thansettakij
พลิกเกมสู้ศึกค้าโลก ดันเกษตรอัจฉริยะลุย  "ข้าว-มัน-ปาล์ม-ยาง-ทุเรียน สดใส"

พลิกเกมสู้ศึกค้าโลก ดันเกษตรอัจฉริยะลุย "ข้าว-มัน-ปาล์ม-ยาง-ทุเรียน สดใส"

08 ม.ค. 2565 | 07:24 น.
อัปเดตล่าสุด :08 ม.ค. 2565 | 22:02 น.

ส่อง เกษตรอัจฉริยะไทยพลิกเกมสู้ค้าโลก ปี 2565 สศก. ทำนาย “ข้าว มันสำปะหลัง น้ำตาล ยางพารา น้ำมันปาล์ม สับปะรด ทุเรียน ลำไย มังคุด ตลาดสดใส ขณะประมงกำลังฟื้นตัว โควิด “ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์” ในประเทศขาด ภาคอุตสาหกรรมแย่งวัตถุดิบ ส่งออกลดลง ค่าของเงินบาท -สภาพอากาศ ปัจจัยเสี่ยง

องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ทำนายว่าประชากรมนุษย์จะเพิ่มขึ้นจาก 7.2 เป็น 9,600 ล้านคนภายในปี 2593 หรือเพิ่มขึ้น 33 ดังนั้นความต้องการสินค้าเกษตร จะเพิ่มขึ้นประมาณ 70% ในช่วงเวลาเดียวกัน ในขณะที่พื้นที่เพาะปลูกทั่วโลกไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปตั้งแต่ปี1991 ซึ่งสะท้อนถึงความจำเป็นในการเพิ่มผลผลิต

 

เฉพาะอย่างยิ่งโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยเทคโนโลยีใหม่ ผลิตภัณฑ์จากปศุสัตว์เป็นสินค้าเกษตรที่สำคัญสำหรับความมั่นคงด้านอาหารของโลก เนื่องจากมีการบริโภคทั่วโลก 17% และการบริโภคเพื่อเป็นแหล่งโปรตีน 33% ภาคปศุสัตว์มีส่วนช่วยในการดำรงชีวิตของประชากรที่ยากจนถึงหนึ่งพันล้านคนในโลก ความต้องการผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์เพิ่มขึ้นและการเติบโตอย่างรวดเร็วในประเทศกำลังพัฒนา

 

การใช้ประโยชน์พื้นที่เกษตรของประเทศไทย การใช้ประโยชน์พื้นที่เกษตรของประเทศไทย

 

การผลิตนมทั่วโลกคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 664 ล้านตัน (ปี2549) เป็น 1077 ล้านตัน (ปี2593) และการผลิตเนื้อสัตว์จะเพิ่มขึ้นสองเท่าจาก 258 เป็น 455 ล้านตัน การผลิตปศุสัตว์มีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบในทางลบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การแย่งชิงที่ดินและน้ำ และความมั่นคงทางด้านอาหาร

 

สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตและคุณภาพของวัตถุดิบอาหารสัตว์ปัจจัยทางตรงและทางอ้อมเหล่านี้ได้แก่ พันธุ์อาหาร การจัดการ สภาพภูมิอากาศ โรคและพยาธิการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน ในการผลิตสัตว์เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูง สามารถผลิตได้เพียงพอต่อการบริโภค ส่งออก และสามารถลดต้นทุน

ดร. เฉลิมชัย ศรีอ่อน ดร. เฉลิมชัย ศรีอ่อน

 

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภายใต้การบริหารของ  ดร. เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ  ได้นำปัญหาที่ไทยต้องเผชิญสถานการณ์จากปัญหารอบด้าน ปัจจัยการผลิตที่มีราคาสูงขึ้น ราคาผลผลิตค่อนข้างต่ำ ประกอบกับสภาพภูมิอากาศที่ไม่แน่นอน แรงงาน ทุน ทรัพยากรเทคโนโลยีและการจัดการ ในแนวทางหนึ่งของการแก้ไขปัญหาต่างๆ นั้น คือ การพัฒนาเกษตรอัจฉริยะและการส่งเสริมให้มีการนำไปใช้จริงให้เกิดเป็นรูปธรรม

 

ทั้งในด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ผลกระทบจากการแข่งขันในตลาดโลก ความมั่นคงและความปลอดภัยทางอาหาร (Food Security and Food Safety) ได้ถูกบรรจุ แผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะ ปี พ.ศ. 2565-2566 สามารถต่อกรกับการค้าโลกได้หรือไม่ต้องติดตามต่อไป

 

ขณะที่ นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.)  เผยถึง สถานการณ์โลก ปี 2565  กับพืชสินค้าสำคัญ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร วิเคราะห์สินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ที่คาดว่าจะอยู่ในเกณฑ์ดีได้แก่ ข้าว มันสำ ปะหลัง และผลิตภัณฑ์ นํ้าตาลและผลิตภัณฑ์ยางพารา นํ้ามันปาล์ม สับปะรดและผลิตภัณฑ์ ทุเรียนและผลิตภัณฑ์ลำ ไยและผลิตภัณฑ์และมังคุด

 

เนื่องจากสินค้าของไทยมีคุณภาพดีและเป็นที่ต้องการของตลาด เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้น และประชากรของแต่ละประเทศได้รับการฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกัน COVID-19 มากขึ้น  โดยประเทศคู่ค้าสำคัญยังคงมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับราคาสินค้าเกษตรของไทยยังคงมีความสามารถในการส่งออกได้ ภาครัฐมีนโยบายในการขยายโอกาสและเพิ่มช่องทางการค้าใหม่ ๆ รวมถึงการประชาสัมพันธ์ในตลาดต่างประเทศ

 

นอกจากนี้ การผลิตสินค้าปศุสัตว์ของไทยมีระบบการเลี้ยงที่ได้มาตรฐานสากลสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ ประกอบกับมีการดำ เนินมาตรการควบคุม ป้องกัน และเฝ้าระวังโรคระบาดสัตว์ที่เข้มงวดอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ยังมีการระบาดของโรคสัตว์ในหลายประเทศ ซึ่งเป็นโอกาสของประเทศไทยในการขยายการส่งออกสินค้าปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์ไปประเทศคู่ค้าที่เชื่อมั่นในคุณภาพและมาตรฐานการผลิตของไทย สินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ที่คาดว่าการส่งออกมีแนวโน้มใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา

 

ตรวจเข้ม เฝ้าระวังโรคระบาด ตรวจเข้ม เฝ้าระวังโรคระบาด

คือ สินค้าประมงและผลิตภัณฑ์ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกเพิ่งเริ่มฟื้นตัว และการแพร่ระบาดของ COVID-19 ยังคงมีอยู่ในหลายประเทศ โดยความต้องการสินค้าประมงในตลาดต่างประเทศยังคงมีอยู่ จากฐานลูกค้าเดิม หากปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์สำ หรับบรรจุสินค้ามีทิศทางที่ดีขึ้น จะทำ ให้การส่งออกปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตาม การส่งออกอาจยังต้องประสบปัญหาบางประการ เช่น ผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาท และสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง เป็นต้น

 

ส่วนสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ที่คาดว่าการส่งออกมีแนวโน้มลดลงจากปีที่ผ่านมา คือข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากความต้องการใช้ในภาคอุตสาหกรรมผลิตอาหารสัตว์ภายในประเทศที่มีเพิ่มขึ้น ทำ ให้การส่งออกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ไปยังตลาดอาเซียนซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยมีแนวโน้มลดลด

 

หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ หน้า 9 ฉบับที่ 3,746 วันที่ 6-8 มกราคม 2565