เกาะติดโอนเงินเยียวยาเกษตรกรล่าสุด 2564 65 หลังจาก ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. โอนเงินเยียวยาให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในงวดที่ 1 และ 2 ตั้งแต่วันที่ 9 พ.ย.ที่ผ่านมา
ล่าสุดวันนี้ 16 พ.ย. ธ.ก.ส.สาขาสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี พร้อมโอนเงินเยียวยาเกษตรกร งวดที่ 1 และ 2 ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวจำนวน 5 ชนิด รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 130,075,636.79 บาท รายละเอียด ดังนี้
• วันอังคารที่ 9 พ.ย 2564 ตำบลต้นตาล หมู่ 1-6 จำนวน 7,188.493.76 บาท , ตำบลสองพี่น้อง 3,005,47823 บาท
• วันพุธที่ 10 พ.ย 2564 ตำบลหัวโพธิ์ หมู่ที่ 1-14 จำนวน 14,128,551.99 บาท, ตำบลบางเลน หมู่ที่ 1-6จำนวน 10,078,839.47 บาท
• วันพฤหัสบดี 11 พ.ย 2564 ตำบลบ้านกุ่ม หมู่ที่ 1-6 จำนวน 11,058,592.14 บาท, ตำบลบางพลับ หมู่ที่ 1-7 จำนวน 9,370,519.81 บาท
• วันศุกร์ที่ 12 พ.ย 2564 ตำบลบางตะเคียน หมู่ที่ 1-8 จำนวน 9,328,750.30 บาท, ตำบลเนินพระปรางค์ หมู่ที่ 1-5 จำนวน 4,298,062.20 บาท
• วันจันทร์ที่ 15 พ.ย 2564 ตำบลบ้านช้าง หมู่ที่ 1-5 จำนวน 16,068,636.93 บาท , อื่น ๆ จำนวน 5,229,484.37 บาท
สำหรับการชดเชยส่วนต่างระหว่างราคาประกันรายได้กับราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง สำหรับการจ่ายเงินงวดที่ 1 ในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2564 ดังนี้
1. ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 4,135.77 บาท
2. ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 3,592.25 บาท
3. ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 1,052.13 บาท
4. ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 1,934.62 บาท
5. ข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 4,337.47 บาท
ก่อนหน้านี้ นายสมเกียรติ กิมาวหา รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ตามที่ คณะกรรมการ ธ.ก.ส. ในการประชุมเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2564 และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2564 ซึ่งเสนอโดยกระทรวงพาณิชย์ เห็นชอบให้ ธ.ก.ส. ดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 วงเงินรวม 13,225 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว และป้องกันความเสี่ยงด้านราคาไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุน ลดภาระค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลก การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และอุทกภัย
โดยที่กลไกตลาดยังคงทำงานเป็นปกติ โดยประกันรายได้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว 5 ชนิด ได้แก่ ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน ข้าวเปลือกหอมมะลินอกเขต ตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน โดยเริ่มจ่ายรอบแรกวันที่ 9 พฤศจิกายน 2564 ซึ่งมีเกษตรกรได้รับประโยชน์จำนวน 492,571 ครัวเรือน เป็นเงิน 10,920 ล้านบาท.
ที่มา: ธ.ก.ส. สาขาสองพี่น้อง