี่รัฐบาลบอกว่าประกันรายได้ให้แล้วแต่คำนวณให้เป็นข้าว 15% คือข้าวพร้อมสีให้ชาวนาอยู่ 319 กิโลกรัมต่อไร่และให้ไม่เกิน 16 ไร่
"ชาวนาได้รับอานิสงส์น้อยถามว่าโรงสีซื้อข้าวสดแถวนากิโลกรัมละ 5 .85 -5.90 บาท พ่อค้าไปอบกินข้าวแห้งโรงสีจะได้ขาย 12,000 บาทต่อตันถามว่าจากข้าวสด 1000 กิโลกรัมจะทำข้าว 15% อยู่ที่ 800 หรือ 900 กิโลกรัมต่อตัน ถามว่าโรงสีได้กำไรจากชาวนาไปครึ่งแล้วครับ แล้วโรงสีก็ไปส่งต่อ ให้กับผู้ส่งออกหรือรัฐบาลอีกครั้ง"
“ดูให้ดีๆว่าใครได้ผลประโยชน์กันแล้วผมขอถามไปยังกระทรวงพาณิชย์ว่าค่าพรีเมี่ยมของชาวนาเก็บไว้ที่ไหนที่พ่อค้าโรงสีหรือผู้ส่งออกข้าวก็บอกว่า คืนกำไร ให้กับชาวนา การเงินไปให้กระทรวงพาณิชย์เก็บไว้เพื่อพยุงราคาเสถียรภาพราคาข้าวตกต่ำ เงินตัวนี้ไปไหนทำไมไม่มา พยุงราคาข้าว เกษตรกร เพราะเงินของเค้าท่านลงไปถามผู้ส่งออกและลงสีก็ได้ว่าค่าพรีเมี่ยม มีไหมจะรู้ดีขอให้ ช่วยเป็นกระบอกเสียงให้ชาวนาด้วย “