คนละครึ่งเฟส 3 www.คนละครึ่ง.com ใช้ได้ถึงวันไหน อัพเดทที่นี่ด่วน

30 พ.ย. 2564 | 09:25 น.
อัปเดตล่าสุด :01 ธ.ค. 2564 | 17:13 น.

คนละครึ่งเฟส 3 www.คนละครึ่ง.com ใช้ได้ถึงวันไหน หลัง กระทรวงการคลัง โอนเงินเข้าแอปฯเป๋าตัง ให้ผู้ลงทะเบียนสำเร็จ 28 ล้านรายแล้ว อัพเดทที่นี่

อัพเดท คนละครึ่งเฟส 3 กระทรวงการคลัง เปิดให้ประชาชนลงทะเบียน www.คนละครึ่ง.com  สำเร็จจำนวน 28 ล้านราย สำหรับวัตถุประสงค์ของโครงการดังกล่าวเพื่อช่วยบรรเทาประชาชนจากการแพร่ระบาดเชื้อโควิด 19 โดยรัฐบาลช่วยเหลือในสัดส่วน 50%

 

 

เงื่อนไขใช้สิทธิ

รัฐช่วยจ่าย 50% ผู้ได้รับสิทธิจ่ายเอง 50% โดยใช้สิทธิผ่านแอปฯ เป๋าตัง

  1. จำกัดสิทธิไม่เกิน 150 บาท/วัน โดยที่ยอดรวมการใช้สิทธิ “คนละครึ่ง” จากเดิมจำนวน 3,000 บาท เพิ่มอีก 1,500 บาท ตลอดโครงการ
  2. ไม่หักสิทธิ หากใช้ไม่หมดในแต่ละวัน โดยระบบจะคืนสิทธิที่ไม่ได้ใช้เข้ายอดรวมของผู้ได้รับสิทธิ และจะคำนวณสิทธิใหม่ในเวลา 6.00 น. ของทุกวัน
  3. ใช้สิทธิได้ที่ร้านค้าที่ร่วมโครงการฯ เท่านั้น
  4. ใช้ได้เวลา 06.00 - 23.00 น. ไม่สามารถใช้สิทธิ คนละครึ่ง นอกเวลาดังกล่าวได้

 

 

คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ

  1. มีบัตรประจำตัวประชาชนและเป็นบุคคลสัญชาติไทย
  2. อายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ณ วันที่ลงทะเบียน
  3. ประชาชนสามารถเลือกลงทะเบียนได้ 1 โครงการเท่านั้น
  4. ไม่เป็นผู้ได้รับสิทธิโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
  • สำหรับผู้ได้รับสิทธิบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ สามารถตรวจสอบมาตรการสนับสนุนเพิ่มเติมจากภาครัฐฯ ได้ที่ www.cgd.go.th
  • ไม่เป็นผู้ได้รับสิทธิโครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ (ผ่านบัตรประชาชน) โดยตรวจสอบผู้ได้รับสิทธิผ่านบัตรประชาชนได้จาก www.เราชนะ.com

5.ไม่เป็นผู้ใช้สิทธิโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้

 

ระยะเวลาใช้จ่าย

  • สามารถใช้จ่ายในโครงการคนละครึ่งได้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564

 

 

คนละครึ่งเฟส 3

 

ยอดใช้จ่ายสะสม 172,820 ล้านบาท

 

ก่อนหน้านี้ นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า จากข้อมูล ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2564 โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 และโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ มีความคืบหน้า ดังนี้

 

 

โครงการคนละครึ่งเฟส 3 มีผู้ใช้สิทธิสะสมจำนวน 26.15 ล้านราย จากผู้ได้รับสิทธิจำนวน 27.98 ล้านราย โดยมียอดการใช้จ่ายสะสมรวม 172,820 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินที่ประชาชนจ่ายสะสม 87,808 ล้านบาท และรัฐร่วมจ่ายสะสม 85,012 ล้านบาท

 

 

และมียอดใช้จ่ายสะสมแบ่งตามประเภทตามร้านค้า ได้แก่ ร้านอาหารและเครื่องดื่ม 67,773.2 ล้านบาท ร้านธงฟ้า 28,211.8 ล้านบาท ร้าน OTOP 8,368 ล้านบาท ร้านค้าทั่วไป 65,345.9 ล้านบาท ร้านบริการ 2,949.8 ล้านบาท และกิจการขนส่งสาธารณะ 171.3 ล้านบาท.

 

ที่มา: คนละครึ่งเฟส 3