ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 3 พ.ย.2564 ห้องประชุมพลับพลึงธาร ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดระนอง นายสมเกียรติ ศรีษะเนตร ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง เป็นประธาน การประชุมผ่านระบบวีดิทัศน์ทางไกล (Video Conference) กับกระทรวงมหาดไทย
โดยมีหน่วยงานภาครัฐ ประธานหอการค้าจังหวัด สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ภาคเอกชนจังหวัดที่เกี่ยวข้อง โดยนายพรศักดิ์ แก้วถาวร ประธานหอการค้าจังหวัดระนอง เข้าร่วมประชุมด้วย
โดยจังหวัดระนองนำเสนอ 7 โครงการ ประกอบด้วย
ด้านท่องเที่ยว 2 โครงการ คือ กลุ่มอันดามัน เป็นเจ้าภาพกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 33 ปี 2568 และ พัฒนาพื้นที่จังหวัดระนอง ของกรมโยธาธิการและผังเมือง ขอรับสนุบสนุนงบประมาณ 404.5 ล้านบาท
ด้านการค้าการลงทุน 1 โครงการ การจัดตั้งเขตประกอบการอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากประมง โดยให้มีการผลักดันและแก้ปัญหาการใช้ประโยชน์พื้นที่
ด้านคุณภาพชีวิต 2 โครงการ คือ การพัฒนาขยายพื้นที่รพ.ระนอง โดยของบสนับสนุนก่อสร้างแขวงฯ 220 ล้านบาท และ ของบสร้างอาคารในโรงพยาบาลระนอง 535 ล้านบาท
ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 1 โครงการ คือ แก้ไขปัญหาการใช้ที่ดินป่าชายเลนชุมชนเมืองจังหวัดระนอง โดยเร่งรัดผลักดันอย่างต่อเนื่อง เนื้อที่ 520.86 ไร่ และแก้ปัญหาพื้นที่ที่เหลืออีก 2236 ไร่
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ของบสร้างสถานีขนส่ง (บขส.) ใหม่ 100 ล้านบาท แก้ปัญหาการกัดเซาะตลิ่งและป้องกันน้ำท่วม บ้านหาดทรายดำ งบประมาณ 150 ล้านบาท
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้ชี้แจ้งแนวทางจัดทำข้อเสนอการประชุม ระหว่างนายกรัฐมนตรีกับผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้แทนภาคเอกชน และผู้บริหารท้องถิ่น เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน (ภูเก็ต กระบี่ ตรัง พังงา ระนอง สตูล) ต้องเป็นข้อเสนอที่จะขอรับการสนับสนุนและส่งเสริมด้านนโยบาย เป็นการขอเร่งรัดแผนงาน โครงการ ที่อยู่ในแผนการดำเนินงานของหน่วยงานราชการ
ถ้าเป็นข้อเสนอที่จะขอรับการสนับสนุนในแผนงานโครงการ ที่ยังไม่อยู่ในแผนรัฐวิสาหกิจ จะต้องเป็นแผนงาน โครงการ ที่มีความพร้อมในการดำเนินการ เช่น มีการอนุญาตให้ใช้ที่ดินเรียบร้อย มีแบบแปลนพร้อมที่จะดำเนินการ หรือ มีหน่วยงานที่จะเป็นหน่วยดำเนินการแล้ว เป็นต้น การขอรับการสนับสนุนแผนงานโครงการ ที่ต้องการชี้เป้าให้หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ ดำเนินการ ที่สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคอย่างมีนัยสำคัญ
โดยข้อเสนอต้องมีความเชื่อมโยงกับแผนงานโครงการตามนโยบายของรัฐบาล ทั้งแผนงานโครงการที่รัฐบาลได้ดำเนินการหรืออยู่ระหว่างดำเนินการ มีความสำคัญต่อการพัฒนา และแก้ไขปัญหาในระดับกลุ่มจังหวัด ภาค มีข้อมูลผลการศึกษาสนับสนุน ข้อเสนอสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาของพื้นที่กลุ่มจังหวัด ภาค และเชื่อมโยงกับแนวทางการพัฒนาของส่วนราชการที่รับผิดชอบ ข้อเสนอไม่ช้ำซ้อนกับแผนงานโครงการ ของหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ ที่อยู่ระหว่างการดำเนินงานหรือได้รับการจัดสรรงบประมาณในการดำเนินงานแล้ว และการจัดทำข้อเสนอ ให้กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน เป็นผู้พิจารณากสั่นกรองข้อเสนอ ในเบื้องต้น ทุกข้อเสนอ
ข้อแนะนำ ข้อเสนอควรเป็นประเด็นที่สำคัญที่ส่งผลกระทบในวงกว้าง ส่งผลต่อการพัฒนาในระดับกลุ่มจังหวัด ภาค และเกิดประโยชน์ต่อประชาชนในกลุ่มจังหวัด ข้อเสนอจะต้องระบุหน่วยดำเนินการ และต้องเห็นพ้องต้องกันตามข้อเสนอ เป็นข้อเสนอที่มีความพร้อม โดยเฉพาะเรื่องสถานที่ดำเนินโครงการ จะต้องมีการศึกษาประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA) หรือการประเมินผลกระทบทางสังคม (SA) จะต้องมีผลการศึกษาแล้วเสร็จ หากข้อเสนอยังไม่มีรายละเอียดความชัดเจนในแนวทางการดำเนินงาน แต่เป็นความต้องการในการพัฒนา หรือแก้ไขปัญหาของพื้นที่ โดยเฉพาะโครงการที่มีขนาดใหญ่ หรือส่งผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในวงกว้าง อาจจะเสนอขอให้มีการศึกษาก่อนได้
จากนั้นที่ประชุมได้นำเสนอความต้องการการพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน โดยกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน โดยมีลำดับการนำเสนอของกลุ่มจังหวัดในประเด็นการพัฒนาในด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการค้า การลงทุน ด้านการท่องเที่ยว ด้านการเกษตร ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต และด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงคัดเลือกผู้นำเสนอของกลุ่ม เพื่อนำเสนอในการประชุมครั้งนี้ด้วย