ครม. ไฟเขียว “นายกสมาคมเกษตรกรชาวสวนยาง 16 จังหวัดภาคใต้ “ เป็นกรรมการ กนย.

22 ก.พ. 2565 | 05:12 น.
อัปเดตล่าสุด :22 ก.พ. 2565 | 12:31 น.

“ณกรณ์ “ แจ้งข่าวดี ครม. ไฟเขียวเพิ่ม “นายกสมาคมเกษตรกรชาวสวนยาง 16 จังหวัดภาคใต้ “เป็นกรรมการ กนย. พร้อมอนุมัติ 603.5 ล้านบาท ชดเชยดอกเบี้ยผู้ประกอบกิจการ (ยางแห้ง) ทบทวน มติ ครม.ใหม่หากมีสต็อกยาง น้อย หรือ เท่ากับสต็อกเฉลี่ยย้อนหลัง 1 ปี จะไม่ได้รับการชดเชยดอกเบี้ย

ณกรณ์ ตรรกวิรพัท

 

วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า วันนี้ มติที่ประชุมมติ คณะรัฐมนตรี ได้มีการพิจารณาเห็นชอบ ตามมติคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ ครั้งที่ 1 /2564 มีจำนวน 4 เรื่อง ด้วยกัน ประกอบด้วย เรื่องที่  1   ขออนุมัติโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้แก่ผู้ประกอบกิจการยาง (ยางแห้ง) เพื่อรับซื้อยางจากเกษตรกรชาวสวนยางและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง โดยมี ระยะเวลาดำเนินการโครงการ ตั้งแต่เดือน ส.ค. 2564 - ธ.ค. 2565  (ระยะเวลาชดเชย 1  ปี ไม่เกิน ธันวาคม 2565)

 

ทั้งนี้ รัฐบาลสนับสนุนชดเขยดอกเบี้ยในอัตราตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินร้อยละ3  ต่อปี (ไม่เกิน  600 ล้านบาท) คำบริหารโครงการ   รวมกรอบวงเงินชุดเชยดอกเบี้ย 603.5  ล้านบาท - ผู้เข้าร่วมโครงการต้องซื้อยางมาเป็นวัตถุดิบในการผลิต (รายเดือน) ซึ่งราคาซื้อเฉลี่ยรายเดือนไม่ต่ำกว่าราคาประกาศเฉลี่ย ของ กยท. และหากไม่มีการซื้อยางจะไม่ได้รับการชดเชยในเดือนนั้น โดยการพิจารณาวงเงินสินเชื่อให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ แต่ละรายไม่เกิน 1,000 ล้านบาท (วงเงิน  20,000 ล้านบาท)

 

สวนยางพารา

 

เรื่องที่ 2 . ขออนุมัติทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่  15 ตุลาคม  2562 เกี่ยวกับการมอบหมายหน่วยงานขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อชดเชยดอกเบี้ยของผู้เข้าร่วมโครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการยาง (ยางแห้ง) วงเงินสินเชื่อ 20,000  ล้านบาท  ระยะเวลาดำเนินโครงการ ตั้งแต่เดือน  ม.ค. 2561  - ธ.ค.  2564 สิ้นสุดโครงการแล้ว (ชดเชยดอกเบี้ยตามโครงการ 1  ปี แต่ไม่เกินร้อยละ 3  ต่อปี จำนวนไม่เกิน  600  ล้านบาทต่อปี)

 

โดยมอบหมายให้ การยางแห่งประเทศไทย ทำหน้าที่ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี แทน ธนาคารของรัฐ  เงินชดเชยดอกเบี้ย จำนวน  27.783  ล้านบาท (ยี่สิบเจ็ดล้านบาท)  ผู้เข้าร่วมโครงการ ต้องมีสต็อกยางเพิ่มขึ้นมากกว่าสต็อกเฉลี่ยย้อนหลัง 1 ปี นับจากวันที่ยื่นความประสงค์ หากตรวจพบปริมาณสต็อกยาง น้อยกว่า หรือเท่ากับสต็อกเฉลี่ยย้อนหลัง 1 ปี จะไม่ได้รับการชดเชยดอกเบี้ยในเดือนนั้น

 

3.ขออนุมัติทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน  2563  ในส่วนโครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการไม้ยางและผลิตภัณฑ์(ชื่อวาระเดิมคือ อนุมัติปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขโครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการไม้ยางและผลิตภัณฑ์)

 

ทั้งนี้หลักเกณฑ์เงื่อนไขเดิม 

 

1.ชดเชยดอกเบี้ยสินเชื่อเงินทุนหมุนเวียนในการรับซื้อไม้ยาง

 

2.ผู้ประกอบการจะต้องมีสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนกับสถาบันการเงิน

 

 

ไม้ยางพารา

หลักเกณฑ์ที่ขอเพิ่มเติม

 

1.ชดเชยดอกเบี้ยสินเชื่อเงินทุนหมุนเวียนในการรับซื้อไม้ยางและหรือชดเชยดอกเบี้ยสินเชื่อเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานกิจการไม้ยาง และผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการขยายกำลังการผลิต/ปรับเปลี่ยนเครื่องจักรการผลิต ณ ที่ตั้งเดิมหรือที่ตั้งใหม่ เพื่อใช้ในการประกอบกิจการ

 

2. ผู้ประกอบการจะต้องมีสินเชื่อเป็นผู้ประกอบการจะต้องมีสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนและหรือสินเชื่อที่เกี่ยวข้องกับเงินทุนหมุนเวียนกับสถาบันการเงินการดำเนินงานกิจการไม้ยางและผลิตภัณฑ์ กับสถาบันการเงิน

 

นายณกรณ์ กล่าวว่า เรื่องที่ 4 เป็นเรื่องสุดท้าย ขอเพิ่มองค์ประกอบในคณะกรรมการนโยยายยางธรรมชาติ ที่เสนอ นายสุนทร รักษ์รงค์ นายกสมาคมเกษตรกรชาวสวนยาง 16  จังหวัดภาคใต้ ร่วม เป็นกรรมการ ในองค์ประกอบ กนย. เป็นข่าวดีของชาวสวนที่จะได้เพิ่มสัดส่วนของเกษตรกรเพิ่มอีกหนึ่งตำแหน่ง