สืบเนื่องจากกรณี การอุดหนุนภาคประมงพาณิชย์ด้วยการ “ยกเว้นภาษี” น้ำมันดีเซลให้ต่ำกว่าราคาตลาดลิตรละ บาท หรือน้ำมันเขียว ได้กลายเป็นประเด็นสำคัญที่องค์การการค้าโลก (WTO) ให้ประเทศไทยชี้แจงว่า เป็นการอุดหนุนที่มีการบริหารจัดการอย่างเข้มงวดหรือไม่ เพื่อมิให้เป็นการสนับสนุนการทำประมง IUU การทำประมงทำลายล้างทรัพยากรสัตว์น้ำ Over Fishing ซึ่งหากประเทศไทยไม่มีแนวทางการบริหารจัดการ ก็มีความเสี่ยงสูงมาก
องค์การการค้าโลกจะประกาศให้ประเทศไทยต้องยกเลิกการอุดหนุนภาคประมงพาณิชย์ด้วยการยกเลิกโครงการน้ำมันเขียวทั้งหมด ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเรือประมงพาณิชย์ประเทศไทยอย่างกว้างขวาง คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2564 จึงอนุมัติกรอบการชี้แจงกับองค์การการค้าโลก (WTO) โดยยืนยันว่าประเทศไทยมีการกำกับดูแลที่ดีในการทำประมงไม่ให้เป็น IUU ทำลายล้างสัตว์น้ำ และมีระบบควบคุมดูแลการสนับสนุนการทำประมงอย่างดีมีประสิทธิภาพ ทำให้หน่วยงานภาครัฐโดยกรมสรรพสามิต ได้ประสาน
จึงเป็นที่มาของวันนี้ เมื่อวันที่ 11 เดือน กุมภาพันธ์ 2565 พล.ต.ท.สุรเชษฐ์หักพาล ผู้ช่วย ผบ.ตร. ในฐานะประธานคณะทำงานเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบ ติดตาม ควบคุม เฝ้าระวังการทำประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เข้าตรวจสอบ สืบสวน เพื่อ “จัดระบบ” ควบคุมดูแลโครงการน้ำมันเขียว ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์อย่างเคร่งครัด ไม่ให้ถูกนำไปใช้ในการทำประมง IUU
การทำประมงทำลายล้างสัตว์น้ำ และการค้ามนุษย์แรงงานบังคับ บนเรือประมง ได้ ให้ศาลออกหมายค้นให้ผู้กำกับสถานีตำรวจนครบาลบางมด ค้นสมาคมประมงแห่งประเทศไทย เพื่อพบและยึดสิ่งของ เอกสารเกี่ยวกับการรับรองขนถ่ายน้ำมันดีเซล เอกสารเกี่ยวกับการให้รหัสเติมน้ำมันเขียว และหรือ
สิ่งของอื่นใด ในรูปไฟล์เอกสารหรือข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์อันเกี่ยวกับโครงการน้ำมันเขียว ที่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานพิสูจน์การกระทำความผิดเกี่ยวกับประมง ซึ่งจะเป็นพยานหลักฐานประกอบการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้อง หรือพิจารณา ซึ่งมีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยผิดกฎหมาย หรือได้ใช้ หรือ ตั้งใจใช้ในการกระทำ ความผิดตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล
จากกรณีดังกล่าวนี้ นายวิชาญ ศิริชัยเอกวัฒน์ ที่ปรึกษาสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย และอดีตสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) โพสต์เฟซบุ๊ก Wicharn Sirichai-Ekawat ว่า ไม่น่าเชื่อว่า 1.พระอาทิตย์ยังหิวแสง (อยากเป็นข่าว) 2.ร่วมมือกับคนพาล 3. จับแพะชนแกะข้อมูล โยงให้เป็นเรื่อง 4. บิดเบือนข้อมูล 5.กล่าวหาประชาชน แล้วชาวบ้านจะอยู่อย่างไร ไม่เป็นชาวประมงพาณิชย์ ไม่รู้หรอกว่า รัฐ อคติกับเราขนาดไหน
ด้าน สมาคมการประมงแห่งประเทศไทย แถลงชี้แจง ตอบโต้ทันควัน สมาคมการประมงแห่งประเทศไทย เรื่อง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ "บิ๊กโจ๊ก" เดินหน้ากวาดล้างมาเฬยน้ำมันเขียวจับกลางอันดามัน เวียนเทียนใช้หัสเรือจม โผล่เติมน้ำมัน ตามที่ PRESS RELEASE สำนักงานตำรวจแห่งชาติ "บิ๊กโจ๊ก" เดินหน้ากวาดล้างมาเฟียน้ำมันเขียว จับกลางอันดามัน เวียนเทียนใช้หัสเรือจม โผล่เติน้ำมัน โดยสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย ได้รับ
ไฟล์เอกสารเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565 จาก PRESS RELEASE ข้างต้น เกี่ยวกับการทำประมง IUU และองค์การการค้าโลก (WTO) และปรากฏเนื้อความว่า "โดยสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย ส่งให้กับกรมสรรพสามิต เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2564 จำนวน 8,445 ลำ พบข้อมูลว่า มีเรือที่ไม่มีคุณสมบัติตามประกาศกรมศุลกากร แต่สมาคมการประมงแห่งประเทศไทย ออกรหัสและรับรองให้เติมน้ำมันเขียว ถึง 791 ลำ ประกอบด้วย เรือประมงพาณิชย์ไม่มีทะเบียนเรือ เรือประมงพาณิชย์ไม่มีใบอนุญาตประมงพาณิชย์จากกรมประมงเรือประมงพาณิชย์ที่แจ้งจมหรือทำลายไปแล้ว
เรือประมงพาณิชย์ที่เปลี่ยนประเภทไปเป็นเรือบรรทุกสินค้า เรือลากจูง และเรือประมงพื้นบ้านที่มี ขนาดถังน้ำมันตั้งแต่ 1,500-11,000 ลิตร ร ซึ่งเกินกว่าขนาดตัวเรือที่สามารถบรรทุกได้ จากเนื้อหาดังกล่าวข้างต้นไม่น่าจะตรงกับข้อเท็จจริง สร้างความกังวลใจ และไม่สบายใจเกี่ยวกับการได้รับข้อมูลของภาครัฐ
ซึ่งที่ผ่านมา สมาคมการประมงแห่งประเทศไทยได้ร่วมกับภาครัฐในการดำเนินการจัดตั้งโครงการน้ำมันเขียว และให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อมูลเรือประมงกับหน่วยงานของรัฐ มาโดยตลอดจาก PRESS RELEASE ข้างต้น สมาคมการประมงแห่งประเทศไทย ขอขี้แจง และตั้งข้อสังเกต ดังนี้
1. สมาคมฯ ตระหนักเรื่องการทำประมง เUU มาโดยตลอด ซึ่งในปี พ.ศ. 2558 สมาคมฯ ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าสถานการณ์ปัจจุบัน เรือประมงต้องปฏิบัติตามคำสั่ง คสช. และประกาศ ศปมผ. เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายการแก้ไขปัญหา UU ของภาครัฐ โดยเฉพาะ คสช. ได้กำหนดโทษไว้อย่างรุนแรง ทำให้เรือประมงจำนวนมากหยุดและไม่สามารถออกทำการประมงได้ ประกอบกับในห้วงระยะเวลาที่ผ่านมา
ในขณะที่เรือประมงจะหยุดทำการประมงไปแล้วก็ตาม แต่ปริมาณการใช้น้ำมันเขียวก็ยังมีการขออนุญาตขนถ่ายเกินความต้องการใช้จริงของชาวประมงในปริมาณมหาศาลซึ่งไม่เป็นตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯสมาคมฯจึงได้มีหนังสือถึงประธานคณะกรรมการกำกับดูแลโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักรเพื่อปรับปรุงรหัสน้ำมันเขียว เพื่อให้สถานะของเรือและเครื่องมือประมงให้เป็นปัจจุบันทุกปี
2. สมาคมฯ ตระหนักถึงประเด็นสำคัญที่องค์การการค้าโลก (WTO) กำลังเป็นห่วงอยู่ แต่เนื่องจาก เรือประมงภายในประเทศไทย ทั้งเรือประมงพาณิชย์ และเรือประมงพื้นบ้าน (30,000 ลำ ซึ่งรวมเรือที่จดทะเบียนเรือประมงขึ้นมาใหม่) กรมประมงอนุญาตให้สามารถทำการประมงได้ในปัจจุบัน จึงแสดงว่าปริมาณเรือดังกล่าว มีการจับสัตว์น้ำขึ้นมาใช้ประโยชน์ไม่มากเกินปริมาณสัตว์น้ำสูงสุด (MSY)
3. การออกรหัสน้ำมันเขียวของเรือประมงพาณิชย์จะต้องเป็นเรือประมงที่ถูกต้อง มีทะเบียนเรือใบสำคัญรับรองการตรวจเรือ และใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ มีเอกสารราชการกำกับและไม่หมดอายุในช่วงเวลาที่ขอรหัสน้ำมันเขียว ดังนั้นในขณะนั้นเรือทุกลำไม่มีสถานะถูกถอนทะเบียนเนื่องจากการจมหรือถูกทำลาย เปลี่ยนประเภทไปเป็นเรือบรรทุกสินค้า เรือลากจูง
ดังนั้นเรือประมงพาณิชย์ในวันที่ขอรหัส จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะเป็นเรือประมงพาณิชย์ไม่มีทะเบียนเรือ เรือประมงพาณิชย์ไม่มีใบอนุญาตประมงพณิชย์จากกรมประมง นอกเสียจากว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในภายหลังจากมีรหัสแล้ว เรือประมงจะมีการต่ออายุรหัสทุกปีและต้องมีเอกสารราชการประกอบ โดยจะปกติเริ่มทยอยต่ออายุรหัสประมาณวันที่ 1 กันยายน ของทุกปี เพื่อมิให้เกิดปัญหาในการเติมน้ำมันช่วงปีใหม่ ลดปัญหาให้กับชาวประมง
โดยสมาคมฯจะส่งข้อมูลให้กับกรมศุลกากรทุกวันที่มีการรับรองรหัสใหม่ต่ออายุรหัส หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล และสมาคมฯ ไม่เคยให้รหัสน้ำมันเขียวที่รับรองแล้วกับบริษัทแทงเกอร์โดยตรง ซึ่งสมาคมฯ ได้ส่งรหัสที่เป็นปัจจุบันของปี พ.ศ.2565 ให้กับกรมศุลกากร และตำรวจน้ำแล้ว
6. ปริมาณการใช้น้ำมันต่อเดือน คำนวณจากแรงม้าของเครื่องยนต์ ซึ่งเป็นปริมาณการใช้สูงสุดต่อเดือนไม่ใช่ต่อครั้ง ซึ่งโดยปกติทาง ศูนย์ปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง (ศปนม.ตร.)สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะเป็นผู้ตรวจสอบการลงน้ำมันของเรือสถานีบริการ (Tanker) ที่เติมให้กับเรือประมงในรอบ ๑ เดือน ไม่ให้เกินปริมาณการใช้ต่อเดือน ที่เรือประมงได้รับไว้ และหากมีข้อสงสัยใด ทาง ศปนม.ตร.ก็จะสอบถามไปยังสมาคมฯ
7. โดยปกติเรือสถานีบริการ(Tanker)จะต้องมีการตรวจเช็ครหัสน้ำมันเขียวว่าข้อมูลตรงกับเรือประมงที่ได้รับรหัสหรือไม่ โดยที่ผ่านมา ถ้ามีการเปลี่ยนชื่อเรือ ชื่อเรือไม่ตรง เปลี่ยนเจ้าของเรือสถานีบริการ (Tan ker) ก็จะไม่เติมน้ำมันให้ และให้เจ้าของเรือดำเนินการเปลี่ยนแปลงข้อมูลก่อน ซึ่งบริษัทผู้ค้าน้ำมันเขียวบางบริษัท จะทำการตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับผ่านทางศุลกากรไปยังสมาคมฯ เพื่อยืนยันสถานะ
8. ที่ผ่านมา สมาคมฯ ได้ร่วมมือกับ ศปนม.ตร. ในการตรวจสอบรายชื่อเรือพร้อมรหัสน้ำมันเขียวของสมาคมฯ กับข้อมูลการเติมน้ำมันเขียว ที่ ศปนม.ตร. ได้รับจากเรือสถานีบริการ (Tanker)เพื่อสอบยันว่ารหัสที่ได้รับจาก ศปนม.ตร. ที่เติมน้ำมัน ณ วันนั้น เรือประมงยังคงมีสถานะเข้าร่วมโครงการฯ ในห้วงเวลาดังกล่าว เพื่อให้ ศปนม.ตร. ทราบว่ารหัสที่ใช้เติมน้ำมัน ตรง หรือไม่ตรงกับรหัสเติมน้ำมันเขียวที่สมาคมฯ ได้รับ
ส่วนกรณีการจับกุมเรือประมงที่มีพฤติกรรมวนเวียนเติมน้ำมันเขียว โดยใช้รหัสเติมน้ำมันของเรือประมงที่แจ้งทำลายแล้ว ซึ่งสมาคมฯ มีความยินดีที่จะช่วยภาครัฐตรวจสอบมาโดยตลอด แต่เนื่องจากสมาคมฯมีหน้าที่รับรองเรือประมงที่จะมาขอรับการขนถ่ายน้ำมันดีเซลเท่านั้น ไม่มีอำนาจในการตรวจสอบการเติมน้ำมันของสถานีบริการ (Tanker) นอกจากหน่วยงานของรัฐขอความร่วมมือ ดังเช่นที่ ศปนม.ตร. ประสานขอความร่วมมือให้สมาคมฯ ช่วยตรวจสอบให้จึงแจ้งมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติและพล.ต. ท. สุรเชษฐ์ หักพาล จะให้ความเข้าใจต่อการทำงานของสมาคมฯ
เปิดหนังสือ สมาคมการประมงแห่งประเทศไทย แถลงชี้แจง