เทศกาลยื่นภาษี ใกล้เข้ามาแล้ว ผู้ประกันตนมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 เงินสมทบ ใช้ลดหย่อนภาษีได้
ต้นปี 2565 กรมสรรพากรให้ประชาชนที่มีเงินได้หรือรายได้ตามเกณฑ์กำหนด ยื่นภาษีโดยนำรายได้มาหักค่าใช้จ่ายลดหย่อนภาษี แต่ละคนจะมีสิทธิการลดหย่อนที่แตกต่างกัน ซึ่งเงินสมทบประกันสังคมก็สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ ใครอยู่มาตราไหน เช็กได้เลย
ผู้ประกันตน มาตรา 33
สามารถขอเอกสารได้ที่สถานประกอบการที่ตนเองทำงานอยู่ โดยนายจ้างจะออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งจะแสดงยอดประเภทเงินได้พึงประเมินที่จ่าย และจำนวนเงินสมทบประกันสังคมที่หักไว้ เพื่อใช้สำหรับยื่นเสียภาษีประจำปี เงินสมทบมาตรา 33 สามารถนำไปลดหย่อนภาษีประจำปีได้ ตามจำนวนเงินที่จ่ายจริง ไม่เกิน 9,000 บาท (750x12 เดือน = 9,000 บาท)
แต่ปี 2564 มีการลดอัตราเงินสมทบ ม.33 จะลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 5,100 บาท ดังนี้
ผู้ประกันตน มาตรา 39
เงินสมทบมาตรา 39 สามารถนำไปลดหย่อนภาษีประจำปีได้ ตามจำนวนเงินที่จ่ายจริง ไม่เกิน 5,184 บาท (432x12เดือน = 5,184 บาท)
แต่ปี 2564 มีการลดอัตราเงินสมทบ ม.39 จะลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 3,003 บาท
ดังนี้
ผู้ประกันตน มาตรา 40
เงินสมทบมาตรา 40 สามารถนำไปลดหย่อนภาษีประจำปีได้ ตามจำนวนเงินที่จ่ายจริง ไม่เกิน 3,600 บาท (300x12 เดือน = 3,600 บาท)
แต่ปี 2564 มีการลดอัตราเงินสมทบ ม.40 ดังนี้
ทางเลือกที่ 1 ส่งเงินสมทบ สูงสุดไม่เกิน 700 บาท
ทางเลือกที่ 2 ส่งเงินสมทบ สูงสุดไม่เกิน 1,000 บาท
ทางเลือกที่ 3 ส่งเงินสมทบ สูงสุดไม่เกิน 3,000 บาท
ทั้งนี้ผู้ประกันตน สามารถนำบัตรประชาชนตัวจริง ไปติดต่อขอคัดสำเนาการนำส่งเงินสมทบ เพื่อนำไปลดหย่อนภาษี ได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ทุกแห่ง (ยกเว้น สำนักงานใหญ่ บริเวณกระทรวงสาธารณสุข)
เงื่อนไขการลดหย่อนภาษีเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันสังคมได้ที่ www.sso.go.th หรือโทรสายด่วน 1506 ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง4
ที่มา : สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน