อัพเดท คืบหน้าโครงการประกันรายได้เกษตรกร “ประกันรายได้ยางพารา” ตามมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 เห็นชอบให้ดำเนินการโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 3 ใช้วงเงินรวมงบประมาณทั้งสิ้น 10,065,687,645.28 บาท สำหรับเกษตรกรชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนกับการยางแห่งประเทศไทย (กยท. ) ทั้งบัตรสีเขียว และ บัตรสีชมพู
สำหรับเกษตรกรชาวสวนยาง ที่แจ้งข้อมูลพื้นที่ปลูกยาง กับ กยท. ภายในวันที่ 14 มิถุนายน 2564 จำนวน 1,880,458 ราย เกษตรกรชาวสวนยาง เช็กสิทธิ์ ผ่านลิงค์ https://www.raot.co.th/gir/index/ และตรวจสอบสถานะการโอนเงินได้ https://chongkho.inbaac.com/ บัญชี ธ.ก.ส. ตลอด 24 ชั่วโมง ล่าสุดหลายคนเช็กเงินแล้ว มีเข้าแล้ววันนี้
นายสุนทร รักษ์รงค์ กรรมการการยางแห่งประเทศไทย และในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิในคณะทำงานกำหนดราคากลางอ้างอิง เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า โครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 3 งวด ที่ 3 ประจำเดือนธันวาคม มีระเบียบวาระการประชุมกำหนดราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง ครั้งที่ 2 เนื่องจาก ครั้งที่ 1 นั้นได้มีการจ่ายเคาะเงินชดเชยไปแล้วพร้อมกัน (ประจำเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2564) ไปแล้ว
สำหรับงวดที่ 3 "ประกันรายได้ยางพารา" ประจำเดือน “ธันวาคม” ปี 2564
"ยางแผ่นดิบ" จ่ายชดเชย 5.15 บาท/กิโลกรัม
"น้ำยางสด" จ่ายชดเชย 5.97บาท/กิโลกรัม
"น้ำยางก้อนถ้วย" ไม่ต้องจ่ายชดเชย สูงกว่าราคาประกัน
นายสุนทร กล่าวว่า ถึงกรณีน้ำยางก้อนถ้วย ที่ไม่ได้รับเงินชดเชยในงวด 1-3 เพราะราคากลางอ้างอิงสูงกว่าราคาประกันรายได้ และทุกเฟสก็ใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน หลายคนบอกว่าพ่อค้าท้องถิ่นซื้อต่ำกว่า 23 บาท ควรจะได้รับการชดเชย อันนี้ทำไม่ได้ คนจ่ายเงินจะติดคุก แล้วก็ราคากลางอ้างอิงต้องใช้ราคาตลาดกลางยางพาราจากทั่วประเทศมาหารเฉลี่ย
แต่ถ้าใช้ราคาท้องถิ่น ซึ่งแต่ละพื้นที่มีราคาไม่เท่ากัน จำนวนมีดที่กรีดก็ไม่เหมือนกัน ทำให้ DRC ไม่เท่ากัน ส่งผลต่อการกำหนดราคา ไม่สามารถเอามาอ้างอิงได้ เจ้าหน้าที่ของรัฐจะมีความผิด เพราะเกินกรอบกฎหมายหรือที่ มติ ครม. กำหนด
นายสุนทร กล่าวว่า ผมบอกกับพี่น้องชาวสวนยาง อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา ว่าโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง เป็นนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อให้พี่น้องชาวสวนยางมีรายได้ตามราคาประกันรายได้ราคายางตกต่ำและไม่เสถียรภาพ เพราะมีสาเหตุจากหลายปัจจัย สาเหตุหนึ่งที่สำคัญคือการทุบราคายางเพื่อทำกำไรโดยนายทุนส่งออกยาง
นายสุนทร กล่าวว่า ทางออกคือพี่น้องชาวสวนยางต้องรวมตัวกันเป็นกลุ่มหรือเครือข่ายรวบรวมน้ำยางสด และการยางแห่งประเทศไทยต้องทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงเพื่อนำยางคุณภาพของพี่น้องชาวสวนยาง ไปขายโดยตรง(spot market) ให้กับผู้ใช้ยาง(end user) เพื่อลดห่วงโซ่อุปทาน(supply chain) ให้สั้นลง ส่วนต่างที่เคยเป็นกำไรของพ่อค้า ก็จะกลับมาอยู่ที่ชาวสวนยาง ชาวสวนยางก็จะขายยางได้ในราคาที่สูงขึ้น
ช่องทางเช็คเงินประกันรายได้ยางพารา
แอปพลิเคชัน ธ.ก.ส. A-Mobile ตลอด 24 ชั่วโมง
กรณีสมัครใช้บริการ BAAC Connect จะมีข้อความแจ้งเตือนเงินเข้าบัญชีผ่าน LINE Official BAAC Family หรือผ่านเว็บไซต์ https://chongkho.inbaac.com เช็คสถานะ คลิกที่นี่ รู้ผล เงินเข้าหรือยัง