หลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยเป็นการปรับปรุงโครงสร้างการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสินค้ารถยนต์ประเภทต่าง ๆ รวม 27 ประเภท
ส่วนแรกตามร่างกฎกระทรวงฉบับนี้ จะมีรถยนต์รวม 6 ประเภท ที่เริ่มมีผลบังคับใช้นับจากวันที่ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งได้มีการกำหนดอัตราภาษี และระยะเวลา ดังนี้
1.รถยนต์นั่งกึ่งบรรทุก (Pick-up Passenger Vehicle: PPV) แบบผสมที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงและไฟฟ้าที่สามารถเสียบปลั๊กประจุไฟฟ้าได้ (Plug-in Hybrid Electric Vehicle)
2.รถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ประเภท ประหยัดพลังงานแบบพลังงานไฟฟ้า (Electric Powered Vehicle)
3.รถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ประเภท ประหยัดพลังงานแบบมาตรฐานสากล (Eco car)
4.รถยนต์กระบะ 4 ประตู (Double Cab) แบบผสมที่ใช้ พลังงานเชื้อเพลิงและไฟฟ้าที่สามารถเสียบปลั๊กประจุไฟฟ้าได้
5.รถยนต์กระบะแบบพลังงานไฟฟ้า (เดิมจัดเก็บ 10%)
6.รถยนต์กระบะแบบเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Powered Vehicle) หรือรถที่ต้องเติมพลังงานไฮโดรเจน ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า
สำหรับรถยนต์ประเภทที่เหลือ (นับเฉพาะรถยนต์พลังงานไฟฟ้า) จะมีผลใช้บังคับตั้งแต่ปี 2569 - 2578 เช่น
1.รถยนต์นั่ง หรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ประเภทประหยัดพลังงานแบบผสมที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงและไฟฟ้า (Hybrid Electric Vehicle) แบ่งเป็น 3 ช่วงระยะเวลา
2.รถยนต์นั่ง หรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ประเภทประหยัดพลังงานแบบผสมที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงและไฟฟ้า ที่สามารถเสียบปลั๊กประจุไฟฟ้าได้ (Plug-in Hybrid Electric Vehicle)
3. รถยนต์กระบะแบบพลังงานไฟฟ้า (Electric Powered Vehicle)
ส่วนการปรับปรุงโครงสร้างการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต รถจักรยานยนต์ (เฉพาะรถจักรยานยนต์พลังงานไฟฟ้า) มีดังนี้
1. รถจักรยานยนต์แบบพลังงานไฟฟ้า โดยจะพิจารณาจากแรงดันไฟฟ้า
2. รถจักรยานยนต์แบบที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิง หรือแบบผสมที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงและไฟฟ้า
นอกจากนี้ยังมีการลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากร สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่สำเร็จรูป (CBU) ประกอบสำเร็จรูปนำเข้าทั้งคัน ที่ได้รับสิทธิพิเศษทางอากรศุลกากรภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) และการนำเข้าทั่วไป ในปี 2565 - 2566 ดังนี้