ผลกระทบของสงครามรัสเซีย-ยูเครน ในขณะนี้สร้างความปั่นป่วนต่อการค้าทั่วโลกเป็นอย่างมาก เนื่องจากวัตถุดิบบางส่วนนำเข้ามาจากต่างประเทศ โดยเฉพาะแม่ปุ๋ยที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศเป็นหลัก
นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการประชุมหารือ แนวทางการรับมือ มาตรการรองรับผลกระทบจากความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครนต่อการค้าไทย ว่า ที่ประชุมได้รายงานถึงสถารณ์การณ์ที่เกิดขึ้น รวมไปถึงผลกระทบที่มีต่อเศรษฐกิจการค้าไทย โดยเฉพาะสินค้าที่จะได้รบผลกระทบจากการขาดแคลนวัตถุดิบโดยทำให้ราคาปรับสูงขึ้น เช่น ปุ๋ย ซึ่งส่วนใหญ่ไทยนำเข้าแม่ปุ๋ยจากต่างประเทศเป็นหลัก
โดยนำเข้ายูเรียที่ได้จากก๊าซธรรมชาติเพื่อนำมาผลิตปุ๋ย และจากปัญหารัสเซีย-ยูเครน ได้กระทบต่อการผลิตก๊าซธรรมชาติ จึงมีผลต่อวัตถุดิบเพื่อนำเข้าผลิตปุ๋ยเคมี
เบื้องต้นในการดูแลโดยเฉพาะสินค้าที่มีการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ จะดูแลใน 2 ส่วน คือ การดูแลต้นทุนที่เป็นผู้ผลิต โดยจะพิจารณาเรื่องของต้นทุนส่วนจะออกมาตรการอย่างไรนั้น คงต้องมีการหารือกัน อีกส่วน คือ การดูแลปลายทาง ในเรื่องของราคาจำหน่ายก็จะต้องไม่ให้ราคาสูงเกินไปหรือมีการฉวยโอกาสขึ้นราคา โดยแนวทางการดูแลอาจจะต้องนำไปหารือกับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพิจารณา เพื่อหาข้อสรุปแนวทางและช่วยเหลือเพื่อให้ทุกฝ่ายเกิดเป็นธรรม
“กระทรวงรับรู้ว่าปัจจัยผลิต ต้นทุนแม่ปุ๋ยปรับตัวสูงขึ้น ก็ต้องติดตามดูแล และจากการที่สมาคมปุ๋ยฯ ทำหนังสือถึงกระทรวงพาณิชย์ และแจ้งว่าต้นทุนการผลิตปุ๋ยในสูงขึ้น แต่ยังไม่ได้แจ้งขอปรับขึ้นราคา อีกทั้ง ปุ๋ยเป็นสินค้าควบคุม การจะปรับราคานั้น จำเป็นจะต้องขออนุญาต ซึ่งขณะนี้ ยังไม่มีการแจ้งเรื่องของการขึ้นราคา แต่เป็นการแจ้งเรื่องของต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังไม่ได้มีการอนุญาตให้สินค้าใดๆขึ้นราคา”
ส่วนกลุ่มอาหารสัตว์ โดยเฉพาะในกลุ่มธัญพืช ข้าวสาลี ข้าวโพด แหล่งเพาะปลูกสำคัญอยู่ในแถบยูเครน ซึ่งอยู่ในพื้นที่พิพาท และการนำเข้าวัตถุดิบไทยยังนำเข้ามาจากออสเตรเลีย สหรัฐ หากเกิดความขัดแย้งขยายวงออกไปในแหล่งปลูกสำคัญ จะมีผลต่อราคาสูงขึ้นซึ่งเป็นสิ่งที่กระทรวงพาณิชย์มีความกังวลโดยเฉพาะกระทบต่อต้นทุนราคาสินค้า โดยในประเด็นนี้จำเป็นต้องติดตามสถานการณ์และหาทางออกร่วมกัน
ส่วนราคาพลังงานที่มีการปรับขึ้นต่อเนื่องจากปัญหาดังกล่าว ราคาน้ำมันดิบขณะนี้แตะ 125 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งมีผลต่อราคาน้ำมันขายปลีกในไทยและมีผลต่อต้นทุนการผลิต การขนส่ง แต่อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันที่ปรับขึ้นมีผลต่อราคาวัตถุดิบต่างๆสูงขึ้นด้วย นอกจากนี้ ยังมีเรื่องค่าขนส่งไปต่างประเทศ ค่าระว่างเรือ ซึ่งจะปรับขึ้นจากราคาน้ำมัน ผลกระทบจากปัญหานี้ กระทรวงพาณิชย์ต้องดูติดตามดูแลตลอดห่วงโซ่ และให้เกิดความเป็นธรรมทุกฝ่าย หากต้นทุนการผลิตสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ก็ต้องดูแลให้ได้และไม่ให้กระทบต่อผู้บริโภคเกินไป
อย่างไรก็ดี หากมีการปรับเปลี่ยนราคาก็ต้องดูแลและให้สอดคล้องกับต้นทุน ไม่ใช้ฉวยขึ้นราคาแบบไม่สมควร สินค้าแต่ละรายการได้รับผลกระทบไม่เท่ากัน มีทั้งกระทบมาก กระทบน้อย กระทรวงพาณิชย์ก็ต้องเข้าไปดูแลด้วย เพราะสถานการณ์ปัญหาก็ยังมีอยู่ แม้มีการเจรจราไปหลายรอบ แต่ก็ยังไม่นำไปสู่ข้อยุติ และก็คาดหวังว่าสถารการณ์ จะหยุดติโดยเร็วและให้ปัญหาต่างๆลดน้อยลง