นายสมคิด จันทมฤก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน (พช.) เปิดเผยว่า กรมฯได้ดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) กลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา (Quadrant D) ให้มีคุณภาพมาตรฐานประเภทอาหารและประเภทเครื่องดื่ม เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ค้นหาแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ วิเคราะห์ศักยภาพและจุดอ่อนของผลิตภัณฑ์ หรือบรรจุภัณฑ์/ฉลาก หรือช่องทางการจำหน่ายของผู้ประกอบการกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 791 ผลิตภัณฑ์
ทั้งนี้ จากการดำเนินงานโครงการดังกล่าว จึงต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ผู้บริโภค พัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้ดูทันสมัย สวยงาม และชวนซื้อ เหมาะแก่เป็นของฝากได้ทุกเทศกาล การยืดอายุการเก็บรักษา และความโดดเด่นของผลิตภัณฑ์ที่ชัดเจน ทำให้ผู้ประกอบการได้เปลี่ยนรูปแบบการขายขึ้นสู่ platform on line อาทิ shopee , Lazada , page Facebook และ on line ในรูปแบบต่าง ๆ ที่ผู้ประกอบการมีความเหมาะและสอดคล้องกับผลิตภัณฑ์
ซึ่งในช่องทางดำเนินงานโครงการ ฯ มีการทดสอบตลาด online จำนวน 15 วัน ซึ่งปรากฏว่าสินค้าที่เข้าร่วมโครงการสามารถขายได้ยอดจำหน่ายกว่า 500,000 บาท ส่วนสินค้าที่มียอดจำหน่ายสูง 5 ลำดับได้แก่ 1. ภาคอีสาน ข้าวฮาง ข้าวกล้อง จ.บุรีรัมย์ ยอดขาย 12,000 บาท 2. ภาคอีสาน ตำรับย่า จ.นครราชสีมา ยอดขาย 10,000 บาท
3. ภาคเหนือ กล้วยตาก จ.พิษณุโลก ยอดขาย 9,500 บาท 4. ภาคกลาง ซันชายน์ กล้วยหอมทองตาก 100% จ.เพชรบุรี ยอดขาย 8,500 บาท และ 5. ภาคใต้ น้ำพริกแม่หญิงเบญจา จ.กระบี่ ยอดขาย 8,000 บาท
อย่างไรก็ดี จากกิจกรรมทดสอบตลาด ผลิตภัณฑ์จากโครงการฯ ที่ได้คัดเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพฯ จำนวน 791 ผลิตภัณฑ์ เพื่อเข้าสู่กิจกรรมทดสอบตลาด จำนวน 6 วันที่ผ่านมา มียอดขายกว่า 520,066 บาท สินค้าที่มีอดจำหน่ายสูง 5 ลำดับได้แก่ 1. ใจดีกรอบแก้ว (ถั่วขนมขบเคี้ยว) จ.นครปฐม ยอดขาย 68,200 บาท
2. ภูเก็จแก้ว (น้ำปลาหวาน) จ.ภูเก็ต ยอดขาย 54,050 บาท 3. ข้าวยำสมุนไพร (ขนมจีนปู) จ.สตูล ยอดขาย 34,500 บาท 4. ครัวอันดามัน อาหารปักษ์ใต้ จ.สตูล ยอดขาย 27,830 บาท และ 5. ร่วมใจพัฒนา (โรตี) จ.สตูล ยอดขาย 26,499 บาท
“กรมการพัฒนาชุมชน จะต่อยอดโครงการโดยการส่งเสริมช่องทางการตลาดออนไลน์กับผู้ผลิต ผู้ประกอบการเหล่านี้ รวมถึงการนำสินค้าไปจำหน่ายในห้าง Modern Trade และช่องทางการตลาดอื่น ๆ โดยผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ จะดำเนินการพัฒนาให้เป็นสินค้า Premium เพื่อการส่งออกต่อไป"
นายสมคิด กล่าวต่อไปว่า ตามที่กรมฯได้ดำเนินงานโครงการ OTOP ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP จำนวน 94,656 กลุ่ม/ราย และมีผลิตภัณฑ์ OTOP จำนวน 211,371 ผลิตภัณฑ์ ในจำนวนนี้แยกเป็นผลิตภัณฑ์ ในกลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนาจำนวน 164,536 ผลิตภัณฑ์ ซึ่งกลุ่มนี้มีข้อจำกัดเรื่องคุณภาพมาตรฐาน รูปแบบ
และบรรจุภัณฑ์ ยังไม่สวยงามโดดเด่น ไม่ตรงกับความต้องการของตลาด ผู้ผลิต ผู้ประกอบการยังขาดองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ดังนั้นกรมฯ จึงได้ดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ OTOP กลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนาดังกล่าว