เช็กอาการโควิด 19 โอมิครอน เป็นอย่างไร ส่งผลกระทบต่อร่างกายส่วนไหนอ่านด่วน

05 ม.ค. 2565 | 10:27 น.
อัปเดตล่าสุด :05 ม.ค. 2565 | 17:34 น.

เช็กอาการโควิด 19 โอมิครอน เป็นอย่างไร ส่งผลกระทบต่อร่างกายส่วนไหน ตรวจแบบไหนได้ผลตรงที่สุดอ่านด่วนได้ที่นี่

จากกรณีที่การแพร่ระบาดเชื้อโควิด 19 ยังมีอยู่ต่อเนื่อง โดยเฉพาะไวรัสตัวใหม่ โอมิครอน  

สำหรับอาการโควิด 19 โอมิครอน เป็นอย่างไรนั้น  ล่าสุด ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ (หมอยง) หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสเฟซบุ๊ก (Yong Poovorawan) โดยมีข้อความว่า โควิด-19  สายพันธุ์ โอมิครอน (Omicron) เรารู้มากขึ้น โอมิครอน  ที่ผ่านมากว่า 1 เดือนเรามีข้อมูลและรู้จัก โอมิครอน มากขึ้น 

 

เรารู้ว่าติดต่อง่ายกว่าสายพันธุ์เดิมที่เคยมีมา เรารู้ว่าหลบหลีกภูมิต้านทาน การให้วัคซีน 2 เข็มไม่เพียงพอแน่นอน ต้องการระดับภูมิต้านทานที่อยู่สูงตลอดเวลา เพื่อลดความรุนแรงของโรค

 

เรารู้ว่า โอมิครอน รุนแรงน้อยกว่าสายพันธุ์อื่นที่ผ่านมา จากข้อมูลของแอฟริกาใต้ อังกฤษและเดนมาร์ก เห็นชัดเจนว่าผู้ป่วยจำนวนมากขึ้น แต่จำนวนที่จะต้องเข้าโรงพยาบาลเป็นเพียง 1 ใน 3 ของสายพันธุ์เดลตา และมีอัตราการเสียชีวิตน้อยลง
 

 เรารู้ว่า โอมิครอน ชอบระบบทางเดินหายใจส่วนบน มากกว่าที่จะลงปอด


เรารู้ว่าถ้าจะตรวจหาโอมิครอน ใช้ตัวอย่างทางน้ำลาย ตรวจได้ดี และดีกว่าป้ายจากจมูก เพราะเชื้อชอบลำคอ 


เรารู้ว่าขณะนี้ทั่วโลกมีการระบาดอย่างมาก โดยเฉพาะในทวีปอเมริกาเหนือ และยุโรป ทั้งที่ฉีดวัคซีน mRNA เป็นวัคซีนหลัก


สายพันธุ์นี้ได้ระบาดไปทั่วโลกแล้ว และกำลังมีอัตราเร่งเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่อัตราการเสียชีวิตไม่ได้เพิ่มขึ้นตาม ดังแสดงในรูป ข้อมูลขององค์การอนามัยโลก ทั่วโลกขณะนี้มีอัตราการเสียชีวิตลดลงอย่างมาก ถ้าเปรียบเทียบกับการระบาดในปีแรก 

 

ในยุโรปและอเมริกามีอัตราการติดเชื้อพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว จะว่าเป็นไปตามฤดูกาลของไข้หวัดใหญ่ในซีกโลกเหนือ จะระบาดมากในฤดูหนาว จริงหรือไม่


ถ้าเป็นเช่นนั้น ทำไมออสเตรเลียซึ่งเป็นซีกโลกใต้ ไม่ใช่ฤดูการระบาดของไข้หวัดใหญ่ ก็มีอุบัติการณ์ที่เพิ่มสูงขึ้นด้วยเช่นกัน ดังแสดงในรูป ข้อมูลขององค์การอนามัยโลก Covid-19 dashboard 

 

ทำไม อินโดนีเซีย และชิลี ยังไม่มีการระบาดมากแบบออสเตรเลียซึ่งอยู่ซีกโลกใต้ ฤดูกาลหรืออากาศหนาวก็ไม่น่าจะเป็นเหตุ


ประเทศไทยคงจะต้องถอดบทเรียนจากประเทศต่างๆเพื่อมาใช้ในมาตรการป้องกัน และเราจะต้องอยู่ด้วยกันได้


โอมิครอน อาจจะมาช่วยปิดเกม เพราะ เราเร่งการฉีดวัคซีน ทำได้เฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้ว ประเทศที่กำลังพัฒนา อาจจะต้องให้ โอมิครอน ช่วยสร้างภูมิต้านทานให้ โอมิครอน อาจจะไม่ดีสำหรับบริษัทวัคซีนก็ได้

 

 

 

โอมิครอน

สำหรับยอดติดเชื้อโควิด 19 โอมิครอน วันพุธที่ 5 มกราคม 2565 ดังนี้

สถานการณ์การติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศ

ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564

ผู้ป่วยรายใหม่ 3,899 ราย

ผู้ป่วยยืนยันสะสม 2,210,612 ราย

หายป่วยแล้ว 2,155,403 ราย

เสียชีวิตสะสม 21,675 ราย

 

ข้อมูลสะสมตั้งแต่ปี 2563

ผู้ป่วยยืนยันสะสม 2,239,475 ราย

หายป่วยแล้ว 2,182,829 ราย

เสียชีวิตสะสม 21,769 ราย

ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 4 มกราคม 2565

มีผู้รับวัคซีน สะสมทั้งหมด จำนวน 104,544,852 โดส.

 

 

ที่มา: ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ (หมอยง)