เช็คมติ ศบค.ล่าสุด ปรับพื้นที่สีส้ม 20 จังหวัด ห้ามดื่มในร้าน พื้นที่ไหนบ้าง

18 มี.ค. 2565 | 08:00 น.
อัปเดตล่าสุด :18 มี.ค. 2565 | 19:28 น.

เช็คมติ ศบค.ล่าสุด 18 มีนาคม 2565 ปรับโซนพื้นที่สีส้ม 20 จังหวัด นั่งกินในร้านได้แต่ห้ามดื่มแอลกอฮอล์ภายในร้าน มีจังหวัดไหน พื้นที่ใดบ้าง เริ่มวันไหน สรุปรายละเอียดไว้ให้ที่นี่

18 มีนาคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์โรคโควิด-19 (ศบค.) ชุดใหญ่ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะผู้อำนวยการ ศบค. เป็นประธาน ได้พิจารณาปรับลดระดับพื้นที่โซนสีจาก พื้นที่ควบคุม (สีส้ม) เดิม 44 จังหวัด ปรับลดเหลือ 20 จังหวัด, พื้นที่เฝ้าระวังสูง (สีเหลือง) เดิม 25 จังหวัด เพิ่มเป็น 47 จังหวัด และพื้นที่นำร่องท่องเที่ยว (สีฟ้า) จาก 8 จังหวัด เพิ่มเป็น 10 จังหวัด 

พื้นที่สีส้ม 20 จังหวัด อนุญาตให้ร้านอาหารทั้งในและนอกศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า หรือสถานที่อื่นใดที่มีร้านอาหาร สามารถนั่งรับประทานในร้านได้ เปิดได้ตามปกติ แต่ห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ภายในร้าน ดังนี้

  • ตาก
  • นครนายก
  • นครปฐม
  • นครราชสีมา
  • นครศรีธรรมราช
  • บุรีรัมย์
  • ประจวบคีรีขันธ์
  • พระนครศรีอยุธยา
  • พัทลุง
  • พิจิตร
  • พิษณุโลก
  • ระนอง
  • ระยอง
  • ราชบุรี
  • สงขลา
  • สมุทรปราการ
  • สมุทรสาคร
  • สุราษฏร์ธานี
  • อุดรธานี
  • อุตรดิตถ์

 

พื้นที่สีเหลือง 47 จังหวัด สามารถรับประทานอาหารในร้านได้ เปิดได้ตามปกติ ส่วนการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้านจำกัดเวลาไม่เกิน 23.00 น. ดังนี้

  • กาฬสินธุ์
  • กำแพงเพชร
  • ขอนแก่น
  • จันทบุรี
  • ฉะเชิงเทรา
  • ชัยนาท
  • ชัยภูมิ
  • ชุมพร
  • เชียงราย
  • ตรัง
  • ตราด
  • นครพนม
  • นครสวรรค์
  • นราธิวาส
  • น่าน
  • บึงกาฬ
  • ปราจีนบุรี
  • ปัตตานี
  • พะเยา
  • เพชรบูรณ์
  • แพร่
  • มหาสารคาม
  • มุกดาหาร
  • แม่ฮ่องสอน
  • ยโสธร
  • ยะลา
  • ร้อยเอ็ด
  • ลพบุรี
  • ลำปาง
  • ลำพูน
  • เลย
  • ศรีสะเกษ
  • สกลนคร
  • สตูล
  • สมุทรสงคราม
  • สระแก้ว
  • สระบุรี
  • สิงห์บุรี
  • สุโขทัย
  • สุพรรณบุรี
  • สุรินทร์
  • หนองคาย
  • หนองบัวลำภู
  • อ่างทอง
  • อำนาจเจริญ
  • อุทัยธานี
  • อุบลราชธานี

พื้นที่สีฟ้า มีมติปรับเพิ่มจาก 8 จังหวัด เป็น 10 จังหวัด ดังนี้ กทม. กาญจนบุรี กระบี่ ชลบุรี นนทบุรี ปทุมธานี พังงา เพชรบุรี ภูเก็ต เชียงใหม่

นอกจากนี้ยังได้พิจารณาขยายเวลาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ 17) เพื่อเอื้อต่อการบริหารจัดการด้านสาธารณสุข และควบคุมการติดเชื้อโรคโควิด-19 ไม่ให้เกินขีดความสามารถของระบบสาธารณสุขเพื่อเตรียมความพร้อมอยู่กับโรคโควิด-19 ในระยะยาว

รวมถึงการบริหารจัดการการเดินทางสัญจรข้ามจังหวัด และการรวมกลุ่มทางสังคมของประชาชนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ การบริหารจัดการชายแดน การป้องกันการลักลอบเข้าเมืองของแรงงานต่างด้าวจากประเทศเพื่อนบ้าน จึงพิจารณาขยายเวลาพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือพ.ร.ก.ฉุกเฉิน คราวที่ 17 ออกไปอีก 2 เดือน จากวันที่ 1 เม.ย. ถึงวันที่ 31 พ.ค.2565