นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ตามที่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความห่วงใยและให้ความสำคัญ ในกรณีที่อาจมีการกักตุนสินค้าประเภทเนื้อสุกรเพื่อผลประโยชน์ทางการค้า โดยได้สั่งการให้กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมเครือข่ายปฏิบัติงานเร่งตรวจสอบห้องเย็นเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องดังกล่าว
ล่สุด ข้อมูลสภาวะตลาดสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม (สัปดาห์ที่ 6/2565) วันพระที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 ราคาสุกรขุนหน้าฟาร์มยังคงได้รับแรงกดดันจากมาตรการรัฐ ห้องเย็นอิสระกดดันผู้ฝากเร่งระบายออก กระทบความต้องการสุกรขุนเข้าเชือดใหม่ การบริโภคเนื้อสุกร ลดลงไปกว่า 50% จากสารพัดปัจจัยที่รุมเร้า กดดันราคาสุกรขุนหน้าฟาร์มให้อ่อนตัวลง
ต้นทุนหน้าฟาร์มปัจจุบัน(Q1/2565) เมื่อรวมส่วนเพิ่มระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ และสารเสริมต้านไวรัส เพิ่มภูมิคุ้มกันที่สูงขึ้นกว่าการคำนวณของคณะอนุกรรมการต้นทุนอีก 10 บาทต่อกิโลกรัม แบบซื้อลูกเข้าขุน ที่ 96.28 บาท/กก และแบบผลิตลูกเอง ที่ 94.69 บาท/กก
ภาคตะวันตก 94 บาท/กิโลกรัม ขายส่งห้างค้าปลีก 150 กิโลกรัม ขายปลีก 186-188 บาท/กิโลกรัม
ภาคตะวันออก 94 บาท/กิโลกรัม ขายส่งห้างค้าปลีก 150 กิโลกรัม ขายปลีก 186-188 บาท/กิโลกรัม
ภาคอีสาน 94-96 บาท/กิโลกรัม ขายส่งห้างค้าปลีก 150-153 กิโลกรัม ขายปลีก 186-192 บาท/กิโลกรัม
ภาคเหนือ 96 บาท/กิโลกรัม ขายส่งค้าปลีก 153 กิโลกรัม ขายปลีก 190-192 บาท/กิโลกรัม
ภาคใต้ 97 บาท/กิโลกรัม ขายส่งห้างค้าปลีก 155 กิโลกรัม ขายปลีก 192-194 บาท/กิโลกรัม
ลูกสุกรขุนเล็ก 16 กิโลกรัม วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2565 : 3,200 บวก/ลบ 92 บาท
นายสัตวแพทย์สรวิศ กล่าวว่า เป็นข่าวดี เชื่อว่า ราคายังลงต่อเนื่อง หากสถานการณ์เป็นอย่างนี้ ก็ไม่ต้องนำเข้าหมู เนื่องจากจะเป็นผลดีต่อเกษตรกร
สมาคมสุกรแห่งชาติ รายงานข้อมูลสภาวะตลาดสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม (สัปดาห์ที่ 6/2565) วันพระที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565