“หญ้าแม่มด” เป็นวัชพืชกักกัน (quarantine weed) ที่ทุกประเทศรังเกียจ และใช้เป็นข้อกีดกันทางการค้า และในขณะนี้กำลังระบาดอยู่ที่จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อปีที่แล้ว หญ้าแม่มด กลับมาอือฮาอีกครั้งในยุคโควิด-19 กลายเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ รับซื้อกิโลกรัมละ 300 บาท ชาวบ้านแตกตื่น พยายามกว้านหาเพื่อที่จะนำมาขาย ปีนี้เป็นอย่างไรบ้าง มาอัพเดทกัน
วันที่ 6 ธันวาคม 2564 ดร.จรรยา มณีโชติ นายกสมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า วันนี้ทางสมาคมได้ลงพื้นที่ไปดูวัชพืชร้ายแรง “หญ้าแม่มด” ในไร่อ้อย อ พยุหะคีรี จ. นครสวรรค์ยังไม่หมด ลงพื้นที่มาถามเกษตรกร ซึ่งปีนี้เยอะมาก ประเทศจีนมีการรับซื้อ "หญ้าแม่มด" ประมาณช่วงกลางปีเกษตรกรขายได้กิโลกรัมละ 600 บาท ตากแดดเดียว ซึ่งจะมีทีมงานมาเก็บ
แต่ตอนหลังมี "หญ้าแม่มด" มีลักษณะดอกสีเหลือง ประเทศกัมพูชา และ เมียนมามาตีตลาด ตอนนี้ทำให้ของประเทศไทย ซึ่งมีลักษณะดอกสีขาวราคาปรับลดราคาลงเหลือ กิโลกรัมละ 200 บาท แล้วทีมจีนก็มาไล่เก็บในพื้นที่นครสวรรค์ เกษตรกรเองก็คิดว่าในเมื่อไม่ได้ผลผลิตจากราคาอ้อยแล้วก็เก็บขาย ก็จะยิ่งระบาดไปอีก น่ากลัว เพราะ "หญ้าแม่มด ขายได้
"กรมวิชาการเกษตร" ก็ไม่ยอมออกมาพูดเสียทีว่าเป็นวัชพืชที่ต้องควบคุมดูแล และต้องออกมาจัดการ แต่กลับไม่ทำอะไรเลย สมาคมกระทุ้งเท่าไรก็เฉย ทั้งที่ความจริงการเคลื่อนย้ายมีโทษตามกฎหมายอยู่แล้ว เพราะเป็นวัชพืชกักกัน”
“หญ้าแม่มด” เหมือนกับโรคใบด่างมันสำปะหลัง ต้องมีการประกาศพื้นที่เขตควบคุม เพราะอันตรายกว่า โรคใบด่างมันสำปะหลัง ซึ่งเมล็ดสามารถติดไปกับสินค้าการเกษตรได้ แล้วถ้าความแตกในประเทศไทยมี "หญ้าแม่มด" การส่งออกข้าว ไปแคนาดา และรัสเซียต้องเดือดร้อน รวมทั้งข้าวโพด และข้าวฟ่างด้วย แต่ถ้าเราปล่อยแล้วให้เกษตรกรเก็บขายด้วยก็จะยิ่งบานปลายไปกันใหญ่ ปล่อยมากี่แล้ว
ดร.จรรยา กล่าวว่าทางสมาคมได้รายงานไปตั้งแต่ปี 2560 แล้ว ก็ยังไม่ยอมทำอะไรกัน เพราะคิดว่าเกษตรกรเปลี่ยนพืชไปเป็นมันสำปะหลัง และอื่นๆ ได้ผลตอบแทนเท่ากับอ้อยหรือไม่ก็คงไม่ แต่ก็ต้องทำ หญ้าแม่มดไม่ได้หาย แต่รอว่าถ้ากลับมาปลูกอ้อยก็ฟื้นคืนชีพใหม่อีกครั้ง เพราะอยู่ในพื้นดินได้ 15 ปี ไม่มีอาหาร "หญ้าแม่มด" ก็ไม่งอก
“หญ้าแม่มด” มีอายุระหว่าง 19-20 วัน สูงประมาณ 15-40 เซนติเมตร ลักษณะดอกเป็นดอกเดี่ยวมีทั้งสายพันธุ์สีขาวและสีเหลือง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดโดย 1 ต้นสามารถสร้างเมล็ดพันธุ์ได้ถึง 200,000 เมล็ด ความเสียหายที่ก่อเกิดขึ้น รากของหญ้าจะแทงรากไปที่รากของพืชที่เราปลูกและทำการดูดน้ำเลี้ยงของต้นพืชและสารอาหาร เช่น ปุ๋ย ฮอร์โมนที่เราใส่ลงไป จนส่งผลให้ต้นพืชแห้งตาย
“หญ้าแม่มด” จะเติบโตได้ดีในพื้นที่ ดินทราย ดินร่วนที่ระบายน้ำได้ดี การกำจัดด้วย "สารไกลโฟเซต" ไม่สามารถจัดการได้ เนื่องจากลำต้นจนถึงใบจะมีขนสีขาวปกคลุมทำให้ยาไม่สามารถดูดซึมไปทำรายได้ โดยสารที่กำจัดได้ได้แก่ "สารพาราควอต" แต่น่าเสียดายที่ทางการได้แบนสารนี้ไปแล้ว
อย่างไรก็ดีเมล็ดมีขนาดเล็กมากคล้ายฝุ่นสามารถติดไปกับเสื้อผ้ารองเท้า เศษดินตามล้อรถไถ หรือปลิวไปตามลม ๆ เป็นวัชพืชที่เป็นกาฝากที่รากของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว เช่น อ้อย ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ข้าวฟ่างหางหมา ข้าวไร่ และวัชพืชใบแคบ วงจรชีวิตประมาณ 90-120 วัน สามารถแทงรากเข้าไปดูดกินน้ำเลี้ยงในรากพืชปลูกได้ ทำให้พืชประธานแคระแกรนและแห้งตาย
ดร.จรรยา กล่าวว่า อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ออกมาสำรวจว่าในตอนนี้หญ้าแม่มด ที่ระบาดจังหวัดนครสวรรค์ ระบาดไปกี่อำเภอแล้ว ควรจะมากำหนดเขตแล้ว เพราะเป็นช่วงที่จะตัดอ้อย โรงงานจะเปิดหีบแล้ว เพราะฉะนั้นแปลงที่มีปัญหาการระบาดก็มีโอกาส เพราะรถตัดอ้อย เหมือนกับรถรับจ้างเกี่ยวข้าวสามารถที่จะเป็นตัวพาไปตัดแปลงนี้ดินติดล้อไปก็จะทำให้ไประบาดอีกแปลงหนึ่ง
ต้องเตือนภัย ไม่เช่นนั้นก็จะยิ่งทำให้ระบาดกันไปทั้งประเทศ เพราะรถตัดอ้อยวิ่งข้ามจังหวัด วิ่งข้ามอำเภอก็มี วิ่งไปทั่ว หรือ การขนอ้อยข้ามแขตไปขายโรงงานน้ำตาลอื่นก็มีโอกาสที่จะติดไปกับตัวดินท่อนพันธุ์ เพราะมีขนาดเล็กมาก ดังนั้นก่อนที่จะเกิดความเสียหาย ภาครัฐควรจะออกมาเตือนภัย เห็นแล้วจะปล่อยให้เกษตรกรรับกรรมหรืออย่างไร ด้วยความที่ไม่รู้ และยิ่งมีคนมาเก็บขายก็ดี เพราะไม่รู้ว่าเป็นภัยร้ายแรงซ่อนอยู่
ดร.จรรยา สมาคมเตือนก็ไม่เหมือนราชการเตือน เพราะไม่มีให้คุณให้โทษ แต่ราชการถือกฎหมาย พระราชบัญญัติกักพืชฯ ต้องทำ เพราะเป็นวัชพืชกักกัน ต้องประกาศเขตควบคุมว่าต้องที่จะต้องมาทำเข้าออกเขตนี้ ไม่ว่าจะเป็นรถไถ รถเกี่ยวอ้อย ห้ามเคลื่อนย้ายออกจากนอกเขตก็ต้องทำคล้ายเลียนโมเดลโรคใบด่างมันสำปะหลัง
แต่ถ้าหากปล่อยให้เหตุการณ์นี้ดำเนินต่อไป เกรงว่าจะเกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงกับพื้นที่เพาะปลูกอ้อยและแหล่งผลิตข้าวโพดข้าวฟ่างทั่วประเทศ
ดังนั้น สมาคมฯ จึงขอเรียกร้องให้ สำนักงาน คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรมในฐานะผู้รับผิดชอบโดยตรงในเรื่องนี้ เรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น สมาคมชาวไรอ้อย สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย สมาคมผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ สมาคมผู้ค้าอาหารสัตว์ และกรมวิชาการเกษตร เพื่อกำหนดมาตรการควบคุมและเฝ้าระวังการระบาดของหญ้าแม่มด ให้เกิดประสิทธิภาวะะและเป็นรูปธรรมโดยเร็ว
เพื่อป้องกันการระบาดที่จะแผ่ขยายวงกว้างไปทั่วแหล่งปลูกอ้อย ข้าวโพด และ ข้าวฟ่างของประเทศไทย จนเกิดผลกระทบรุนแรงต่อการส่งออกเมล็ดธัญพืชของไทย