เมื่อวันที่ 26 ก.พ. 65 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19 ) ที่ ๕/ ๒๕๖๕ เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๒๓)
ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติในการประชุมเมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๕ ให้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรออกไปตั้งแต่วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๕ จนถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๕
โดยนายกรัฐมนตรีได้ออกข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๔๐) ลงวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ กำหนดประเภทของผู้เดินทางเข้ามา ในราชอาณาจักรให้สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 และสอดรับกับนโยบาย การเปิดประเทศเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของรัฐบาล และออกคำสั่งเพื่อกำหนดแนวปฏิบัติให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบ ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินและพนักงานเจ้าหน้าที่นำไปดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรค โดยเคร่งครัด
โดยมีคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด -19) ที่ ๒๔/๒๕๖๔ เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๑๙) ลงวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนำ 2019 (โควิด -19) ที่ ๒๕/๒๕๖๔ เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๒๐) ลงวันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๔
คำสั่งศูนย์บริหาร สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19 ) ที่ ๒/๒๕๖๕ เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๒๑) ลงวันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๕ และคำสั่ง ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19 ) ที่ ๔/๒๕๖๕
เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๒๒) ลงวันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๕ นั้น
โดยที่ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19 ) หรือ ศบค. ได้ออกคำสั่งเพื่อกำหนดมาตรการป้องกันโรคให้เหมาะสมต่อสถานการณ์การแพร่ระบาด ของไวรัสโคโรนา 2019 กลายพันธุ์ สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron ) ที่สามารถแพร่กระจาย และมีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ
อย่างไรก็ดี ด้วยพบว่า ไวรัสโคโรนากลายพันธุ์สายพันธุ์โอมิครอน ไม่ทำให้ผู้ติดเชื้อเกิดอาการป่วยที่รุนแรง จึงเห็นควรปรับมาตรการป้องกันโรคให้มีความเหมาะสม
เพื่อให้การดำเนินการตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและการขยายระยะเวลา การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าว และตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๕/๒๕๖๓ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นไปอย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับสถานการณ์
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๔ (๒) ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๖๓ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับ การปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19
จึงมีคำสั่งให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินและพนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการ ให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรค ตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นดังต่อไปนี้
+ คลิกอ่าน : ศบค.ผ่อนคลายมาตรการเดินทางเข้าประเทศ เริ่ม 1 มี.ค.65