ก่อนหน้านี้ ฐานเศรษฐกิจ ชวนไปทำความรู้จักกับ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ Personal Data Protection Act : PDPA ไปแล้วก่อนหน้านี้เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มิถุนายน 2565 นี้
วันนี้จะพาไปดู 4 ตัวละครสำคัญที่ปรากฎอยู่ในกฎหมายฉบับนี้กันบ้าง ทราบกันไปแล้วว่า พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้ ครอบคลุมข้อมูลส่วนตัวของเราทุกแง่ทุกมุมและมีความหลากหลายในมิติต่าง ๆ
หากไปดูไส้ในของกฎหมายฉบับนี้ คุณ หรือ คนใกล้ตัวเรา อาจทำหน้าที่ หรือ มีบทบาทสำคัญเกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล ตามสาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ใน 4 บทบาทด้วยกัน ดังนี้
1.เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หรือ Data Subject หมายถึง ประชาชนทุกคนที่ข้อมูลสามารถระบุไปถึงได้ หากเป็นหน่วยงานทั่วไปก็หมายถึง ลูกค้า พนักงาน รวมถึง Outsource ด้วย กล่าวคือ เป็นบุคคลที่ข้อมูลชี้ไปถึงแต่ไม่รวมถึงผู้ที่เสียชีวิตแล้ว และนิติบุคคล (เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในข้อมูลนั้น)
2.ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หรือ Data Controller หมายถึง บุคคลหรือ นิติบุคคล (หน่วยงาน/องค์กร/สถาบัน) ที่มีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจ กำหนดวัตถุประสงค์ วิธีการประมวลผล เก็บรวบรวม ใช้ประโยชน์ หรือ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล *ไม่ใช่พนักงานหรือส่วนหนึ่งของหน่วยงาน/องค์กร/สถาบัน
เมื่อหันกลับมามองหากเรามีการเก็บข้อมูลส่วนของบุคคลของผู้อื่นเอาไว้ ย่อมหมายความว่า เราก็สวมบทบาทเป็น "ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล" ที่จะต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลด้วยเช่นกัน
หน้าที่ของ "ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล" ตาม พ.ร.บ.คุ้มครอง 2562 มาตรา 37 มีดังนี้
3.ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล หรือ Data Processor คือ บุคคลหรือนิติบุคคลที่ดำเนินการ เกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้ หรือ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ทำตามคำสั่งของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล โดยหลัก คือ Outsource ที่รับจ้าง *ไม่ใช่พนักงานหรือส่วนหนึ่งของหน่วยงาน/องค์กร/สถาบัน
หน้าที่ "ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล" ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 2562 มาตรา 40
ทั้งนี้ หาก "ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล" ไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษปรับทางปกครองไม่เกิน 3 ล้านบาท
4.เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ Data Protection Officer (DPO) คือ ผู้ที่ได้รับมอบหมายเพื่อทำหน้าที่ให้คำแนะนำ หรือ ตรวจสอบการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของหน่วยงาน/องค์กร/สถาบัน ให้เป็นไปตามกฎหมาย
จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่า เราทุกคนอาจเกี่ยวข้อง ทำหน้าที่หรือสวมบทบาทตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้มากกว่า 1 บทบาทด้วยกันได้