เช็กสิทธิประกันสังคม ติดโควิด 19 ขอรับเงินชดเชยขาดรายได้ภายในเมื่อไร ดูเลย

11 มี.ค. 2565 | 20:30 น.
อัปเดตล่าสุด :17 มี.ค. 2565 | 07:56 น.

เช็กสิทธิประกันสังคม ผู้ประกันตน มาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 ติดโควิด 19 สามารถขอรับเงินชดเชยการขาดรายได้จากสำนักงานประกันสังคมภายในระยะเวลาเท่าไร ได้รับชดเชยอย่างไร ดาวน์โหลดแบบฟอร์มคำขอรับประโยชน์ทดแทนได้ที่ www.sso.go.th ดูรายละะอียดที่นี่

เช็กสิทธิประกันสังคม ผู้ประกันตน มาตรา 40 มาตรา 39 และมาตรา 33 ติดโควิด 19 ไม่ว่าจะสายพันธุ์ไหน สำนักงานประกันสังคม จ่ายชดเชยให้ทุกมาตรา 


ยื่นรับประโยชน์ทดแทนได้ภายใน 2 ปี

น.ส.ลัดดา แซ่ลี้ โฆษกสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า ขณะนี้สำนักงานประกันสังคมได้รับรายงานจากหน้างาน คือ ประกันสังคมจังหวัด เขตพื้นที่ว่า ผู้ประกันตนที่รักษาตัวหายจากโควิดแล้ว ไปติดต่อขอรับเงินขาดรายได้จากประกันสังคม  ก็เป็นห่วงว่าเจ้าหน้าที่จะติดเชื้อจากท่าน หรือท่านจะติดเชื้อจากเจ้าหน้าที่ เพราะตอนนี้โอไมครอนระบาดเร็วมาก

 

เช็กสิทธิประกันสังคม ติดโควิด 19 ขอรับเงินชดเชยขาดรายได้ภายในเมื่อไร ดูเลย

 

เรื่องเงินขาดรายได้ที่จะเบิกจากประกันสังคม ไม่ต้องห่วง สามารถยื่นได้ภายใน 2 ปี  หรือไม่ต้องไปที่ประกันสังคมก็ได้ สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มของรับประโยชน์ทดแทนที่เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th แล้วส่งทางไปรษณีย์ และแนบสำเนาสมุดบัญชีออมทรัพย์ ทางสำนักงานประกันสังคมจะดำเนินการให้ และโอนเงินเข้าบัญชี

ติดตามติ๊กต๊อกสำนักงานประกันสังคม @ssonews1506 สถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบันสำนักงานประกันสังคมแนะนำให้ยื่นเรื่องรับประโยชน์ทดแทน ผ่านช่องทาง...(คลิกที่นี่)

 

ผู้ประกันตนติดโควิดจ่ายชดเชยอย่างไร

 

 

เช็กสิทธิประกันสังคม ติดโควิด 19 ขอรับเงินชดเชยขาดรายได้ภายในเมื่อไร ดูเลย

 

 

มาตรา 33  

  • กรณีลาป่วย รับค่าจ้าง 30 วันแรก จากนายจ้าง 

หยุดรักษาตัวเกิน 30 วัน สามารถเบิกสิทธิประโยชน์กรณีขาดรายได้ จากประกันสังคมนับตั้งแต่วันที่ 31 ของการลาป่วยโดยได้รับเงินทดแทนร้อยละ 50 ของค่าจ้างจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท โดยได้รับ  ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน เว้นแต่โรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน

ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน(สปส. 2-01)

 

เช็กสิทธิประกันสังคม ติดโควิด 19 ขอรับเงินชดเชยขาดรายได้ภายในเมื่อไร ดูเลย

 

มาตรา 39 

  • รับเงินทดแทนขาดรายได้ร้อยละ 50

โดยคิดจากฐานอัตราการนำส่งเงินสมทบ (4,800 บาท)  ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน เว้นแต่โรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน

ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน(สปส. 2-01)

 

ม.33 และ ม.39 จะพิจารณาจากเอกสารหลักฐาน และใบรับรองแพทย์ และผู้ประกันตนต้องมีการนำส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนวันรับบริการทางการแพทย์ ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขฯ

 

มาตรา 40  

  • รับเงินทดแทนขาดรายได้ตามทางเลือก 1-2-3

พิจารณาจากเอกสารหลักฐาน และใบรับรองแพทย์ และมีการนำส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 4 เดือนก่อนเดือนที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขฯ 

ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน(สปส. 2-01/,ม.40)

 

ที่มา : สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน