เปิดภาพ Micro Fullmoon คืนพระจันทร์เต็มดวง 2564 ไกลโลกที่สุดในรอบปี

19 ธ.ค. 2564 | 13:30 น.
อัปเดตล่าสุด :19 ธ.ค. 2564 | 23:36 น.

เปิดภาพ Micro Fullmoon (ไมโครฟูลมูน) คืนพระจันทร์เต็มดวง 2564 ตรงกับวันที่ 19 ธ.ค. NARIT เผยล่าสุด โคจรอยู่ในระยะไกลโลกมากที่สุดในรอบปี

วันที่ 19 ธันวาคม 2564 ฐานเศรษฐกิจ นำภาพ Micro Fullmoon  (ไมโครฟูลมูน) ในคืนวันนี้ หรือ พระจันทร์เต็มดวง 2564 ซึ่งเป็นการโคจรของพระจันทร์อยู่ในระยะไกลโลกมากที่สุดในรอบปี  
 

เปิดภาพ Micro Fullmoon คืนพระจันทร์เต็มดวง 2564 ไกลโลกที่สุดในรอบปี


โดยแฟนเพจ NARIT หรือ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ระบุว่า คืนนี้ 19 ธันวาคม 2564 มีปรากฏการณ์ดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี #MicroFullMoon เป็นคืนจันทร์เต็มดวงที่ดวงจันทร์จะโคจรอยู่ในระยะไกลโลกมากที่สุดในรอบปี หรือเรียกว่า “ไมโครฟูลมูน”
 

เปิดภาพ Micro Fullmoon คืนพระจันทร์เต็มดวง 2564 ไกลโลกที่สุดในรอบปี

ระยะห่างจากโลกประมาณ 405,924 กิโลเมตร เราจะมองเห็นดวงจันทร์เต็มดวงมีขนาดปรากฏเล็กสุดในรอบปี เริ่มสังเกตดวงจันทร์ได้ด้วยตาเปล่าทางทิศตะวันออก หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า เวลาประมาณ 18:00 น. เป็นต้นไปจนถึงรุ่งเช้า 
 

เปิดภาพ Micro Fullmoon คืนพระจันทร์เต็มดวง 2564 ไกลโลกที่สุดในรอบปี

ขณะเดียวกัน ทวิตเตอร์ที่ชื่อว่า 1197 สายด่วนจราจร @Traffic_1197 ทำการเปิดเผยภาพไมโครฟูลมูนเช่นกัน โดยอ้างอิงที่มาจากทวิตเตอร์ที่ชื่อว่า @jamboree08 ระบุว่าค่ำคืนวันอาทิตย์นี้ พระจันทร์เต็มดวงสาดส่องบนท้องฟ้าท่ามกลางมีเมฆมาก ทำให้ไม่สดใสเท่าไหร่ครับ #microfullmoon

เปิดภาพ Micro Fullmoon คืนพระจันทร์เต็มดวง 2564 ไกลโลกที่สุดในรอบปี


และอีกภาพ ผู้ใช่ทวิตเตอร์ที่ชื่อว่า @beeing747 ทวีตภาพโดยระบุข้อความว่า จันทร์​เต็ม​ดวงไกลโลกที่สุด​ใน​รอบปี #microfullmoon ที่ลาดพร้าว​ครับ​
 

เปิดภาพ Micro Fullmoon คืนพระจันทร์เต็มดวง 2564 ไกลโลกที่สุดในรอบปี



ดวงจันทร์โคจรรอบโลกเป็นวงรี 1 รอบ ใช้เวลาประมาณ 27.3 วัน ในแต่ละเดือนจะมีทั้งวันที่ดวงจันทร์ใกล้โลกและไกลโลก ตำแหน่งที่ดวงจันทร์ใกล้โลกที่สุด เรียกว่า เปริจี (Perigee) มีระยะห่างเฉลี่ยประมาณ 357,000 กิโลเมตร และตำแหน่งที่ดวงจันทร์ไกลโลกที่สุด เรียกว่า อะโปจี (Apogee) มีระยะห่างเฉลี่ยประมาณ 406,000 กิโลเมตร การที่ผู้คนบนโลกมองเห็นดวงจันทร์เต็มดวงในคืนที่ดวงจันทร์โคจรเข้ามาใกล้หรือไกลโลกมีขนาดที่แตกต่างกัน นับเป็นเหตุการณ์ปกติที่สามารถอธิบายได้ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์.

 

ที่มา: NARIT