RCEP ความตกลงการค้าใหญ่สุดในโลก  สินค้าไทยเกือบ3หมื่นรายการ ภาษี 0% ทันที

09 พ.ย. 2564 | 23:00 น.

ทำความรู้จัก RCEP ความตกลงการค้าใหญ่สุดในโลก  FTA ฉบับที่14 ของไทย ดันสินค้าไทยเกือบ3หมื่นรายการได้อานิสงค์ ภาษีเป็น 0%ทันที เริ่มบังคับใช้1ม.ค.ปีหน้า 

หลังจากที่ไทยได้ให้สัตยาบันความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) เมื่อวันที่ 28 ตุลาคมที่ผ่านมา และล่าสุดประเทศสมาชิก RCEP ได้ให้สัตยาบันครบแล้วตามที่ความตกลงกำหนดไว้ ประกอบด้วย อาเซียน 6 ประเทศ ได้แก่ บรูไน กัมพูชา สปป.ลาว สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม และนอกอาเซียน 4 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่น และนิวซีแลนด์ ทำให้ความตกลง RCEP จะมีผลใช้บังคับในวันที่ 1 มกราคม 2565    ทั้งนี้ความตกลง RCEP จะเป็นความตกลงการค้าเสรี (FTA) ฉบับที่ใหญ่ที่สุดในโลก และถือเป็น FTA ฉบับที่ 14 ของไทย   ซึ่งประโยชน์ที่ไทยจะได้รับจากความตกลง RCEP อาทิ สมาชิก RCEP ยกเลิกภาษีนำเข้าที่เก็บกับสินค้าไทย จำนวน 39,366 รายการ โดยลดภาษีเหลือ 0% ทันที จำนวน 29,891 รายการ

RCEP ความตกลงการค้าใหญ่สุดในโลก   สินค้าไทยเกือบ3หมื่นรายการ ภาษี 0% ทันที

 

เรามาทำความรู้จักความตกลงการค้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก   อย่าง “อาร์เซ็ป” (RCEP)  หรือความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค เป็นสนธิสัญญาการค้าขนาดใหญ่ที่อาเซียนเสนอเพื่อส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศสมาชิกและการค้ากับพันธมิตรในข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) มีประเทศสมาชิก 15ประเทศ ประกอบด้วยสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม พร้อมด้วยคู่ค้าอาเซียนอีก 5 ประเทศ อันได้แก่ ออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และเกาหลีใต้  

RCEP ความตกลงการค้าใหญ่สุดในโลก   สินค้าไทยเกือบ3หมื่นรายการ ภาษี 0% ทันที

 

ทั้งนี้15 ประเทศสมาชิก มีประชากรรวมกัน 2,300 ล้านคน (30.2% ของประชากรโลก) GDP รวมมูลค่า 28.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (33.6% ของ GDP โลก) และมูลค่าการค้ารวม 10.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (30.3% ของมูลค่าการค้าของโลก)   โดยมีจุดมุ่งหมายของความตกลงดังกล่าว คือ สลายอุปสรรคทางการค้าและส่งเสริมการลงทุน เพื่อช่วยให้ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ก้าวทันประเทศอื่นในโลกได้ โดยไทยส่งออกไป RCEP มูลค่า 1.23 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 3.83 ล้านล้านบาท (53.3% ของการส่งออกไทย) สินค้าส่งออกสำคัญ เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้น

RCEP ความตกลงการค้าใหญ่สุดในโลก   สินค้าไทยเกือบ3หมื่นรายการ ภาษี 0% ทันที

ทั้งนี้ ข้อตกลง อาร์เซป เป็นข้อตกลงที่ช่วยขยายโอกาสและสร้างแต้มต่อให้กับสินค้าไทย 90-92% ของสินค้าส่งออกไทยจะไม่ถูกเก็บภาษีนำเข้าจากตลาด RCEP และสำหรับตลาดจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ได้เปิดตลาดเพิ่มเติมให้กับสินค้าไทยใน RCEP เช่น สินค้าประมง แป้งมันสำปะหลัง สับปะรด น้ำมะพร้าว น้ำส้ม อาหารแปรรูป ผักผลไม้แปรรูป   ส่วนประกอบอุปกรณ์ไฟฟ้า พลาสติก เคมีภัณฑ์ ชิ้นส่วนยานยนต์ เส้นใย เครื่องแต่งกาย และกระดาษ เป็นต้น อีกทั้ง ยังเพิ่มทางเลือกในการใช้วัตถุดิบจาก15 ประเทศ RCEP มาผลิตและส่งออกไปตลาด RCEP โดยได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี และการใช้กฎถิ่นกำเนิดสินค้าเดียวกัน ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนและความยุ่งยากในการบริหารจัดการด้วย

RCEP ความตกลงการค้าใหญ่สุดในโลก   สินค้าไทยเกือบ3หมื่นรายการ ภาษี 0% ทันที

นอกจากนี้ RCEP ยังช่วยอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนระหว่างสมาชิก เนื่องจากมีกฎระเบียบมาตรการทางการค้า และพิธีการทางศุลกากรที่สอดคล้องกัน รวมทั้งลดความยุ่งยากและซับซ้อน เช่น การกำหนดเวลาตรวจปล่อยสินค้า ณ ด่านศุลกากร สำหรับสินค้าเร่งด่วนและเน่าเสียง่ายต้องดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 6 ชั่วโมง และสินค้าทั่วไป ภายใน 48 ชั่วโมง เป็นต้น ทั้ง ยังสร้างโอกาสในการขยายตลาดการค้าบริการและการลงทุนโดยเฉพาะธุรกิจที่ไทยมีศักยภาพด้วย

RCEP ความตกลงการค้าใหญ่สุดในโลก   สินค้าไทยเกือบ3หมื่นรายการ ภาษี 0% ทันที

แต่ทั้งนี้กว่าความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP)จะบรรลุความสำเร็จ ใช้เวลาถึง10ปี    โดยเริ่มจากปี 2012: ความตกลง RCEP ถูกนำเสนอขึ้นมาโดยมีเป้าหมายเพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจเชิงลึกระหว่าง 16 ประเทศเอเชีย-แปซิฟิก
ปี2015: เดิมมีแผนบรรลุความตกลง แต่เลยกำหนดเวลาหลายครั้ง
ปี2016: จัดการประชุมหารือรวม 6 รอบ
ปี2017: การประชุมสุดยอด RCEP ครั้งแรก จัดขึ้นที่กรุงมะนิลา เมืองหลวงของฟิลิปปินส์
ปี2018: การประชุมสุดยอด RCEP ครั้งที่สอง จัดขึ้นที่สิงคโปร์
ปี2019: ขับเคลื่อนการเจรจาเพื่อเร่งหาข้อสรุปที่กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของไทย โดย 15 ประเทศที่เข้าร่วม RCEP สรุปข้อตกลงทั้ง 20 ข้อบท และประเด็นการเข้าถึงตลาดทั้งหมด มีเป้าหมายที่จะลงนามสนธิสัญญาการค้าเสรีขนาดใหญ่ในปีถัดไป
ปี2020: อยู่ระหว่างลงนามสัตยาบัน
ปี2021: 10ประเทศสมาชิกมีการลงนามสัตยาบัน และจะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการมกราคมปี2022 โดยสินค้าไทยได้อานิสงค์กว่า2.9หมื่นรายการ ที่จะเสียภาษี0%  ซึ่งจะช่วยให้การส่งออกของไทยขยายตัวอย่างต่อเนื่อง