รศ. เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้เตรียมขับเคลื่อน มธ. ศูนย์พัทยา ให้เป็นเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่อกิจการพิเศษสำหรับกิจการการแพทย์ครบวงจร (EECmd) และเป็นต้นแบบศูนย์นวัตกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub) บนพื้นที่ 584 ไร่ ณ ตำบลโป่ง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
โดยในปี 2565 ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการวางรากฐาน EECmd ผ่านแนวคิดเมืองนวัตกรรมแห่งสุขภาพและเวลเนส (Thammasat Pattaya: The Health and Wellness Innopolis) และ บูรณาการความเป็นเลิศทั้งด้านการแพทย์ วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งขณะนี้ได้ออกแบบการดำเนินงานไปแล้ว แบ่งเป็น 4 โซนหลัก ประกอบด้วย ด้านการศึกษา ด้านส่งเสริมเศรษฐกิจ ด้านบริการ และด้านที่พักอาศัย
ขณะเดียวกันได้กำหนดเป้าหมายการเป็น สมาร์ทซิตี้ (Smart City) และ สมาร์ทแคมปัส (Smart Campus) โดยขณะนี้ได้รับงบประมาณจากรัฐบาลในการก่อสร้าง โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ พัทยา เรียบร้อยแล้ว
ทั้งนี้เพื่อพัฒนาให้เป็นโรงพยาบาลดิจิทัล (Digital Hospital) ที่มีเครือข่ายศูนย์การแพทย์เฉพาะทางและให้บริการชุมชนโดยรอบพื้นที่ทางเศรษฐกิจของ EEC พร้อมเชื่อมโยงอุตสาหกรรมการแพทย์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต และอุตสาหกรรมดิจิทัล อย่างเป็นระบบและครบวงจร
ทั้งนี้ มธ.ได้ร่วมมือกับพันธมิตร ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันอุดมศึกษา และภาคธุรกิจ มีเป้าหมายเดียวกันคือทำให้ประเทศไทยเป็น Medical Hub โดยวันที่ 5 เมษายน 2565 มีการจัดงาน THAMMASAT EECmd Vision “Now and Next” แสดงศักยภาพของนวัตกรรมทางการแพทย์และวิศวกรรมด้าน Health Tech ของ EECmd พิธีลงนามความร่วมมือ (MOU) กับภาคี 25 หน่วยงาน
รศ.นพ. กัมมาล กุมาร ปาวา รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ศูนย์พัทยา มธ. กล่าวว่า มธ. ศูนย์พัทยา คือพื้นที่แห่งอนาคตที่ไม่ใช่แค่ แคมปัสการศึกษา แต่มีศักยภาพสูงในการพัฒนาเป็น Medical Valley ต้นแบบของประเทศไทย โดยบูรณาการสร้างระบบการแพทย์ครบวงจร ทั้งการผลิตบุคลากร การศึกษาวิจัย การรักษาและการส่งเสริมสุขภาพไว้ในพื้นที่เดียวกัน
ทั้งสถาบันการศึกษา สถาบันวิจัยการแพทย์ชั้นสูง โรงพยาบาลดิจิทัล ศูนย์ดูแลสุขภาพ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ และศูนย์กีฬาขนาดใหญ่ พร้อมเชื่อมต่อการลงทุนกับกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีทางด้านสุขภาพชั้นนำระดับโลกมง ภายใต้แนวคิด Better Future Beyond Boundaries มุ่งแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมไทยด้วยวิธีการใหม่ๆ ก้าวข้ามพรมแดนการทำงานแบบเดิมของสถาบันการศึกษา
รศ.นพ. กัมมาล กล่าวว่า ขณะนี้มีนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศติดต่อเข้ามาเพื่อลงทุนในพื้นที่ EECmd จำนวนมาก โดยนักลงทุนจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นเวลา 11-13 ปี อาทิ การเว้นและลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล ยกเว้นภาษีอากรขาเข้า การหักลดหย่อนพิเศษ
รวมถึงสิทธิประโยชน์อื่นๆ ที่ไม่ใช่ภาษี ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละกิจการด้วย พร้อมกันนี้ ยังมีสิทธิในการนำเข้าผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศมาพักอาศัยในประเทศไทยพร้อมครอบครัว และสิทธิในการซื้อคอนโดมิเนียมในสัดส่วนที่เกินกว่า 50% ได้
สำหรับ EECmd จะอนาคตการเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ ซึ่งจะประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่
นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยังหาความเชี่ยวชาญจากนานาประเทศ ยกระดับเป็น “ศูนย์ความเป็นเลิศ” ด้านโรคตา ทางเดินอาหาร รวมถึงกระดูกและข้อ ซึ่งนอกจากประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์แล้วยังดึงดูดชาวต่างชาติให้เข้ามาใช้บริการอีกด้วย ช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจในพื้นที่ EEC ตอบโจทย์ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs)